ในขณะที่กระแสการทำธุรกิจที่ยั่งยืนได้ผลักดันให้ภาคธุรกิจบูรณาการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ (ESG) เข้าสู่การดำเนินงานและการรายงานอย่างแพร่หลาย ภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการเพื่อมั่นใจว่าการพัฒนาภาพลักษณ์ด้านความยั่งยืนจะสะท้อนความเป็นจริงไม่เป็นเพียงการ ‘สร้างภาพลักษณ์’ OR ตระหนักถึงการรายงานและเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส จึงได้พัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรตามวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน และเพื่อให้ภาพลักษณ์สะท้อนค่านิยมขององค์กร โดยไม่อ้างข้อมูลเกินความจริง ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อผู้บริโภคตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเนื่องจากอาจส่งผลต่อการวางแผนการบริหารจัดการ ระบบการวัดและประเมินผลการทำงานอันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และทำการตลาดที่สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่ผู้บริโภคทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ไม่บิดเบือน หรือเป็นเท็จ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้า
OR มุ่งพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรให้สะท้อนวิสัยทัศน์และเป้าหมาย OR 2030 Goals ของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย:
(ศึกษารายละเอียดกลยุทธ์และ OR 2030 Goals เพิ่มเติมในบท “นโยบายและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน”)
OR ตระหนักดีถึงความรับผิดชอบขององค์กรในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นกลาง โดยเฉพาะการสื่อสารและการโฆษณาที่ไม่อ้างเกินความจริง และได้จัดทำ ข้อกำหนดเพื่อกำกับแนวทางการทำงานด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ขององค์กร ทั้งนี้ OR มุ่งดำเนินตามมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารและการโฆษณา (Ethical Communication and Advertising Standard) ดังนี้:
นอกจากนี้ประเด็นด้านภาพลักษณ์ขององค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable Branding) ได้ถูกกำหนดเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการกำหนดหลักการและแนวทางการพิจารณา การตั้งค่าตัวชี้วัด ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ ไว้ในมาตรฐานการบริหารจัดการความยั่งยืน OR Group (OR Group Sustainability Management Guideline) หรือ อ่านเพิ่มเติมเรื่องมาตรฐานผู้ค้าในบท ‘Supply Chain Management’
OR ตระหนักว่าการสร้างคุณค่าให้แก่แบรนด์เริ่มต้นจากการสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กรตั้งแต่ระดับพนักงานตลอดจนผู้บริหาร จึงผลักดันการทำงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยมีการสื่อความแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับจริยธรรมในการสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ (Case Study Sharing) ในที่ประชุมฝ่ายสื่อสารองค์กรโดยมีการจัดประชุม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เพื่อเน้นย้ำความรับผิดชอบของ OR ที่มีต่อการทำการตลาด การสื่อสาร และการโฆษณาที่มีจริยธรรม อีกทั้ง ยังมีคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ที่ผนวกเนื้อหาอันเกี่ยวเนื่องกับจริยธรรมการสื่อสารและการโฆษณา โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคนได้รับทราบ และนำมาใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงาน
OR จัดทำการสำรวจการสร้างคุณค่าตราสินค้าและภาพลักษณ์องค์กร (Brand Health Check) เป็นประจำทุกปีเพื่อวัดคุณค่าตราสินค้าและภาพลักษณ์องค์กร และประเมินประสิทธิภาพในการสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กรที่ยั่งยืน แบบสำรวจนี้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญขององค์กรทุกกลุ่ม ได้แก่ สังคมชุมชน คู่ค้า ลูกค้า พนักงาน OR ผู้ถือหุ้น OR ประชาชนทั่วไป นักลงทุน ผู้นำชุมชนและสื่อมวลชน โดยใช้ตัวชี้วัดสองส่วนด้วยกัน:
โดย OR นำผลของการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อปรับกลยุทธ์การสื่อสารให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์ OR และสร้างกลุ่มคนรักและปกป้องแบรนด์อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารระดับสูงในการประชุมคณะกรรมการจัดการบริษัท (ORMC) เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย รวมให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงกลยุทธ์การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต่อไป
ในปี 2567 OR ได้จัดงานเพื่อบอกเล่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในแบบฉบับ OR Sustainability: Shared Value, Shared Future, Growing Together ชุมชนอยู่ได้ สังคมอยู่ดี OR อยู่ยั่งยืน ในเดือนพฤศจิกายน เพื่อตอกย้ำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงมิติสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดการสร้างโอกาสให้คนตัวเล็กเพื่อยกระดับสังคม ชุมชน (S-Small) สร้างการเติบโตผ่านแพลตฟอร์มของ OR (D-Diversified) ตลอดจนการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (G-Green) มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และมีการสื่อสารด้านความยั่งยืนของแบรนด์อย่างต่อเนื่องด้วยวิสัยทัศน์ “Empowering All toward Inclusive Growth” เติมเต็มทุกโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน ที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) การสร้างชุมชนน่าอยู่ (Living Community) และการเติบโตร่วมกัน (Economic Prosperity)
(ศึกษาเพิ่มเติมในบท ‘การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม’)
แคมเปญโฆษณา OR โอกาสเพื่อสังคมสะอาด
OR เชื่อเสมอว่า “ทุกคน” สามารถช่วยทำให้สังคมสะอาดขึ้นได้ในทุกๆ วัน โดยมีการสร้างแคมเปญโฆษณาชุด “OR โอกาสเพื่อสังคมสะอาด” ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจผ่านแนวคิด OR SDG ผ่านการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่ สถานีบริการ PTT Station ที่เป็นสถานีต้นแบบด้านพลังงานสะอาด (Green Station) ใช้แหล่งพลังงานจาก Solar Rooftop EV Station PluZ ที่ชาร์จไกล ชาร์จได้ทั่วไทยทั้ง 77 จังหวัด โครงการ แยก แลก ยิ้ม ที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการแยกขยะ และนำขยะมาขายเพื่อสร้างประโยชน์ให้ชุมชน โครงการไทยเด็ด ที่ช่วยเพิ่มช่องทางจำหน่ายให้วิสาหกิจชุมชน ใน PTT Station และนำสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาไทยมาสร้างเป็นความ Green เป็นสินค้าไทยเด็ดกรีน และความตั้งใจที่จะนำวัสดุเหลือใช้จาก Café Amazon มาทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้านในคอนเซ็ปต์ Circular Economy ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ให้ความรู้เกษตรกรในการปลูกกาแฟ พัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ ลดฝุ่น PM 2.5 ให้กับคนไทย และช่วยรับซื้อผลผลิตที่โรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ด้วยราคาที่เป็นธรรม เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ยั่งยืน
วีดีทัศน์ดังกล่าวได้เผยแพร่ผ่านสื่อออฟไลน์ (Offline) และออนไลน์ (Online) เช่น YouTube OR Official มียอดเข้าชมกว่า 30.2 ล้านครั้ง นอกจากนี้ ยังเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น จอทีวีในรถไฟฟ้า และสื่อกลางแจ้ง บิลบอร์ด ทั่วกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด เป็นต้น พบว่าวีดีทัศน์ได้รับผลตอบรับที่ดีในวงกว้าง
นอกจากนี้ ยังมีการจัดแคมเปญภายในองค์กร “The Power of OR People OR โอกาสเพื่อสังคมสะอาด” เพื่อขยายผลแคมเปญโอกาสเพื่อสังคมสะอาด ให้พนักงานในองค์กรร่วมเสนอแนวคิดไอเดียในการสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด เช่น การประกวดคลิปวิดีโอ กิจกรรมกรีน ๆ ภายในหน่วยงาน การเสนอไอเดียกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม การจัดนิทรรศการแคมเปญ OR โอกาส เพื่อสังคมสะอาด ก่อให้เกิดการรับรู้และความตระหนักด้านความยั่งยืนในองค์กร
แคมเปญโฆษณา จุดเริ่มต้นของโอกาส
สภาวะอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM 2.5 ที่กลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของคนไทย ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักคือการเผาป่าและพื้นที่การเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกในฤดูกาลใหม่ โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทย OR เล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้ลงมือดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงนี้ ด้วยความเชี่ยวชาญของ Café Amazon OR จึงได้พัฒนา “โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน” สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับกระบวนการปลูกกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ปัจจุบันได้ดำเนินการครอบคลุมกว่า 10 จังหวัด ทั้งภาคเหนือและภาคใต้ รวมถึงพื้นที่ห่างไกล เช่น อำเภอปัว จังหวัดน่าน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านผาลั้งและบ้านปางขอน จังหวัดเชียงราย รวมถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น มุ่งเน้นการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของธุรกิจ Café Amazon ตั้งแต่การลงพื้นที่ศึกษาปัญหา การให้ความรู้แก่เกษตรกรในปลูกกาแฟร่วมกับไม้ร่มเงา (พืชเศรษฐกิจ) เพื่อช่วยลดการเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ลดการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ทำให้ลดมลพิษต่าง ๆ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น จนถึงการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรโดยตรงด้วยราคาที่เป็นธรรม เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับเกษตรกร ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีการเกษตรอย่างยั่งยืน ไม่ต้องพึ่งพาการเผาพื้นที่เพื่อทำเกษตรแบบเดิม ๆ อีกต่อไป นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมลพิษทางอากาศในระยะยาว
วิดีทัศน์ดังกล่าวได้เผยแพร่ผ่านสื่อ Online เช่น YouTube OR Official Website banner Facebook โดยมียอดเข้าชมกว่า 12.7 ล้านครั้ง
แคมเปญโฆษณาประชาสัมพันธ์ Café Amazon กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก ชุด “แฟร์กับผู้พิการทางการได้ยิน”
OR สร้างสรรค์แคมเปญโฆษณาประชาสัมพันธ์ Café Amazon กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก ชุด “แฟร์กับผู้พิการทางการได้ยิน” เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์ Café Amazon ในการเป็นผู้นำด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 มุ่งเน้นสื่อสารเรื่อง “ความแฟร์กับผู้พิการทางการได้ยิน” ผ่านการหยิบยกเรื่องราวของผู้พิการทางการได้ยินที่ได้รับโอกาสในการประกอบอาชีพบาริสต้า จากโครงการ Café Amazon for Chance มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์โฆษณา เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ความยั่งยืนในการสร้างโอกาสประกอบอาชีพให้แก่ผู้ขาดโอกาสกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ทั้งนี้ มีการเผยแพร่ภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าวผ่านสื่อออนไลน์ ได้แก่ Youtube, Facebook และ TikTok โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
แคมเปญโฆษณาประชาสัมพันธ์ ไทยเด็ด ชุด “เพราะไทยเด็ดไม่ใช่แค่สินค้า แต่คือ…”
“โครงการไทยเด็ด” ภายใต้แนวคิดใหม่ที่ต้องการผลักดันให้เห็นถึงภูมิปัญญาไทยและการมีส่วนช่วยจาก OR ให้สังคมและชุมชนดีขึ้น โดยในปี 2567 นี้ ได้เล่าเรื่องราวสุดประทับใจของ “3 ไอดอลจาก 3 ชุมชน” โดยหนังโฆษณาชุดนี้ได้ให้ผู้ประกอบการชุมชนตัวจริงที่ได้รับคัดเลือกจากโครงการไทยเด็ด และประสบความสำเร็จมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในแบบที่คนไทยควรได้รับมาเป็นผู้ถ่ายทอดแทนนักแสดง ผ่านหนังโฆษณาสารคดี (Documentary) เรื่อง เพราะไทยเด็ดไม่ใช่แค่สินค้า แต่คือ … โดยในหนังโฆษณาชุดนี้ ได้เปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจนถึงก่อนและหลังจากที่เข้าร่วมโครงการไทยเด็ด ว่าชีวิตของชุมชนมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นดย่างเห็นภาพชัดเจน ทั้งนี้ มีการเผยแพร่ภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าวผ่านสื่อออนไลน์ ได้แก่ YouTube และ Facebook ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
แคมเปญโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการเซฟโลก เซฟรถ เพื่ออนาคตน้อง ๆ
PTT Lubricants ในฐานะผู้นำตลาดน้ำมันหล่อลื่น ภายใต้แนวคิดการดำเนินธุรกิจที่สร้างสรรค์นวัตกรรมควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกจากแกลลอนน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วจากศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto จึงเกิดแนวคิดในการเปลี่ยนแกลลอนน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants ที่ใช้แล้วมาอัพไซคลิ่ง (Upcycling) ให้กลายเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ และสามารถส่งต่อประโยชน์นั้น คืนให้กับสังคม เกิดเป็นโครงการ “เซฟโลก เซฟรถ เพื่ออนาคตน้อง ๆ” ที่เชิญชวนให้ผู้บริโภคมาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นที่ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto เพื่อนำแกลลอนน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการอัพไซคลิ่งเป็นชุดโต๊ะเรียน สำหรับนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนในพื้นที่ขาดแคลนทั้งหมด 5 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนที่ 1 : โรงเรียนบ้านผานัง จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนที่ 2 : โรงเรียนบ้านโตนดน้อย จังหวัดเพชรบุรี
โรงเรียนที่ 3 : โรงเรียนวัดพระเจ้านั่งแท่น จังหวัดลำปาง
โรงเรียนที่ 4 : โรงเรียนวัดหลวงวิทยา จังหวัดลำปาง
โรงเรียนที่ 5 : โรงเรียนวัดลำพดจินดาราม จังหวัดสงขลา
โดยตลอดการดำเนินโครงการในปี 2567 สามารถการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ทั้งรูปแบบของภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวผ่านช่องทาง Facebook: PTT Lubricants Thailand และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ประมาณ 9,000,000 คน ตลอดระยะเวลาของแคมเปญ รวมไปถึงการสื่อออฟไลน์ (Offline) บริเวณหน้าศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto และการประชาสัมพันธ์ผ่านรายการโทรทัศน์ ทำให้ได้ผลตอบรับในเชิงความพึงพอใจ 90% ของชิ้นงาน โดยมียอดเข้าชมอยู่ที่ 1.8 ล้านครั้ง และสามารถผลิตชุดโต๊ะนักเรียน Upcycling จำนวน 100 ชุด ใช้แกลลอนพลาสติกใช้แล้ว 4,900 แกลลอน ทำให้ลดขยะพลาสติกได้ 1,200 กิโลกรัม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 8,000 kgCO2
ผลลัพธ์การสำรวจตัวชี้วัดทางการตลาด
OR ดำเนินการวัดคุณค่าของแบรนด์ในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในปี 2567 รายละเอียดผลการประเมินคะแนน Brand Strength เท่ากับ 79.5 คะแนน โดยคะแนนเฉลี่ยตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
ทั้งนี้ คะแนนทั้ง 3 ด้าน ในภาพรวมสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2567 ซึ่งเท่ากับ 77.6 คะแนน อยู่ที่ 1.9 คะแนน
สำหรับผลการประเมิน Net Promoter Score (NPS) หรือเครื่องมือสำหรับวัดการยินดีบอกต่อสินค้าและบริการของลูกค้า เท่ากับ 53 คะแนน เท่ากับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2567 ซึ่งเท่ากับ 53 คะแนน
OR ยังได้รับรางวัลสะท้อนความเข้มแข็งของแบรนด์ในด้านความยั่งยืน ทั้ง 3 มิติ เช่น
จากการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและใส่ใจต่อผู้บริโภค พบว่าในปี 2567 ไม่พบเหตุการณ์ที่เป็นการละเมิดข้อกำหนดด้านการสื่อสารทางการตลาด หรือการโฆษณาเกินจริงเกี่ยวกับสินค้าและบริการ