การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

ขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญ

(GRI 2-14, GRI 3-1)

          การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของ OR ได้พิจารณาถึงบริบทขององค์กร ตลอดจนผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่มีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยประเด็นสำคัญขององค์กรได้รับการทบทวนโดย OR อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (Materiality analysis is reviewed at least annually) และมีการประเมินจัดทำตามกรอบการรายงาน Global Reporting Initiative Standards (GRI Standards) และ ตามรูปแบบ Double Materiality (and principle of double materiality) โดยมีกระบวนการ ดังนี้

1. การทำความเข้าใจบริบทองค์กร (Understand the Organization’s Context)

        OR ได้พิจารณาลักษณะการดำเนินกิจกรรมและบริบทขององค์กร (Organization Context) ที่ดำเนินธุรกิจน้ำมันขั้นปลาย (Downstream) และธุรกิจค้าปลีก (Retails) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และผู้ร่วมธุรกิจ (Business Relationship) ได้แก่ บริษัทร่วมทุนที่ OR มีอำนาจในการจัดการ (Joint Venture with Control) คู่ค้า (Business partner and Suppliers) ผู้แทนจำหน่าย (ธุรกิจน้ำมัน) และแฟรนไชส์ซี (ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม) รวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กรที่อาจได้รับผลกระทบจากแต่ละกิจกรรม

แผนผังห่วงโซ่คุณค่า และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง สามารถดูได้จาก “การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย”

        ทั้งนี้ การเชื่อมโยงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน OR ได้พิจารณาให้ครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแลกิจการและเศรษฐกิจ ตลอดจนการคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ได้มีการรวบรวมประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจากแนวโน้มในระดับประเทศและระดับสากล (Global Sustainability Trends) ของมาตรฐาน และองค์กรชั้นนำ (Though Leader) ต่าง ๆ เช่น UN Global Compact Network Thailand (UNGCNT), UN Global Compact (UNGC), Morgan Stanley Capital International (MSCI), The World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) World Economic Forum (WEF) เป็นต้น พร้อมทั้งได้พิจารณาร่วมกับประเด็นที่บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน (Peers) ทั้งธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจค้าปลีกให้ความสนใจ ทั้งในระดับภูมิภาค (Global and Regional) และในพื้นที่ (Local) ที่ OR ดำเนินการ

องค์กรชั้นนำ (Though Leader)
ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
contact_logo
UNGCNT 5 SDGs Mega Trends 2023
UNGC 10 Principles
MSCI ESG Industry Materiality Map (Oil & Gas Refining & Marketing)
WBCSD 2023 Projects
WBCSD Vision 2050
WEF Global Risk Report 2023
มิติเศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย
(Governance, Risk and Compliance: GRC)


การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
(Sustainable Supply Chain Management)


การรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
(Data Security and Privacy)


นวัตกรรมและเทคโนโลยี
(Innovation and Technology)

มิติสิ่งแวดล้อม
ความหลากหลายทางชีวภาพ
(Biodiversity)
การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Action)
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
(Environmental Management)
การจัดการบรรจุภัณฑ์และพลาสติก
(Packaging and Plastic Management)
การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
(Food Loss & Food Waste)
มิติสังคม
การเคารพสิทธิมนุษยชน
(Human Rights)
การปฏิบัติต่อแรงงาน
(Labour Practices)
การดึงดูดและรักษาพนักงาน
(Talent Attraction and Retention)
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(Occupational Health and Safety)
การพัฒนาชุมชนและสังคม
(Community Development)

หมายเหตุ:

หมายถึง ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่องค์กรชั้นนำกล่าวถึง

2. การวิเคราะห์ลักษณะผลกระทบ (Identify Impacts)

        OR ทำการระบุและวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น (Actual Impact) หรือที่อาจจะเกิดขึ้น (Potential Impact) ทั้งในด้านโอกาส (Opportunity) หรือผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) และด้านความเสี่ยง (Risk) หรือผลกระทบเชิงลบ (Negative Impact) รวมถึงผลกระทบระยะสั้น (Short-Term Impact) และระยะยาว (Long-Term Impact) ต่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 1
        กระบวนการระบุผลและวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าวดำเนินการผ่านการจัดทำแบบสอบถาม (Questionnaire) และสัมภาษณ์ (Interview) ผู้มีส่วนได้เสียที่ OR กำหนดจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์กร และผู้ที่มีความเข้าใจต่อธุรกิจและบริบทของ OR เป็นอย่างดี เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กรนั้น ได้รับการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียภายที่เกี่ยวข้องภายนอกองค์กรด้วย โดยผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบในมิติผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) และในมิติผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Financial Materiality) ซึ่งในมิติของผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วยกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 6 กลุ่ม ได้แก่ ประเทศ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน คู่ค้า สังคมและชุมชน ลูกค้า และพนักงาน สำหรับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบในมิติของผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มคณะกรรมการและผู้บริหาร
        OR ได้สรุปผลการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดขึ้นจากประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญต่อไป ทั้งนี้ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบที่อาจเกิดจากประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้เสียได้ถูกระบุไว้ใน “ความสำคัญ” ของแต่ละบทภายใต้รายงานความยั่งยืน ปี 2567

3. การประเมินระดับผลกระทบ (Assess the Significance of the Impacts)

        OR ได้รวบรวมความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจากมิติประเด็นผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) และมิติประเด็นผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Financial Materiality) ตามขั้นตอนที่ 2 โดยนำความคิดเห็นที่ได้จากการสัมภาษณ์มาคำนวณระดับผลกระทบเชิงบวก และเชิงลบ เพื่อพิจารณาจากระดับความรุนแรง (Severity) ซึ่งครอบคลุมระดับผลกระทบ (Scale) ขอบเขตผลกระทบ (Scope) และความสามารถในการฟื้นฟูเยียวยา (Irremediability) และโอกาสการเกิดผลกระทบ (Likelihood) ซึ่งได้กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็น 4 ระดับ (ระดับสูงมาก ระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ) ตามความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น โดยใช้เมทริกซ์ของผลกระทบ (Impact Matrix) ที่อ้างอิงจากเมทริกซ์ความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Matrix) สำหรับระบุระดับของผลกระทบ (Impact Level)

4. การจัดลำดับของประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Prioritize the Most Significant Impacts)

        OR ได้จัดลำดับของประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน โดยแยกพิจารณาใน 2 มิติ ตามรูปแบบ Double Materiality โดยกำหนดระดับของการบริหารจัดการประเด็นตามลำดับความสำคัญ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ Fundamental, Strengthen และ Value Creation เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืน โดยกระบวนการทั้งหมด มีที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนจากหน่วยงานภายนอก เป็นผู้วิเคราะห์ผลและพิจารณาความสอดคล้องของลำดับความสำคัญร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ OR (Test the material topics with experts and information users)

5. การรับรองผลการประเมิน (Assessment Endorsement)

        คณะกรรมการบริหารความร่วมมือการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ OR มีหน้าที่ทบทวนและพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อผลการประเมินความเสี่ยงและโอกาสของ OR ในประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสียของ OR เพื่อกำหนดกลยุทธ์และกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนระดับองค์กร รวมถึงหน้าที่ในการอนุมัติขอบเขตการเปิดเผยข้อมูลประเด็นด้านความยั่งยืนในรายงานความยั่งยืนประจำปี 2567 และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทเพื่อรับรองและลงนามในขั้นสุดท้าย ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนได้ระบุผ่านกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญ (Materiality Issue) ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าในกระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร รวมถึงมีการนำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนไปพิจารณาเป็นปัจจัยนำเข้าในการวางแผนจัดทำกลยุทธ์ หรือ Initiative ต่าง ๆ ขององค์กรด้วย

กระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร

6. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Development)

        OR มีการพัฒนากระบวนการประเมินความสำคัญประเด็นด้านความยั่งยืนขององค์กรตามหลักการของมาตรฐาน GRI เพื่อให้การประเมินและการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนมีความครบถ้วนสมบูรณ์ โดยดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพรายงานความยั่งยืนประจำปี ซึ่งข้อมูลที่เปิดเผยได้รับการทวนสอบโดยผู้ทวนสอบภายนอก นอกจากนี้ OR ยังมีการวิเคราะห์ประเด็นที่สามารถพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะถูกผนวกกับผลการรับฟังข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานความยั่งยืน

ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของ OR

(GRI 3-2a, GRI3-2b)

        จากการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนตามแนวทางของ GRI ซึ่งพิจารณาลักษณะการดำเนินกิจกรรมของ OR ความคาดหวังและผลกระทบของผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนแนวโน้มความยั่งยืนระดับสากล พบว่า ในปี 2567 มีประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจำนวน 16 ประเด็น นอกจากนี้ OR มีการปรับรายละเอียดและชื่อประเด็นสำคัญอื่น ๆ ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และกลยุทธ์การดำเนินงานของ OR

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของ OR จากการกระบวนการดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ดังต่อไปนี้

ระดับผลกระทบ
การดำเนินการในแต่ละระดับ
2.50- 3.00
Value Creation
ประเด็นที่สร้างคุณค่า/ประเด็นที่มีความเสี่ยงสูง โดยประเด็นสาระสำคัญที่จัดให้อยู่ในระดับนี้ถือเป็นประเด็นสามารถสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจของ OR หรือเป็นประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจของ OR ซึ่งการสร้างคุณค่า อาทิ สร้างผลประกอบการที่ดี ผลกำไรที่ดี สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ขณะที่ความเสี่ยงสูง อาทิ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง ก่อให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อธุรกิจอย่างมาก เป็นระดับที่ OR ควรมีการจัดทำเป้าหมาย แผนการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานที่ชัดเจน
  • กำหนดตัวชี้วัดขององค์กร และเป็นปัจจัยนำเข้าในการพิจารณาการจัดทำกลยุทธ์ หรือ Initiative ต่าง ๆ
  • กำหนดเป้าหมายระยะยาว (Long-term Target) และการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
  • กำหนดวิธีการบริหารจัดการ (Management Approach)
  • เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างน้อย 3 ปี และ Data verification by Third Party
  • นำเสนอเนื้อหาการดำเนินงานที่มีความโดดเด่น (Highlight Case)
  • 2.00-2.49
    Strengthen
    ประเด็นที่ส่งเสริมการสร้างคุณค่า/บริหารจัดการความเสี่ยง โดยประเด็นสาระสำคัญที่จัดให้อยู่ในระดับนี้ถือเป็นประเด็นที่เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร และผลักดันให้เกิดการสร้างคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจของ OR เป็นระดับที่ OR ควรจัดทำแผนการปรับปรุงในประเด็น หรือขอบเขต หรือพื้นที่ที่พิจารณาว่ามีความสำคัญ ช่วยสร้างคุณค่าหรือลดความเสี่ยงได้
  • กำหนดตัวชี้วัดขององค์กร และเป็นปัจจัยนำเข้าในการพิจารณาการจัดทำกลยุทธ์ หรือ Initiative ต่าง ๆ
  • กำหนดเป้าหมายระยะยาว (Long-term Target) และการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
  • กำหนดวิธีการบริหารจัดการ (Management Approach)
  • เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างน้อย 3 ปี และ Data verification by Third Party
  • 0.00-1.99
    Fundamental
    ประเด็นพื้นฐานที่ต้องบริหารจัดการตามกฎระเบียบ ข้อกำหนด และกฎหมาย รวมถึง Normal Standard / Practice โดยประเด็นสาระสำคัญที่จัดให้อยู่ในระดับนี้ถือเป็นประเด็นพื้นฐานสำหรับการทำธุรกิจของ OR เป็นระดับที่ OR พึงรักษามาตรฐาน ติดตามและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการละเมิดใด ๆ หรือมีผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานในกลุ่มอุตสาหกรรม
  • กำหนดวิธีการบริหารจัดการ (Management Approach) ตามรูปแบบการทำธุรกิจตามปกติ (Business as Usual)
  • เก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดที่กำหนด
  • ผลการประเมินระดับความสำคัญของประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
    (OR's Double Materiality Issue Prioritization)

     
    หมายเหตุ:

       – Value Creation หมายถึง ประเด็นที่สร้างคุณค่า/ประเด็นที่มีความเสี่ยงสูง โดยประเด็นสาระสำคัญที่จัดให้อยู่ในระดับนี้ถือเป็นประเด็นสามารถสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจของโออาร์ หรือเป็นประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจของโออาร์ ซึ่งการสร้างคุณค่า อาทิ สร้างผลประกอบการที่ดี ผลกำไรที่ดี สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ขณะที่ความเสี่ยงสูง อาทิ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง ก่อให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อธุรกิจอย่างมาก เป็นระดับที่โออาร์ ควรมีการจัดทำเป้าหมาย แผนการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานที่ชัดเจน
       – Strengthen หมายถึง ประเด็นที่ส่งเสริมการสร้างคุณค่า/บริหารจัดการความเสี่ยง โดยประเด็นสาระสำคัญที่จัดให้อยู่ในระดับนี้ถือเป็นประเด็นที่เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร และผลักดันให้เกิดการสร้างคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจของโออาร์ เป็นระดับที่โออาร์ ควรจัดทำแผนการปรับปรุงในประเด็น หรือขอบเขต หรือพื้นที่ที่พิจารณาว่ามีความสำคัญ ช่วยสร้างคุณค่าหรือลดความเสี่ยงได้
       – Fundamental หมายถึง ประเด็นพื้นฐานที่ต้องบริหารจัดการตามกฎระเบียบ ข้อกำหนด และกฎหมาย รวมถึงมาตรฐานและแนวปฏิบัติทั่วไป (Normal Standard / Practice) โดยประเด็นสาระสำคัญที่จัดให้อยู่ในระดับนี้ถือเป็นประเด็นพื้นฐานสำหรับการทำธุรกิจของโออาร์ เป็นระดับที่โออาร์ พึงรักษามาตรฐาน ติดตามและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการละเมิดใด ๆ หรือมีผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานในกลุ่มอุตสาหกรรม

    โดยคำนิยาม ระดับความสำคัญ ห่วงโซ่คุณค่าและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ตลอดจนระดับของผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียและการดำเนินธุรกิจ ของแต่ละประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน มีรายละเอียด ดังนี้

    Definitions
    ระดับความสำคัญ
    ห่วงโซ่คุณค่า
    ผู้มีส่วนได้เสีย
    ผลกระทบ
    (เชิงบวก/เชิงลบ)
    ระดับผลกระทบและความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย
    ระดับผลกระทบและความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
    Double Materiality Impact
    มิติเศรษฐกิจ
    1. การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย (GRI 2, 205, 415)
  • การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance)
  • จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Business Ethics, Code of Conduct and Corporate Compliance)
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต (Risk and Crisis Management)
  • การจัดการด้านภาษี (Tax Strategy)
  • ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ (Economic performance)
  • การดำเนินกิจการโดยมีระบบหรือกระบวนการที่โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทสามารถกำกับดูแลและจัดการธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมาย และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการมีกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยง ภาวะวิกฤต และการดำเนินการภายใต้สถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติ รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์นำพาธุรกิจ ให้ก้าวผ่านสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    Value Creation
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • เป็นประเด็นพื้นฐานที่บริษัทต้องดำเนินการหากมีการปฏิบัติที่ดี ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องย่อมเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจ +

    • มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการรักษาผลประกอบการ และภาพลักษณ์เชิงบวกขององค์กร +

    • อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท และความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียในการลงทุน การทำธุรกิจร่วมกัน รวมถึงการใช้บริการ –

    Double Materiality_02
    Double Materiality_03
    Double Materiality_03
    2. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) (GRI 2, GRI 308, GRI 414)
  • การจัดซื้ออย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement)
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain Management)
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนการสรรหาคู่ค้าที่เป็นธรรม การติดตาม และประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า และการกำหนดมาตรการเพื่อลดผลกระทบความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้คู่ค้าสามารถส่งมอบความรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ตลอดจนการส่งเสริมคู่ค้าให้ดำเนินงานธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
    Fundamental
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    • เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยสามารถลดต้นทุน ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น +

    • ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า ทั้งในด้านคุณภาพ การบริการ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืน +

    • การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพที่ไม่ดี และกระบวนการผลิตที่ต่ำกว่ามาตรฐาน –

    • ส่งเสริมความโปร่งใสในการบริหารจัดการคู่ค้า +

    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    3. การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management) (GRI 418)
  • การบริหารจัดการความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction Management)
  • การบริหารจัดการแพลตฟอร์มออนไลน์ (Online Service Management)
  • การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ผ่านการสร้างความสัมพันธ์ และความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยการส่งมอบประสบการณ์ที่ดี รวมถึงการบริการด้านลูกค้าสัมพันธ์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ลูกค้าจะได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ตอบโจทย์ความคาดหวัง และมีความมั่นใจในการเลือกใช้สินค้าและบริการของบริษัท
    Strengthen
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • สร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการที่ดีต่อลูกค้าและผู้บริโภค +

    • กระตุ้นยอดขาย และเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้แทน (Dealer) +

    • ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและบริการที่ปลอดภัย และตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย +

    • องค์กรไม่มีฐานข้อมูลสำหรับการดำเนินงาน และบริหาร ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และความภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty) –

    Double Materiality_01
    Double Materiality_03
    Double Materiality_02
    4. การดูแลผลิตภัณฑ์และบริการ (Product and Service Stewardship) (GRI 416, GRI 417)
  • คุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ (Quality Products and Services)
  • การดูแลผลิตภัณฑ์ (Product Stewardship)
  • ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Health and Wellbeing Promotion Products)
  • การรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ มาตรฐานสากล และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท จะไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ยังครอบคลุมถึงการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคม
    Fundamental
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/ สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • ส่งเสริมการเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ +

    • ผลกระทบของการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม +

    • หากได้รับคำร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่ได้มาตรฐานจะก่อให้เกิดชื่อเสียงที่ไม่ดี และสูญเสียความไว้วางใจจากลูกค้า –

    Double Materiality_01
    Double Materiality_03
    Double Materiality_01
    5. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับทุกคน (Innovation and Technology for All) (GRI -)
  • การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digitalization)
  • การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG Investment and Market Opportunities)
  • นวัตกรรมที่นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Innovation for Productivity Improvement)
  • การสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับทุกคน เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าเพิ่ม สามารถตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมถึงสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรให้สูงขึ้น
    Fundamental
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • การส่งมอบสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย +

    • อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของพนักงาน +

    • เกิดโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมกับ SMEs. +

    • ส่งผลต่อการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย –

    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    6. การรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Security and Privacy) (GRI 418)
  • การกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและ ไซเบอร์ (Cybersecurity Governance)
  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) และความพร้อมใช้งานของระบบ (Cybersecurity and System Availability)
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy & Privacy Protection)
  • การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการจัดให้มีระบบเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของข้อมูล และ/หรือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งการตอบสนองและจัดการเหตุการณ์ร้ายแรงด้านความปลอดภัยของข้อมูล (อาทิ การโดนขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนขององค์กรผ่านทางไซเบอร์) ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการให้ความสำคัญกับข้อมูลความเป็นส่วนตัวและการสร้างความมั่นใจในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร
    Fundamental
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • เกิดความสูญเสียทางการเงินในการแก้ปัญหา และการดำเนินงานที่หยุดชะงัก –

    • ส่งผลให้สูญเสียความไว้วางใจและความมั่นใจจากผู้มีส่วนได้เสีย –

    • เสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กร +

    • เกิดโอกาสในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น +

    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    มิติสังคม
    7. การเคารพสิทธิมนุษยชน (GRI 2, GRI 406, GRI 408, GRI 409, GRI 410, GRI 411, GRI 414)
  • การปฏิบัติต่อแรงงาน (Labour Practices)
  • ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง (Diversity and Equal Opportunity and Inclusivity)
  • การเคารพสิทธิของแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และการกำหนดนโยบายและการดำเนินธุรกิจที่มุ่งมั่นในการเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการคำนึงถึงสิทธิด้านแรงงานที่ผู้ปฏิบัติงานขององค์กรควรได้รับอย่างเหมาะสม เช่น ค่าแรง เงินเดือน การเสริมสร้างความหลากหลายและความเท่าเทียม ผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร ที่สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ยอมรับความหลากหลาย การเคารพซึ่งกันและกัน และการไม่เลือกปฏิบัติ อันเนื่องจากความแตกต่างในเรื่องอายุ เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา ความพิการ การศึกษา และสัญชาติ
    Fundamental
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของ OR ที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย –

    • ส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคมผ่านกระบวนการดำเนินงานของ OR +

    • แสดงถึงการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมขององค์กรและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง +

    • โอกาสในการรับรู้ประเด็นสิทธิมนุษยชน และกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบที่เหมาะสม +

    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    8. การพัฒนาและการดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน (Workforce Development & Well-Being) (GRI 2, GRI 201, GRI 401, GRI 405)
  • การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Capital Development)
  • การดึงดูดและรักษาพนักงาน (Talent Attraction and Retention)
  • การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน (Employee Health and Well-Being)
  • โปรแกรมการสนับสนุนพนักงาน (Employee Support Program)
  • การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน ผ่านโครงการการพัฒนาพนักงาน อาทิ การฝึกอบรมและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาของพนักงาน ตลอดจนการมีระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาที่สะท้อนถึงผลตอบแทนของการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้ ยังครอบคลุมถึงการดำเนินงานเพื่อรักษาพนักงานและลดอัตราการลาออก ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วม การมอบความก้าวหน้าและมั่นคงในสายอาชีพ และการจัดให้มีสวัสดิการและผลตอบแทนที่เหมาะสม ที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
    Strengthen
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
    คู่ค้า
    ลูกค้า
    พนักงาน
    • เพิ่มทักษะและความสามารถของพนักงานนำไปสู่ประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น ความก้าวหน้าและการสร้างความมั่นคงในสายอาชีพ +

    • พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอัตราการลาออกสูงขึ้น –

    • เกิดความเสี่ยงที่จะมีการผลิตสินค้าและบริการที่ล้าสมัย มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ –

    Double Materiality_01
    Double Materiality_03
    Double Materiality_02
    9. การจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety) (GRI 403)
    การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ครอบคลุมถึงความปลอดภัยของบุคลากรของบริษัทและผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานให้กับองค์กร ภายใต้นโยบายและระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยที่ดีจะช่วยลดและควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ปราศจากเหตุการณ์ผิดปกติ อาทิ การหกรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี อุบัติเหตุจากการขนส่ง และสถานการณ์โรคระบาด ซึ่งนำไปสู่การหยุดชะงักของการดำเนินการ การสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และชื่อเสียงองค์กร รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
    Fundamental
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มีส่วนได้เสีย –

    • ส่งเสริมให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ปลอดภัยจากเหตุการณ์ปกติ และไม่ปกติ –

    • ความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ –

    • สร้างความไว้วางใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่องค์กร +

    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    10. การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม (Community Development and Social Collaboration) (GRI 201, GRI 413)
  • การเป็นพลเมืองที่ดีและการพัฒนาชุมชน (Corporate Citizenship & Community Development)
  • การลงทุน การมีส่วนร่วม และการพัฒนาสังคม (Community Investment, Engagement and Development, Social Contribution)
  • ความร่วมมือกับภาคธุรกิจและชุมชนท้องถิ่น (Local/ Business Partnership)
  • การดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าให้กับชุมชนและสังคม ผ่านการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่สร้างประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนที่มีต่อองค์กร นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงการเป็นพลเมืองที่ดีด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ UN (Sustainable Development Goals หรือ SDGs)
    Value Creation
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • ลดความเสี่ยงในการสร้างผลกระทบที่เกิดจากธุรกิจ ต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม +

    • โอกาสในการผนวกกิจกรรมด้านสังคมเข้าไว้ในทุก ๆ กระบวนการขององค์กร (CSR in Process) +

    • การจัดหาวัตถุดิบหรือสนับสนุนกิจกรรมชุมชนท้องถิ่นจะช่วยพัฒนาทักษะ และเพิ่มโอกาสทางรายได้ให้กับชุมชน +

    • มีผลต่อภาพลักษณ์ของการเป็นองค์กรที่อาจมองว่าแสวงหาผลกำไรเท่านั้น –

    Double Materiality_02
    Double Materiality_03
    Double Materiality_03
    11. ภาพลักษณ์ขององค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable Branding) (GRI 417)
  • การบริหารจัดการภาพลักษณ์องค์กร (Branding Management)
  • การยอมรับจากสังคม (Social License to Operate)
  • การกระจายรายได้ (Wealth Distribution)
  • การสร้างความร่วมมือ (Collaborativeness)
  • จริยธรรมการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Ethical Marketing Communications)
  • การดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ยั่งยืน ผ่านการดำเนินงานที่มีจริยธรรม ได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม รวมถึงตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ และส่งเสริมการกระจายรายได้แก่ท้องถิ่น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทจะสามารถเติบโตควบคู่ไปกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
    Fundamental
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • สร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย +

    • ความร่วมมือในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก +

    • ภาพลักษณ์ที่ดีส่งผลต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียในฐานะ Brand Carrier ของกลุ่ม ปตท. +

    • การขาดการส่งเสริมความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้เสีย และชื่อเสียงที่ไม่โดดเด่นขององค์กร –

    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    Double Materiality_01
    12. การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Capitalism)
  • การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Management)
  • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement)
  • การดูแลปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มขององค์กร (ทั้งภายในและภายนอก) โดยการกำหนดกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียตามความสนใจหรือความคาดหวังอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดตามผลการดำเนินการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และนำข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียมาบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการในระดับที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงขององค์กร ในขณะเดียวกันยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่น ความสัมพันธ์อันดี และความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว
    Strengthen
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การผลิตและบริการ
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
    คู่ค้า
    สังคมและชุมชน
    ลูกค้า
    พนักงาน
    • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้ดียิ่งขึ้น +

    • นำไปสู่ความเข้าใจที่ดีในบริบททางธุรกิจและความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย +

    • ส่งผลต่อคาดหวัง และอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในอนาคต –

    Double Materiality_01
    Double Materiality_03
    Double Materiality_02
    มิติสิ่งแวดล้อม
    13. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) (GRI 305)
  • กลยุทธ์และเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Strategy and Target)
  • การกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Governance)
  • การจัดการความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Risk Management)
  • การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนต่อนโยบายสาธารณะต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Policy Influence, Lobbying and Trade Associations – Climate Alignment)
  • การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency)
  • การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition)
  • การรายงานผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions Report)
  • การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทตลอดการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงและโอกาส เพื่อวางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพทั้งความเสี่ยงเชิงกายภาพ (Physical Risks) และความเสี่ยงช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Risks) ที่อาจสร้างผลกระทบต่อบริษัท พร้อมทั้งมีการรายงานข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้สามารถจำแนกสาเหตุและแหล่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ นำไปสู่การบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมให้องค์กรก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2030 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2050 นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
    Value Creation
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • การสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก และการติดตั้งสถานีพลังงานสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ของ OR สามารถขับเคลื่อนการตอบสนองนโยบายของภาครัฐด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ และตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น +

    • ส่งผลกระทบต่อโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนส่งผลต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ความสำคัญ –

    Double Materiality_02
    Double Materiality_03
    Double Materiality_03
    14. การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) (GRI 303, GRI 304, GRI 306, GRI 307)
  • นโยบายและการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management & Policy)
  • ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Operational Eco Efficiency)
  • การบริหารจัดการน้ำ (Water Management)
  • การบริหารจัดการคุณภาพอากาศ (Air Quality Management)
  • การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste)
  • การกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดให้มีการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน ตลอดจนมีกระบวนการในการป้องกันผลกระทบและการฟื้นฟูในกรณีที่มีผลกระทบ อาทิ การควบคุมการปลดปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางน้ำ และมลพิษอากาศ โดยเฉพาะจากการขนส่งและการให้บริการ ครอบคลุมถึงการลดการสูญเสียอาหารและการเกิดขยะอาหารจากการดำเนินการอีกด้วย
    Strengthen
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจการที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก +

    • โอกาสในการแสวงหาเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดการสูญเสียทรัพยากร +

    • นำไปสู่การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม –

    Double Materiality_01
    Double Materiality_03
    Double Materiality_02
    15. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) (GRI 301, GRI 306)
  • การจัดการบรรจุภัณฑ์และพลาสติก (Packaging and Plastic Management)
  • เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
  • การจัดการของเสีย (Waste Management)
  • การบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption)
  • การดำเนินธุรกิจตามหลักระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการที่เกี่ยวข้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดห่วงโซ่อุปทาน และนำมาสู่การบริโภคอย่างยั่งยืน ปราศจากของเสียและมลพิษตลอดทั้งกระบวนการของสินค้าและบริการ
    Fundamental
    – การจัดหาวัตถุดิบ
    – การขนส่ง
    – การผลิตและบริการ
    – การส่งมอบสินค้าและบริการ
    – กิจกรรมสนับสนุน
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น
    คู่ค้า
    สังคม/ชุมชน
    ลูกค้า/ผู้บริโภค
    พนักงาน
    • การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและสังคมผ่านกระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียน +

    • ธุรกิจสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน +

    • รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า +

    • เพิ่มขยะของเสียจากกระบวนการผลิตและบริการ –

    Double Materiality_01
    16. ความหลากหลายทางชีวภาพ
    การบริหารจัดการกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และป้องกันผลกระทบจากการดำเนินงานในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ โดยครอบคลุมการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ค้าที่ทำธุรกิจกับ OR เพื่อให้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) น้อยที่สุด ด้วยการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเหมาะสม
    Fundamental
    -การผลิตและบริการ
    ประเทศ
    ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
    สังคมและชุมชน
    ลูกค้า
    • การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่ดีขององค์กร ตลอดจนช่วยสนับสนุนให้เกิดการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ +

    • ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการสูญเสียสมดุลของระบบนิเวศ –

    ความหมายของสัญลักษณ์

    Double Materiality_01
    = ระดับผลกระทบต่ำ
    Double Materiality_02
    = ระดับผลกระทบปานกลาง
    Double Materiality_03
    = ระดับผลกระทบสูง

    เอกสารที่เกี่ยวข้อง