การดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมาย

แนวทางการบริหารจัดการ(GRI 3-3d., GRI 3-3e., GRI 3-3f.)

การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ 

                OR ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ อีกทั้ง ได้กำหนดเป้าหมายการเป็น “Zero Non-Compliance” กล่าวคือ บริษัทฯ จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับอย่างเคร่งครัด โดยการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่มีผลเชื่อมโยงกับค่าตอบแทน (Employee Remuneration) และการประเมินพนักงาน (Employee Performance Appraisal) ซึ่งในการกำหนดตัวชี้วัด (KPIs) จะประเมินผลจากทั้งในด้าน Working KPIs การวัดผลการดำเนินงานทางธุรกิจ และ Behavior KPIs ที่สะท้อนพฤติกรรมการทำงานที่สอดคล้องตาม OR DNA เช่น OR DNA หัวข้อ Dependable ผู้บังคับบัญชาจะประเมินพฤติกรรมของพนักงานในมุมการทำงานแบบมืออาชีพ ด้วยความซื่อสัตย์ รวมถึงต้องยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้อยู่ในสภาวะกดดัน เป็นต้น ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญในเรื่อง Compliance โดยบุคลากรของ OR จะต้องมีความเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม จรรยาบรรณทางธุรกิจและนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ OR หากพบว่ามีการละเมิดนโยบายดังกล่าวและพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดอาจถูกลงโทษทางวินัย รวมถึงได้รับผลกระทบต่อค่าตอบแทน การประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการยกเลิกสัญญาจ้าง และการพิจารณาบทลงโทษตามขั้นตอนทางกฎหมาย

            จากประเด็นข้างต้น OR จึงมีการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

1. ดำเนินการรวบรวมกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจัดทำเป็นฐานข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าถึงและใช้งาน รวมถึงติดตามกฎหมายใหม่ที่มีการประกาศใช้ และสื่อความให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. สื่อความนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร (Corporate Compliance Policy) ภายใน OR และกลุ่มบริษัท OR เพื่อเป็นแนวทางและกรอบการปฏิบัติงานตามกฎหมายและกฎระเบียบ อันเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังบุคลากรให้ยึดมั่นเป็นแนวทางในการทำงาน ทั้งนี้บริษัทในกลุ่ม OR ต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายและกรอบการปฏิบัติตามรายงานต่อ OR 

3. กำหนดบทบาทหน้าที่ในการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่ชัดเจน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม หรือ เรียกว่า Lines of Defense ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานที่เป็นเจ้าของกระบวนการ (1st Line of Defense) มีหน้าที่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย  หน่วยงานกำกับกฎหมายและหน่วยประสานงานในกำกับดูแล (2nd Line of Defense)  มีหน้าที่กำหนดนโยบาย กฎเกณฑ์และมาตรฐานการปฏิบัติตามกฎหมาย ตลอดจนกำกับดูแล ให้คำปรึกษา และหน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัท (3rd Line of Defense) ทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการทำงานของหน่วยงานที่เป็น 1st Line of Defense และ 2nd Line of Defense ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

           นอกจากนี้ OR ยังมีคณะทำงานเพื่อแนวร่วมในการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance Alliance) โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้าน Compliance ให้แข็งแกร่ง คณะทำงานประกอบด้วยตัวแทนจากทุกหน่วยงานใน OR เพื่อเป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่าง 1st Line of Defense และ 2nd Line of Defense ในการรวบรวมกฎหมายและประเมินความสอดคล้องตามกฎหมาย ตลอดจนจัดทำรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องตามกฎหมาย (Non – Compliance / NC) เพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ

          OR จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย ประธานกรรมการตรวจสอบ 1 คน และคณะกรรมการตรวจสอบไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน โดยเป็นกรรมการอิสระทั้งหมด และกำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นเลขานุการ ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 คน ต้องมีความรู้ความเข้าใจและต้องมีประสบการณ์ทางด้านบัญชีหรือการเงิน เพื่อให้การตรวจสอบภายในเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้การปฏิบัติงานของ OR เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมของบริษัท ซึ่งมีหน้าที่สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี กระบวนการบริหารความเสี่ยง และกระบวนการควบคุมภายใน ทั้งนี้จะมีการเปิดเผยรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของคณะกรรมการตรวจสอบ และค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีในรายงานประจำปีของ OR เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มได้รับทราบผลการดำเนินงาน นอกเหนือจากนั้น หน่วยธุรกิจจะนำผลจากการดำเนินงานปีที่ผ่านมาไปวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมาย เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้

            เพื่อให้กระบวนการดำเนินธุรกิจของ OR ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ OR จึงกำหนดให้มีการกำกับดูแล OR และบริษัทในกลุ่ม OR โดยการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม หรือ OR Group Way of Conduct เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน โดยรับการถ่ายทอดแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. (PTT Group Way of Conduct) ในรูปแบบการกำกับดูแลแบบลำดับชั้น นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมแนวทาง หลักปฏิบัติและกระบวนการในการทำงานเป็นคู่มือให้บริษัทที่ OR ถือหุ้นนำไปปฏิบัติ ผ่านผู้แทน OR ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อให้การประเมินประสิทธิผลเป็นไปตาม OR Group Way of Conduct กำหนดให้บริษัทที่ OR ถือหุ้นรายงานผลการปฏิบัติกลับขึ้นมาเป็นลำดับชั้นเช่นเดียวกัน รวมถึงจัดให้มีการสอบทานการปฏิบัติงาน (Monitoring & Review Program) เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย และรับฟังความคิดเห็นเพื่อใช้ปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังกำหนดให้คณะกรรมการจัดการ (Management Committee) เช่น คณะกรรมการจัดการกลุ่ม OR (OR GMC) รวมถึงคณะกรรมการนโยบายด้านต่าง ๆ มีการติดตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน

          OR มีการบริหารจัดการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของ OR ว่ามีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มบริษัทรวมถึงธุรกิจในต่างประเทศ ที่จะสร้างความรับผิดชอบ และความโปร่งใส รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือของการรายงานข้อมูลเป็นสาธารณะซึ่งผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก ที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เช่น รายงานทางการเงิน ได้รับการตรวจสอบโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และผู้สอบบัญชีที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และผลการดำเนินงานที่เปิดเผยในรายงานความยั่งยืนได้รับตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอก (Third Party) อย่างสอดคล้องกับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนระดับสากล หรือ Global Reporting Initiative Standard (GRI Standard) จึงเชื่อมั่นได้ว่า OR มีการบริหารจัดการที่โปร่งใสและเชื่อถือได้

ภาพโครงสร้างการกำกับดูแลภายใน OR และบริษัทในกลุ่ม OR

                 ระบบการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ OR ผ่านการประเมิน Corporate Governance Report of Thai Listed Companies (CGR) จากองค์กรภายนอกโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ซึ่งผลคะแนนการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ OR อยู่ในระดับ “ดีเลิศ”

                 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้รับการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม โดยสามารถดูได้ที่รายงานผลการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย

                 นอกจากนี้ OR ยังมีการจัดอบรมออนไลน์ ในหัวข้อ CG and Anti-corruption ผ่านระบบ ORLMS เพื่อปลูกฝังและเสริมสร้างวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันให้แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วย การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน (Anti-corruption) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) การต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม(Antitrust/Anticompetitive Practices) และ การให้และรับของขวัญ (No Gift Policy) ซึ่งสอดคล้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ OR

การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน 

               เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรมีการดำเนินงานที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ OR จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชันทั่วทั้งองค์กร  (Anti-Fraud & Corruption Risk Assessment) เพื่อตรวจสอบ ติดตาม รวมถึงกำหนดมาตรการควบคุมต่าง ๆ เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงนั้น ๆ โดยได้ทำการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมการทำงานของทุกฝ่ายในองค์กร ตาม 14 กระบวนการหลักขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้

    1. การวางแผนกลยุทธ์และธุรกิจ
    2. การพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม
    3. การจัดหาวัตถุดิบ สินค้าและผลิตภัณฑ์
    4. การผลิต การจัดเก็บ และการส่งมอบผลิตภัณฑ์
    5. การตลาด
    6. การพัฒนาเครือข่าย
    7. การบริหารธุรกิจและงานขาย
    8. งานวิศวกรรมและซ่อมบำรุง
    9. การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีและดิจิทัล
    10. การบริหารการเงิน การบัญชี สินเชื่อ และการประกันภัย
    11. การบริหารทรัพยากรบุคคล
    12. กฎหมายและการกำกับดูแล
    13. การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรและกิจการเพื่อสังคม
    14. การจัดหาและบริหาพัสดุ

            โดยผลจากการประเมินความเสี่ยงด้านการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชันดังกล่าว ได้มีการนำเสนอต่อคณะกรรมการจัดการและคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee) เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            OR ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลให้บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอย่างสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และกำหนดให้มีช่องทางในการสอบถามและให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจของ OR ผ่านทางฝ่ายธรรมาภิบาลองค์กร นอกจากนี้ OR จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตและคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กรรวมถึงการร้องเรียนด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณที่หลากหลายสำหรับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียโดยสามารถแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางจดหมายธรรมดาถึงผู้จัดการฝ่ายธรรมาภิบาลองค์กร ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านศักยภาพองค์กร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือประธานคณะกรรมการ รวมถึงผ่านช่องทางอีเมล pttorvoice@pttor.com  หรือช่องทางการแจ้งเบาะแสบนเว็บไซต์ www.pttor.com ของ OR ทั้งนี้ OR จะจัดการวิเคราะห์หาแนวทางในการจัดการควบคุม หรือการแก้ไขปรับปรุงป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือปฏิบัติไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป รวมถึง OR จะให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม โดยเป็นไปตามข้อกำหนด OR ว่าด้วยการร้องเรียน การแจ้งเบาะแสการทุจริต และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร พ.ศ. 2567

หัวข้อ
2564
2565
2566
2567
จำนวนเรื่องร้องเรียนที่ได้รับแจ้ง

          14

          18

          13

          10

จำนวนเรื่องร้องเรียนที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนในปีที่รายงาน

          1

          1

          1

          4

จำนวนเรื่องที่พบการกระทำผิด

          1

          1

          2

          1

             ข้อร้องเรียนที่ OR ได้รับจากช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน และช่องทางอื่นๆ จะถูกนำมาพิจารณา สอบสวนข้อเท็จจริง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุป และจัดการประเด็นข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น รวมถึงการกำหนดบทลงโทษ และมาตรการแก้ไข เยียวยา และนำสู่มาตรการป้องกันและกระบวนการควบคุมที่เหมาะสมต่อไป

             จากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของ OR เพื่อสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการดำเนินงานตามกฎเกณฑ์ ทำให้ตลอดปี 2567 พบว่า การดำเนินธุรกิจของ OR ไม่มีกรณีการละเมิดกฎหมาย ส่งผลให้ไม่มีเหตุการณ์หรือค่าปรับที่เกิดจากการดำเนินงานที่ละเมิดกฎหมายทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

การปฏิบัติต่อคู่แข่งอย่างรับผิดชอบ 

              บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โปร่งใส และแข่งขันกับคู่แข่งตามวิถีทุนนิยมเสรีในการทำธุรกิจ ไม่บิดเบือนข้อมูล หลอกลวง หรือใช้วิธีอื่นใดที่ไม่ถูกต้องตามครรลองของการแข่งขันที่ดี (Provide accurate and balanced information about our company’s products/services  and Abstain from disinforming customers on competitors’ work/product) ตามที่ระบุใน คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ โดยในปี 2567 บริษัทฯ ไม่มีคดี/ข้อพิพาทกับคู่แข่ง ทั้งนี้ OR ได้จัดให้มีการอบรมและทดสอบความรู้พนักงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมหัวข้อการปฏิบัติต่อคู่แข่งอย่างเป็นธรรม เป็นประจำทุกปี

การสนับสนุนสถาบันและสมาคมทางธุรกิจ 

              OR ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่สามารถต่อยอดแนวคิดที่เป็นประโยชน์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมนำมาซึ่งความยั่งยืนในอนาคต ทั้งนี้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของ OR คือ ‘เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน’ โดยได้มีการสนับสนุนความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ โดยรายละเอียดการสนับสนุนดังกล่าว มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

               ทั้งนี้ บุคลากร OR มีความตระหนักถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งระบุว่า การให้หรือรับสินบนแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามอันถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย พฤติกรรมดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และ OR ไม่มีการสนับสนุนการกระทำเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Lobbying) ทุกรูปแบบ และห้ามมิให้บริจาคและสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองหรือองค์กรทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2567 OR ไม่มีการบริจาคและใช้จ่ายเพื่อการรณรงค์ทางการเมือง องค์กรทางการเมือง การกระทำเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Lobbying) ทั้งสิ้น

การสนับสนุนสถาบันและสมาคมทางธุรกิจสามารถดูได้ที่ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน : เศรษฐกิจ (Link:  [https://orapiweb.pttor.com/uploads/documents/20240703_102829_3559.pdf)

ผลการดำเนินงาน(GRI 3-3e.)

OR ได้รับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน (Collective Action Against Corruption: CAC) ครั้งแรก

               OR มุ่งมั่น และให้ความสำคัญในการดำเนินงานต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของภาครัฐและภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคม 2566 คณะกรรมการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Collective Action Against Corruption: CAC) ได้มีมติรองรับฐานะการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทยอย่างเป็นทางการ สำหรับการยื่นขอรับรองครั้งแรกของ OR โดยมีพิธีการมอบประกาศนียบัตรในเดือนธันวาคม 2566 และมีระยะเวลาการรับรองจนถึงปี 2569

               การได้รับการรับรองเป็นสมาชิกดังกล่าว ถือเป็นก้าวสำคัญของ OR ในการเป็นหนึ่งในแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทย ตอกย้ำถึงการยอมรับในการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ทำให้ OR เป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นในด้านการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ  

               นอกจากนี้ OR ยังได้ สนับสนุนและเชิญชวนให้คู่ค้าเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์หรือรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Against Corruption :CAC) อีกด้วย

พิธีมอบประกาศนียบัตร CAC ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2566

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
Document Name
File (Attach or Link)
1. แนวทางบริหารจัดการแบบกลุ่ม OR ประจำปี 2567 (OR Group Way of Conduct 2024)
Click to Download
2. นโยบายต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน
Click to Download
3. Contributions and Other Spendings
Click to Download
4. Policy Influence 2024
Click to Download