การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า

ความสำคัญ

(GRI 3-3a, GRI 3-3b, GRI 3-3c, GRI 3-3e)

           ความยั่งยืนของแบรนด์ถูกจัดเป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า จากการสำรวจ Voice of the Consumer จัดทำโดยบริษัท PricewaterhouseCoopers (PwC) ประจำปี 2567[1] พบว่าผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายให้กับสินค้าที่แสดงถึงความยั่งยืน โดยผู้บริโภคหนึ่งในสามจากการสำรวจ 20,000 คน จาก 31 ประเทศ ระบุว่า เงินเฟ้อเป็นความเสี่ยงอันดับหนึ่งในประเทศของตน แต่ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคบางส่วนกล่าวว่า พวกเขายินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 โดยเฉลี่ยสำหรับสินค้าที่มีกระบวนการผลิตหรือแหล่งที่มาที่ยั่งยืน เนื่องจากเกือบร้อยละ 85 เคยประสบผลกระทบอันเลวร้ายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากผู้บริโภคร้อยละ 46 ซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านโซเชียลมีเดียโดยตรง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21 จากปี 2562 แม้ว่าจะยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

           OR ตระหนักถึงบทบาทของบริษัทในการสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจร เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ รวมถึงความรับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลต่อลูกค้าด้วยความโปร่งใส รับฟังความคิดเห็นของลูกค้า และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องอย่างทันท่วงที ทั้งนี้ OR ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม

[1] https://www.pwc.com/gx/en/news-room/press-releases/2024/pwc-2024-voice-of-consumer-survey.html

เป้าหมายปี 2567

แนวทางการบริหารจัดการ

(GRI 3-3c, GRI 3-3d, GRI 3-3e, GRI 3-3f, GRI 418-1)

             OR วางรากฐานในการสร้างความเข้าใจต่อลูกค้าด้วยแนวทางบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ผ่านการลงพื้นที่สำรวจหน้างาน (Site Visit) การสื่อสารกับลูกค้าโดยตรง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับค่านิยม ‘Down-to-Earth’ หรือ ‘เข้าถึงได้ง่าย และไม่ถือตัว’ ที่เป็นหนึ่งใน 5 ค่านิยมหลักขององค์กร (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง OR DNA ในบท ‘Workforce Development and Well-being

             เนื่องจากธุรกิจของ OR มีลูกค้ารายองค์กร รวมถึงรายบุคคล จึงกำหนดแนวทางการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์แยกตามหน่วยธุรกิจ ดังนี้

กลยุทธ์การทำธุรกิจออนไลน์

            OR สร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจร เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ โดยมีการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้แพลตฟอร์มสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าได้ตลอดเวลา ทุกช่วงวัย สามารถสั่งซื้อสินค้ารวมถึงชำระเงินได้อย่างสะดวก อีกทั้งเชื่อมต่อระบบการจัดส่งผลิตภัณฑ์เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะได้รับผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ แพลตฟอร์มยังสามารถเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่น่าสนใจ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และเพิ่มจุดดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ทั้งนี้ ยังคำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ โดยมีระบบการตรวจสอบมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของระบบอย่างสม่ำเสมอ

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า

          OR คำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ โดยมีระบบการตรวจสอบมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของระบบอย่างสม่ำเสมอ และมีประกาศความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทที่ระบุชัดเจนถึงข้อกำหนดให้รักษาความลับข้อมูลลูกค้า เช่น ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ข้อเสนอแนะ ชมเชย หรือร้องเรียน ในกรณีที่พนักงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้า ผู้รับเรื่องจะทำการสอบถามเพื่อขออนุญาตเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะทำการปกปิดข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าไม่ประสงค์เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

          ในปี 2567 OR ไม่มีเหตุการณ์ที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและการสูญเสียข้อมูลลูกค้า

การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและผู้บริโภค

          OR มีการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้าและผู้บริโภคเป็นประจำทุกปี โดยครอบคลุมธุรกิจ Mobility และ Lifestyle และพื้นที่ทั่วประเทศ โดยใช้โมเดลจากที่ปรึกษาภายนอก (Third Party) ในการวิเคราะห์ความพึงพอใจและความผูกพัน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการในกระบวนการทางธุรกิจให้สอดคล้องต่อสถานการณ์การแข่งขัน ความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้า โดยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ร่วมกับเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) และการเปรียบเทียบคู่แข่ง และนำเสนอผลลัพธ์ต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ผู้บริหารสายงาน และที่ประชุมคณะกรรมการจัดการบริษัท (ORMC)

          โดยแบ่งการสำรวจออกเป็นกลุ่มลูกค้า (B2B) และกลุ่มผู้บริโภค (B2C) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และการให้บริการในแต่ละจุดสัมผัสตามกระบวนการทางธุรกิจ และส่วนประสมทางการตลาด รวมถึงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อ OR

  • B2B: แบ่งตามกลุ่มลูกค้าธุรกิจ เช่น ตัวแทนจำหน่าย PTT Station ก๊าซหุงต้ม PTT Lubricants เจ้าของแฟรนไชนส์ร้าน Café Amazon ลูกค้าภาครัฐ ลูกค้าอุตสาหกรรม ลูกค้ากลุ่มอากาศยานและเรือขนส่ง เป็นต้น

  • B2C: แบ่งตามผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของแบรนด์ OR เช่น PTT Station Café Amazon Texas Chicken ก๊าซหุงต้ม น้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants และศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto เป็นต้น 

กลไกการบริหารจัดการข้อร้องเรียน 

          นอกจากการรวบรวมความคิดเห็นของลูกค้าผ่านการทำแบบสำรวจแล้ว ช่องทางการร้องเรียนยังเป็นอีกช่องทางสำคัญในการรับข้อมูลจากลูกค้า OR เปิดช่องทางหลากหลายให้ลูกค้าสามารถส่งข้อร้องเรียน ความคิดเห็น และ/หรือคำแนะนำ และอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการรับเรื่องร้องเรียน เพื่อมั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับการตอบรับที่ทันท่วงทีและสอดคล้องกับมาตรฐานของ OR

          เมื่อ OR ได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้า หน่วยงานจะคัดกรองประเภทเรื่องที่ลูกค้าแจ้ง โดยเรื่องร้องเรียนจะถูกส่งต่อไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขตามระยะเวลาการดำเนินการตอบสนอง และมีการติดตามสถานะการปรับปรุงหรือแก้ไข ตามข้อเสนอแนะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งผลการดำเนินการให้กับลูกค้า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกบันทึกในระบบ Customer Relationship Management (CRM) 

          OR กำหนดให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ CRM เป็นประจำ โดยครอบคลุมข้อมูลต่างๆ เช่น สถิติการร้องเรียน ประเภทของข้อร้องเรียน และวิธีการจัดการข้อร้องเรียน เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์และจัดทำเป็นรายงานสำหรับนำเรียนต่อผู้บริหารของแต่ละสายงาน (Business Unit) ให้ได้รับทราบเป็นประจำทุกเดือน ข้อคิดเห็นจะถูกใช้สำหรับวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการดำเนินงานของธุรกิจในแต่ละปี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและเติบโตแบบ Inclusive Growth หรือทิศทางใหม่ที่มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติตามแบบฉบับของ OR

          นอกจากนี้ OR จะนำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้ารายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดการ (OR Management Committee: ORMC) เข้าทุกไตรมาส รวมถึงนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ SSHE ต่อที่ประชุมคณะกรรมการคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (OR Group Quality, Safety, Health, and Environment Management Committee: OR QSHE GMC) ซึ่งมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นประธาน โดยในการประชุมดังกล่าวมีการสรุปข้อร้องเรียนที่สำคัญแยกตามหมวดหมู่ของธุรกิจ ให้คณะกรรมการรับทราบ เพื่อสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข และติดตามความคืบหน้าของเรื่องร้องเรียนนั้น ๆ อีกทั้งมีการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปิดใบงานตามข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement) ที่หน่วยงานกำหนดไว้ โดยกระบวนการติดตามตามีลำดับขั้นตอน ดังนี้

          OR จะรวบรวมผลการดำเนินการด้านการบูรณาการข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะจากลูกค้าและผู้บริโภคเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และเผยแพร่เป็นกรณีศึกษาผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของ OR เพื่อให้ลูกค้าและผู้บริโภคทราบถึงการดำเนินการ รวมถึงผลลัพธ์ของผลการดำเนินการในแต่ละปี อาทิ คะแนนความพึงพอใจของลูกค้าและผู้บริโภค เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน (Performance)

        จากคะแนนการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าในปี 2567 เท่ากับ 93% พบประเด็นหรือข้อเสนอแนะที่ได้รับจากลูกค้า และ OR ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและปรับปรุง (กระบวนการทำงาน/สินค้า/บริการ) ดังนี้

ประเด็น
การดำเนินการของ OR

ลูกค้า Café Amazon ให้ความเห็นว่า การบริการของพนักงานแต่ละสาขาแตกต่างกัน

  • จัดการอบรมสำหรับแฟรนไชซี (Franchisee) ของ Café Amazon แฟรนไชซีแรกเข้าจะได้รับสิทธิ์การอบรม 3 หลักสูตรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ หลักสูตรผู้บริหารร้านกาแฟ Café Amazon เปิดใหม่ ครอบคลุมเนื้อหาทั้งนโยบายการกำกับดูแลแฟรนไชซี การบริหารร้าน การทำเครื่องดื่ม การบริการ เพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจได้ประสบความสำเร็จ 2. หลักสูตรอบรมพนักงานบาริสต้า ณ หน้าร้านสาขา ความรู้การทำเครื่องดื่มทุกเมนู การบริการ ความสะอาด (QSC) สำหรับร้านสาขาใหม่ 3. หลักสูตรทบทวนสำหรับบาริสต้า สำหรับร้านที่เปิดดำเนินการแล้วเป็นเวลา 1 ปี จัดตามภูมิภาค
  • นำข้อเสนอแนะจากผลประเมินความพึงพอใจมาพัฒนาเพิ่มเติม เช่น พัฒนาระบบการเรียนออนไลน์ (Online Learning) เพื่อให้เจ้าของกิจการและพนักงานบาริสต้าได้ทบทวนความรู้ได้ตลอดเวลา อีกทั้งหากมีพนักงานใหม่ก็สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และการจัดอบรมหลักสูตรด้าน Soft skills เน้นเนื้อหาการบริการปรับทัศนคติในการบริการ สร้างความเข้าใจลูกค้า สามารถบริการได้ตอบสนองตรงกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดข้อร้องเรียนด้านบริการและสร้างสรรค์การบริการที่น่าประทับใจ เป็นต้น

การส่งมอบผลิตภัณฑ์หล่อลื่นมีความล่าช้ากว่ากำหนด

  • ได้มีการสื่อความแจ้งลูกค้าผ่าน Email ถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมล่วงหน้า เนื่องจากบางครั้งมีเหตุปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปัจจัยสงครามทะเลแดงที่ส่งผลกระทบต่อเส้นทางการเดินเรือทั่วโลก ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าล่าช้า
  • หน่วยงานภายในมีการการนำส่งรายการ Forecast ผลิตภัณฑ์ที่มียอดจำหน่ายสูง เพื่อให้สามารถจัดลำดับความสำคัญลำดับการผลิต รวมทั้งติดตาม Order ให้ตรงตามที่ตกลงกันไว้
  • ประสานงานแจ้งกับลูกค้าถึงแผนและกำหนดการนำส่งผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ

การส่งมอบผลิตภัณฑ์หล่อลื่นไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

  • มีการปรับเปลี่ยนวัสดุที่นำมาใช้ทำสติ๊กเกอร์และยังคงไว้ซึ่งภาพลักษณ์เดิมสำหรับรายการที่ได้รับ VOC รวมถึงปรับปรุงคุณภาพกาวเพื่อเพิ่มความคงทน ร่วมกับทาง Supplier
  • มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หล่อลื่นให้กับลูกค้าทั้งในแบบ Onsite และ Online

ลูกค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในต่างประเทศ ให้ความเห็นว่ากระบวนการส่งมอบผลิตภัณฑ์ใช้เวลานาน 

  • สื่อความขั้นตอนการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ทางลูกค้าและปรับปรุงขั้นตอนการส่งมอบให้มีความง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยให้มีการจัดสรรและประสานงานการเข้ารับสินค้ากับลูกค้าอย่างใกล้ชิด
  • ให้คำแนะนำกับลูกค้าในกรณีที่การส่งมอบสินค้าเกิดความผิดพลาดหรือความล่าช้าผ่านช่องทางที่เหมาะสมทั้งทางแอปพลิเคชัน LINE WhatsApp และ/หรือ Email

การพัฒนาการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม

  • ระบุประเด็นและปัญหาเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการส่งมอบผลิตภัณฑ์ ให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น สนับสนุนการสั่งซื้อผ่านระบบ E-Order และ ความเพียงพอของรถขนส่ง เป็นต้น
  • ควบคุมและรักษามาตรฐานการขนส่ง โดยจัดอบรมผู้ขนส่งให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มลูกค้าอากาศยานและกลุ่มลูกค้าเรือขนส่ง

  • มีการผลักดันและพัฒนากระบวนการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือก เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงกาศยานยั่งยืน (SAF) และ Biofuel for Bunkering เป็นต้น
  • ควบคุมและรักษามาตรฐานการส่งมอบผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงให้เป็นไปตามหลักสากล

ผู้บริโภคที่ใช้ก๊าซหุงต้มมีความอ่อนไหวด้านราคาเป็นหลัก

  • ขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านแอปพลิเคชัน OR LPG และจุดจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมัน โดย OR จะกำหนดราคาจำหน่ายให้เป็นมาตรฐานในแต่ละพื้นที่
  • มีการจัดกิจกรรมและจัดโปรโมชั่นทางแอปพลิเคชัน OR LPG และจุดจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมัน โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Facebook Page “จุดพลังความอร่อย by ก๊าซหุงต้ม ปตท.”, Tiktok, Youtube, OR website และ OR Happy Life Line Official

การส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้บริโภคในปี 2567

สมาชิก blueplus+

           ในปี 2567 OR ได้มีการปรับภาพลักษณ์โปรแกรมสะสมคะแนนจาก Blue Card ใหม่เป็น  blueplus+ เพื่อให้ลูกค้าที่เป็นสมาชิกได้สิทธิประโยชน์จากร้านค้าต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ blueplus+ ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถอัปเกรดระดับสมาชิกเพื่อรับสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่า พร้อมทั้งยังมีรางวัล Milestones Reward ที่มอบให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย โดยจนถึงปี 2567 สมาชิก blueplus+ ที่จำนวนถึง 8.5 ล้านราย ซึ่ง OR เชื่อว่า blueplus+ จะเป็นช่องทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า และส่งเสริมการขายด้วยการตอบสนองต่อความต้องการส่วนบุคคลที่มีความแตกต่างกัน (Personalized Campaign) ทั้งนี้ในปี 2567 ยังมีการเปิดตัวมาสคอตตัวใหม่ ‘น้อนพลัส’ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของ blueplus+ ให้เข้าถึงทุกคนได้มากขึ้น พร้อมส่งมอบรอยยิ้มและความสุขให้กับสมาชิกทุกท่าน ในทุก ๆ ครั้งที่ใช้บริการของ OR และร้านค้าพันธมิตรที่ร่วมรายการ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความตั้งใจจริงในการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับ สมาชิก blueplus+ ทุกคน กับสิทธิประโยชน์ที่หลากหลาย ทั้งส่วนลดพิเศษ โปรโมชันสุดคุ้ม และของรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย เพื่อตอบแทนความไว้วางใจที่สมาชิกมอบให้

สมาชิก xplORe

            แอปพลิเคชัน xplORe ถูกพัฒนาขึ้นให้เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มหลักของ OR เพื่อรวมศูนย์การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีอย่างไร้รอยต่อให้กับลูกค้า ส่งต่อธุรกรรมจากออนไลน์แพลตฟอร์มไปยังร้านค้าของกลุ่ม OR และพันธมิตรบนโลกออฟไลน์ (O2O: Online to Offline) เช่น PTT Station FIT Auto Café Amazon จิฟฟี่ โอ้กะจู๋ เป็นต้น โดยOR เปิดตัวแอปพลิเคชัน xplORe อย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2566 เริ่มให้บริการด้วยฟีเจอร์พื้นฐานและมีการย้ายรวมแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ OR ที่ทำหน้าที่ส่งมอบประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกันให้เข้ามาให้บริการบน xplORe เช่น การสะสมแต้มและแลกคะแนนบลูพลัส (blueplus+) การใช้จ่ายผ่าน xplORe Wallet การค้นหาสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และมีแผนงานในการพัฒนาฟีเจอร์อื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อดึงดูดและสร้างความน่าสนใจให้กับแพลตฟอร์ม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของฟีเจอร์พื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น ปัจจุบัน xplORe มุ่งเน้นการตอบโจทย์ลูกค้าในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ OR มีความชำนาญ และในอนาคตจะขยายขอบข่ายการให้บริการไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของ OR อาทิ ธุรกิจไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยว สุขภาพและความงาม ฯลฯ

แอปพลิเคชัน OR LPG

          OR ได้ออกแอปพลิเคชัน OR LPG บนระบบ IOS และ Android เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าก๊าซหุงต้มสามารถสั่งสินค้าทางออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้นจากตัวแทนโดยตรงของ OR โดยมีกิจกรรมและส่วนลดต่าง ๆ มากมาย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่และสามารถสะสมแต้ม blueplus+ ได้อีกด้วย

แอปพลิเคชัน Café Amazon

            Café Amazon กับ 3 บริการหลัก ไม่ว่าจะเป็น สั่งเครื่องดื่มล่วงหน้าและรับที่ร้าน (Order & Pay) เดลิเวอรี (Delivery) และ สั่งจัดเลี้ยงล่วงหน้า (Catering) ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการสั่งกาแฟ และเข้าถึงบริการต่างๆจาก Café Amazon เป็นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งลูกค้ายังสามารถสะสมแต้ม blueplus+ จากแอปพลิเคชันนี้ได้อีกด้วย

แอปพลิเคชัน EV Station PluZ

            OR พัฒนาแอปพลิเคชัน “EV Station PluZ” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค และรองรับพฤติกรรมผู้บริโภครูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนเดินทาง ผ่านระบบนำทางไปยัง EV Station PluZ ที่เปิดให้บริการอยู่ตามเส้นทางถนน นอกจากนี้ยังสามารถทำการจองเพื่อเข้าชาร์จ เริ่ม-หยุดการชาร์จ ชำระเงิน และการตรวจสอบประวัติการใช้งาน ได้ด้วยแอปพลิเคชันเดียว โดยรองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้รถ EV ในทุกมิติ
            ทั้งนี้ OR ได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้มีการเปิดตัวแอปพลิเคชัน ‘EV Station PluZ’ โฉมใหม่ ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวกกว่าเดิม ให้เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าวางแผนการเดินทางได้อย่างมั่นใจในทุกเส้นทางมากขึ้น เริ่มตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง ผู้ใช้สามารถค้นหาและจองสถานีชาร์จล่วงหน้าได้ ส่วนระหว่างเดินทาง แม้ไม่ได้จองชาร์จล่วงหน้าไว้ ก็สามารถค้นหาสถานีชาร์จและเข้าชาร์จในหัวชาร์จที่ว่างได้โดยจะแสดงให้เห็นสถานะการใช้งานของหัวชาร์จแบบเรียลไทม์ ซึ่งเมื่อเลือกสถานีชาร์จที่ต้องการใช้งานแล้ว ระบบจะนำทางไปยังจุดหมาย พร้อมทั้งเพิ่มความพิเศษมากกว่าที่เคย ด้วยระบบสะสมคะแนน blueplus+ เมื่อชาร์จไฟทุก ๆ 10 kWh (หน่วย: กิโลวัตต์-ชั่วโมง) รับคะแนน blueplus+ 1 แต้ม โดยสามารถนำแต้มสะสมไปแลกสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดพิเศษ หรือของรางวัลจากแบรนด์ในเครือ OR และพันธมิตรที่ร่วมรายการ ดาวน์โหลดและลงทะเบียนได้เลยเพียงค้นหา ‘EV Station PluZ’ บน Play Store หรือ Apple Store หรือคลิก https://bit.ly/3V3xu2U สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ผ่าน Facebook EV Station PluZ หรือติดต่อ Call Center โทร 02-239-9998, Email evstationpluzcare@pttor.com ไปจนถึงผ่านช่องทาง LINE @evstationpluz พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง