เบื้องหลังราคาน้ำมันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง กลไกการตั้งราคาน้ำมันในของประเทศไทย และข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำมันในประเทศ
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับน้ำมันไทย
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับน้ำมันไทย
ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมในธุรกิจพลังงาน ระบบการค้าน้ำมันในประเทศไทยเป็นระบบการค้าเสรี บริษัทน้ำมันสามารถกำหนดราคาขายปลีกได้ด้วยตนเอง โดยอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลทางด้านราคาน้ำมัน คือ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
อย่างไรก็ดีภาครัฐมีส่วนในการกำกับดูแลราคาน้ำมัน โดยอาศัยกลไกด้านภาษีและกองทุนน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้ผันผวนมากเกินไป
ในราคาน้ำมันขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายในน้ำมันแต่ละลิตรนั้น สามารถแบ่งโดยง่ายได้เป็น 3 ส่วนหลัก คือ
ต้นทุนเนื้อน้ำมันคือส่วนของราคาน้ำมันที่มาจากต้นทุนการผลิตและการแปรรูปน้ำมันดิบให้เป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงกลั่น ซึ่งประกอบด้วย:
รัฐบาลมีนโยบายในการเก็บภาษีและเงินส่งเข้ากองทุนต่าง ๆ จากราคาน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็น ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนอนุรักษ์พลังงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย:
ค่าการตลาด คือ ผลตอบแทนที่ผู้ค้า ม.7 ได้รับ ซึ่งยังไม่ใช่กำไรสุทธิ เพราะยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งของบริษัทผู้ค้าและเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน เช่น ค่าที่ดิน ค่าขนส่ง ค่าจ้างพนักงาน ค่าสาธารณูปโภค ค่าบริหารจัดการต่าง ๆ ภายในสถานี ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายและการตลาด และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งหลังจากหักค่าใช้จ่ายเหล่านี้แล้ว ถึงจะเป็นกำไรสุทธิของผู้ค้าที่จะได้รับ
เมื่อรวมส่วนประกอบทั้งสามกลุ่มนี้เข้าด้วยกัน จะได้เป็นราคาขายปลีกน้ำมันที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเมื่อซื้อน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันในประเทศไทย
“ค่าการตลาด” ซึ่งในประเทศไทยจะมีสัดส่วนในโครงสร้างราคาน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 5-6% ของราคาน้ำมันขายปลีก เป็นรายได้ขั้นต้นก่อนหักค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ได้แก่
ในโครงสร้างราคาน้ำมัน
ดังนั้น ค่าการตลาดจึงไม่ใช่กำไรของบริษัทน้ำมัน แต่เป็นรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของบริษัทน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการ
ในโครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทย มีกองทุนสำคัญ 2 ประเภทที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาและการจัดการเสถียรภาพของราคาน้ำมัน ได้แก่
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีบทบาทในการสนับสนุนโครงการและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทน เช่น การสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทน การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านพลังงาน เช่น โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ซึ่งให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพสูง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตและจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลง เป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการราคาน้ำมันในประเทศไทย มีบทบาทคล้าย “เบาะรองรับแรงกระแทก” เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีต่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจ โดยใช้เงินจากกองทุนในการอุดหนุนราคาน้ำมันในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น หรือการเก็บเงินเข้ากองทุนเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง
เมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้น กองทุนจะนำเงินมาช่วยอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก ช่วยลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนส่งและประชาชนทั่วไป
เราสังเกตการทำงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้จากการปรับราคาน้ำมันในประเทศที่บางครั้งน้ำมันเบนซินปรับราคาขึ้น แต่ราคาน้ำมันเบนซินยังคงอยู่เท่าเดิม เป็นผลมาจากการที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนำเงินมาพยุงราคาไว้นั่นเอง
สถานการณ์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไทยในปัจจุบัน มีตัวเลขติดลบกว่า 7 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 (อ้างอิง สกนช.) สะท้อนถึงปริมาณเงินที่กองทุนต้องใช้สำหรับการอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบโลก
สาเหตุหลักที่กองทุนติดลบมาจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2564 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2565 เมื่อสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบโลกเริ่มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังการระบาดของโควิด-19 ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้กองทุนต้องนำเงินจำนวนมหาศาลไปอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขนส่งและภาคอุตสาหกรรม
เช่น ในช่วง มิถุนายน 2565 ราคาน้ำมันดีเซลในตลาดเอเชียสูงถึง 160 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้กองทุนต้องนำเงินไปอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลสูงถึง 10.25 บาทต่อลิตร เพื่อไม่ให้ราคาขายปลีกปรับตัวสูงขึ้นจนเกินไป และอาจกระทบต่อต้นทุนการขนส่งและราคาสินค้า ส่งผลให้กองทุนมีค่าใช้จ่ายในการประคองราคาน้ำมันดีเซลสูงถึง 110,000 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2565 สกนช.) นอกจากนี้ สถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั่วโลกยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยสูงขึ้นไปอีก ส่งผลให้ภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
สำหรับในประเทศไทย ราคาน้ำมันขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายในน้ำมันแต่ละลิตรนั้น สามารถแบ่งโดยง่ายได้เป็น 3 ส่วนหลัก คือ
ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าจะไม่มีการรวมภาษีหรือกองทุนที่มีสัดส่วนที่ประมาณ 23% เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการส่งออกสินค้าชนิดอื่น ๆ ทั่วไป
ดังนั้น ราคาน้ำมันที่ส่งออกจึงถูกกว่า เนื่องจากเป็นแค่ราคาเฉพาะเนื้อน้ำมันเพียงอย่างเดียว ไม่รวมภาษีและกองทุน
แม้ว่าราคาน้ำมันที่ส่งออกไปจะถูกกว่าราคาในประเทศไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนในประเทศปลายทางจะได้ใช้น้ำมันในราคาดังกล่าว เนื่องจากแต่ละรัฐบาลในประเทศปลายทางจะมีการกำหนดอัตราภาษีน้ำมันที่แตกต่างกันไปอยู่ดี ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันในบางประเทศแพงกว่าไทย และถูกกว่าไทยนั่นเอง
แม้ประเทศไทยจะมีแหล่งขุดน้ำมันดิบเอง แต่ปริมาณที่ขุดได้รองรับปริมาณที่ต้องใช้ต่อวันได้ไม่ถึง 10% โดยผลิตได้เพียงประมาณ 70,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ปริมาณการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 1,032,000 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูลปี 2566 อ้างอิง สนพ.)
ไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า 90% เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานทั้งประเทศ ดังนั้นราคาน้ำมันไทยจึงผันผวนตามราคาน้ำมันตลาดโลก เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น ราคาน้ำมันที่นำเข้าในประเทศไทยจึงสูงขึ้นตามไปด้วย
อ้างอิง: ข้อมูลปี 2566 อ้างอิง สนพ.
ปัจจุบัน ศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค ดังนี้
ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย การนำเข้าน้ำมันจากตลาดอื่น เช่น ตลาดนิวยอร์ก หรือลอนดอน จะทำให้ประเทศไทยมีต้นทุนการนำเข้าน้ำมันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากมีระยะทางที่ไกลกว่ามากในทางภูมิศาสตร์ โดยนอกจากประโยชน์ด้านต้นทุนในการนำเข้าแล้ว ตลาดสิงคโปร์ยังมีข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอื่น ๆ ดังนี้
น้ำมันที่มักพูดถึงกันมี 2 ประเภท ได้แก่
สิ่งที่ประเทศไทยนำเข้าเป็นหลักคือ น้ำมันดิบ เนื่องจากประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบเอง ประมาณ 70,000 บาร์เรลต่อวัน จากปริมาณที่ต้องการใช้ประมาณ 1,032,000 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูลปี 2566 อ้างอิง สนพ.) ซึ่งไม่ถึง 10% ของปริมาณที่ต้องใช้ จึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ประเทศไทยก็มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (เบนซินและดีเซล) ด้วยบางส่วนเนื่องจากบางช่วงเวลาปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปไม่เพียงกับปริมาณที่ต้องใช้
สำหรับการส่งออก ประเทศไทยส่งออกทั้งน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป โดยน้ำมันดิบที่ประเทศไทยส่งออกคือ น้ำมันดิบบางส่วนที่ขุดมาแล้วมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นในประเทศไทย และน้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นมาแล้ว เกินจากปริมาณที่ต้องใช้ภายในประเทศ เช่น น้ำมันเตา ไทยจึงเป็นทั้งผู้นำเข้าและส่งออกในเวลาเดียวกัน
คุณเคยได้ยินข้อมูลนี้หรือยัง?
คุณเคยได้ยินข้อมูลนี้หรือยัง?
แต่ละประเทศเมื่อนำเข้าน้ำมันไปแล้ว จะต้องเสียภาษีตามนโยบายของรัฐบาลประเทศนั้นเช่นกัน
ประเทศที่ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันมาก เช่น มาเลเซีย จะมีต้นทุนที่ถูกกว่า ประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน เช่น ไทย ลาว พม่า
ราคาน้ำมันในประเทศไทยผันผวนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ขึ้นอยู่กับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply)
แต่ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในประเทศไทยมากที่สุดคือ ต้นทุนเนื้อน้ำมันที่มาจากการนำเข้าน้ำมันดิบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงประมาณ 70% ของราคาน้ำมันในไทย ดังนั้นสาเหตุที่ราคาน้ำมันไทยแพงจึงมาจากปัจจัยเหล่านี้:
แม้ประเทศไทยจะมีแหล่งขุดน้ำมันดิบเอง แต่ปริมาณที่ขุดได้รองรับปริมาณที่ต้องใช้ต่อวันได้ไม่ถึง 10% ไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า 90% (ข้อมูลปี 2566 อ้างอิง สนพ.) เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานทั้งประเทศ เมื่อประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาน้ำมันในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งและประกันภัยด้วย
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีการผันผวนตามความต้องการและอุปทานในตลาด ซึ่งได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ สงคราม การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ รวมถึงเหตุการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น ราคาน้ำมันที่นำเข้าในประเทศไทยก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
การนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศต้องเสียค่าขนส่ง ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางเรือและค่าประกันภัย ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งในทะเล ค่าขนส่งและประกันภัยนี้เพิ่มต้นทุนในการนำเข้าน้ำมันดิบที่ไทยต้องนำเข้า ส่งผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยสูงขึ้นไปด้วย
แม้ประเทศไทยจะมีแหล่งขุดน้ำมันดิบเอง แต่ปริมาณที่ขุดได้รองรับปริมาณที่ต้องใช้ต่อวันได้ไม่ถึง 10% โดยผลิตได้เพียงประมาณ 70,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ปริมาณการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 1,032,000 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูลปี 2566 อ้างอิง สนพ.)
ไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า 90% เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานทั้งประเทศ ดังนั้นราคาน้ำมันไทยจึงผันผวนตามราคาน้ำมันตลาดโลก เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น ราคาน้ำมันที่นำเข้าในประเทศไทยจึงสูงขึ้นตามไปด้วย
อ้างอิง: ข้อมูลปี 2566 อ้างอิง สนพ.
ในด้านโครงสร้างของราคาน้ำมันแล้ว แต่ละประเทศจะมีองค์ประกอบของโครงสร้างราคาที่คล้ายกันคือ
แต่สัดส่วนของแต่ละองค์ประกอบในแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิตและการนำเข้า โครงสร้างภาษีและกองทุน และรัฐบาลนโยบาย
ประเทศมาเลเซียจัดว่าเป็นประเทศที่มีปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบมากกว่าการนำเข้า (Net Export) ต่างจากประเทศไทยที่มีปริมาณการนำเข้าน้ำมันมากกว่าส่งออก (Net Import)
หมายความว่า มาเลเซียสามารถผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งนอกจากจะทำให้มาเลเซียมีต้นทุนของเนื้อน้ำมันที่ต่ำแล้ว รัฐบาลยังมีนโนบายการสนับสนุนราคาน้ำมันอีกด้วย ช่วยให้ราคาน้ำมันในประเทศมาเลเซียถูกกว่าไทย
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ประเทศมาเลเซียได้ประกาศยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลแล้ว ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลในมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 9 บาท/ลิตร แต่สาเหตุที่ราคายังคงถูกกว่าประเทศไทย เพราะโครงสร้างราคา ภาษี และกองทุน แตกต่างกัน
ราคาตลาดสิงคโปร์ที่มักพูดถึงกัน ไม่ได้หมายถึงราคาน้ำมันในประเทศสิงค์โปร์ หรือราคาน้ำมันที่ประเทศสิงคโปร์ประกาศเอง แต่หมายถึงราคาที่มาจากตลาดกลางในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
เรือบรรทุกน้ำมันจากทุกประเทศในภูมิภาคนี้ จะมาบรรจบกันที่สิงคโปร์เพื่อทำการแลกเปลี่ยนและซื้อขายน้ำมันประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบ หรือน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งประเทศไทยใช้การอ้างอิงราคาจากตลาดสิงคโปร์นี้ใน 2 บริบทดังนี้
เนื่องจากประเทศไทยผลิตน้ำมันเองได้ไม่ถึง 10% ของปริมาณการใช้งานต่อวัน ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานภายในประเทศ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบ รวมถึงในบางช่วงมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ สาเหตุที่ประเทศไทยอ้างอิงราคาน้ำมันจากตลาดสิงคโปร์ในการนำเข้าน้ำมัน มี 3 ประเด็นดังนี้:
ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่ทั้งนำเข้าและส่งออกน้ำมันในเวลาเดียวกัน ดังนั้นนอกจากการนำเข้าน้ำมันที่ประเทศไทยอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์แล้ว ประเทศไทยยังใช้สำหรับการตั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นที่ผู้ค้าน้ำมันต่าง ๆ ซื้อน้ำมันจากประเทศไทยไปใช้ด้วย สาเหตุที่ประเทศไทยเลือกอ้างอิงราคาน้ำมันจากตลาดสิงคโปร์ในการตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น มี 3 ประเด็นดังนี้:
PTT Oil and Retail Business Public Company Limited
555/2 Energy Complex Building B, 12th Floor, Vibhavadi Rangsit Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
© 2024 OR Tel : 02 196 5959