ยางมะตอย คือสารผสมซึ่งประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดและสารอินทรีย์อื่น ๆ เรียกรวมว่าสารบิทูเมน ลักษณะเป็นของเหลวข้นหรือเป็นกึ่งของแข็ง สีน้ำตาลเข้มถึงสีดำยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์
ส่วนที่หนักที่สุดที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ
คุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอย
(1) เป็นตัวยึดและประสาน : ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมวัสดุต่าง ๆ ให้ติดกัน เช่นการผสมยางมะตอยกับหินย่อยเพื่อใช้ทำผิวจราจรต่าง ๆ เป็นต้น
(2) ป้องกันการซึมผ่าน : ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่าน เมื่อวัสดุ เมื่อวัสดุที่เคลือบยางมะตอยแล้วน้ำจะซึมผ่านยาก
(3) เป็นของแข็งกึ่งเหลวตามอุณหภูมิ : ยางมะตอยจะแข็งตัวเมื่อถูกความเย็น และอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อนคุณสมบัตินี้เรียกว่า Thermoplastic ทำให้สะดวกในการใช้งานและขนถ่ายได้ง่าย เช่นการทำถนน เมื่อให้ความร้อนยางมะตอยจะเหลว สามารถผสมกับวัสดุต่างๆได้ละเมื่อราดยางแล้วทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัวทำให้ถนนมีความแข็งแรง
(4) ทนกรดและด่างอ่อน ๆ : ทำให้ยางมะตอยทนทานต่อการใช้งานทุกสภาพ
ยางมะตอยประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 3 ส่วน คือ
(1) แอสฟัลทีนส์ (Asphaltenes)
มีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาลถึงดำ เมื่อถูกความร้อนสูงจะไม่หลอมเหลว แต่จะเกิดการลุกติดไฟ
(2) แอสฟัลติกเรซินส์ (Asphaltic Resins)
เป็นส่วนที่หุ้มแอสฟัลทีนส์ไว้ มีลักษณะแข็ง เปราะ สีน้ำตาลแก่ สามารถบดเป็นผงละเอียดได้ และหลอมเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส
(3) ส่วนประกอบที่เป็นของเหลว (Oily Constituents)
มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงน้ำตาลปนแดง เป็นของเหลวข้นที่เหมืนน้ำมันหล่อลื่น
การแบ่งประเภทของแอสฟัลต์
ยางมะตอยที่ใช้ในการก่อสร้างผิวจราจรมี 3 ชนิด คือ
(1) แอสฟัลต์ซีเมนต์ (Asphalt Cement, AC)
แอสฟัลต์ซีเมนต์มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่อุณหภูมิปกติ มีสีดำหรือน้ำตาลปนดำเมื่อใช้งานจะต้องให้ความร้อนให้เหลวที่อุณหภูมิ 100-140
องศาเซลเซียส แบ่งได้ 3 ชนิด ตามการผลิต คือ
• Penetration Grade ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง
• Blown Grade ได้จากการเอายางมะตอยชนิดแรกไปเป่าลมใส่ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 250-300 องศาเซลเซียส เพื่อทำให้แข็งแรงและทนความร้อนได้ดีขึ้น
• Hard Grade ได้จากการเอายางมะตอยชนิดแรกไปกลั่นต่อภายใต้สุญญากาศที่อุณหภูมิสูงเพื่อทำให้ได้ยางมะตอยที่มีความแข็งมากขึ้น
(2) ยางมะตอยน้ำ (Asphalt Emulsion)
ผลิตโดยการนำแอสฟัลต์ซีเมนต์มาผสมกับน้ำและทำให้แตกเป็นอนุภาคเล็กๆ โดยใช้สารเคมีจำพวก Emulsifier เติมลงไปเพื่อให้อนุภาคกระจายตัวและคงสภาพเป็นสาร Emulsion ซึ่งเมื่อใช้พ่นบนผิวถนนแล้วน้ำจะระเหยไป เหลือแต
แอสฟัลต์ซีเมนต์ทำหน้าที่เคลือบผิว ใช้สำหรับงานสร้างทาง เช่น Prime Coat, Tack Coat แบ่งได้ 3 ประเภทตามการแยกตัว ได้แก่
• ประเภทแยกตัวเร็ว ได้แก่ CRS-1 และ CRS-2
• ประเภทแยกตัวเร็วปานกลาง ได้แก่ CMS-2 และ CMS-2h
• ประเภทแยกตัวช้า ได้แก่ CSS-1 และ CSS-1h
(3) แอสฟัลต์คัทแบค (Cutback Asphalt)
ได้จากการผสมแอสฟัลต์ซีเมนต์กับตัวทำละลายประเภทน้ำมันต่าง ๆ ที่เรียกว่า Diluent หรือ Cutter Stock เช่น แนฟทา น้ำมันก๊าดและดีเซล แอสฟัลต์ชนิดนี้มีลักษณะเหลวในอุณหภูมิห้อง การใช้งานหลังการบดอัดและทิ้งไว้ให้ตัว
ทำละลายระเหยไป จะเหลือแต่ตัวแอสฟัลต์ซีเมนต์ แบ่งได้ 3 ประเภทตามชนิดตัวทำลาย คือ
• ชนิดแข็งตัวเร็ว (Rapid Curing, RC) ประกอบด้วยแอสฟัลต์ซีเมนต์ กับตัวทำลายที่ระเหยเร็ว ได้แก่ น้ำมันเบนซิน หรือแนฟทา
• แข็งตัวปานกลาง (Medium Curing, MC) ประกอบด้วย แอสฟัลต์ซีเมนต์กับตัวทำละลายที่ระเหยเร็วปานกลาง ได้แก่ น้ำมันก๊าด
• แข็งตัวช้า (Slow Curing, SC) ประกอบด้วย แอสฟัลต์ซีเมนต์กับตัวทำละลายที่ระเหยช้า ได้แก่ น้ำมันดีเซล บางครั้งเรียก โรดออยล์ (Road Oil) ซึ่งไม่มีการใช้ในประเทศไทย
เป็นก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในสถานะก๊าซเมื่ออยู่ใต้ดิน แต่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเมื่ออยู่บนผิวดิน โดยจำหน่ายให้กับโรงงานที่นำคอนเดนเสทไปแยกในหอกลั่นเหมือนวิธีการแยกก๊าซธรรมชาติทั่วไป
เป็นวัตถุดิบสำหรับนำใช้ในกระบวนการผลิตน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งปัจจุบัน OR เป็นผู้ผลิต Base Oil รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เป็นผลิตภัณฑ์ By Product จากโรงกลั่น เพื่อนำไปเป็นสารประกอบในกระบวนการทางอุตสาหกรรม
เป็นผู้นำเข้ามาจำหน่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิต B100 น้ำมันพืช โรงงานผลิตสี และ โรงงานผลิตกาว ฯลฯ
มีคุณสมบัติเหมือนก๊าซ LPG ที่บรรจุถังก๊าซหุงต้ม แต่ไม่ได้ใส่สารเมอร์แคปแทนต์ลงไป ใช้สำหรับเป็นตัวทำละลายเพื่อผลิตเป็นแอโรซอล (Aerosol)
เป็นสารเคมีที่นำไปผลิตหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมทำผงชูรส ผลิตปุ๋ย สารทำความสะอาด สารตั้งต้นในการผลิตที่ต้องใช้ธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ อุตสาหกรรมน้ำยางข้น อุตสาหกรรมโลหการ และสารทำความเย็น โดยกลุ่มปตท.ถือเป็นรายใหญ่ที่สุดในประเทศที่นำเข้ามาสำรองและจำหน่ายให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม
ภารกิจในด้านความมั่นคงทางพลังงานแห่งชาติ OR มีสร้างคลังน้ำมันต่างๆทั่วประเทศ ทำให้มีความพร้อมในด้านการสำรองพลังงานและด้านจัดส่งน้ำมันให้แก่ลูกค้าได้ทั่วประเทศ ซึ่งหากเกิดเหตุขัดข้อง ณ คลังหนึ่งคลังใด หรือจุดจ่ายน้ำมันใดๆ คลังน้ำมันอื่นๆของ OR สามารถดำเนินการจัดส่งทดแทนได้ทันทีไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า OR
ด้วยการยึดถือหลักการที่ว่า ลูกค้าจะต้องได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วนและตรงต่อเวลา OR จึงได้ติดตั้งระบบรับ – ส่งสัญญาณดาวเทียมบนรถบรรทุกผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง โดยมีการรายงานผลตลอดเวลา รวมทั้งติดตั้งระบบ Track-co Graph เพื่อช่วยตรวจสอบความเร็วและเวลาที่ใช้ในการขนส่งอีกด้วย
มีการควบคุมคุณภาพและห้องทดลองที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC Guide 25 ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำมันให้ถูกต้องตามข้อกำหนด คุณภาพของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งในช่วงก่อนรับน้ำมันเข้าเก็บในคลังน้ำมันของ OR และในช่วงก่อนที่น้ำมันจะถูกส่งจำหน่ายให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ OR ยังได้ออกสุ่มตรวจสอบคุณภาพน้ำมัน ทั้งที่คลังน้ำมันของ OR และที่โรงงานของลูกค้า รวมทั้งรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพให้ลูกค้า เพื่อรับประกันในคุณภาพการใช้งานตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของ OR
ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้งานและเพื่อสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ รวมทั้งทรัพย์สินของส่วนรวม ตลอดจนนำเยี่ยมชมกิจการ ของโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการผลิตและมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ
จัดทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญออกตรวจวัดประสิทธิภาพของหม้อต้มไอน้ำพร้อมรายงานผลการตรวจสอบ ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น การประหยัดพลังงาน การยืดอายุใช้งานของเครื่องจักร การรักษาสิ่งแวดล้อม และการป้องกันปัญหามลภาวะทางอากาศจากไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์
ด้วยความเชี่ยวชาญในการออกแบบและก่อสร้างอุปกรณ์เพื่อเก็บผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง OR ยินดีให้คำปรึกษาในการดำเนินการออกแบบก่อสร้างตลอดจนการปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่หรืออุปกรณ์เก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมให้แก่ ลูกค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้รวมถึงการให้คำแนะนำในการดำเนินการขอเอกสารใบอนุญาตการกักเก็บผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงตามข้อบังคับของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
เพื่อปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มผลผลิตของผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมในมิติต่างๆ เช่น
1. ให้การอบรม 5ส., QSHE เพิ่มเพิ่มผลผลิตการทำงาน โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
2. มีสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี OR ที่มีขีดความสามารถสูงเฉพาะทางในสาขาปิโตรเลียม โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ทันสมัยเป็นหนึ่งใน
3. การให้คำแนะนำในการประหยัดพลังงานในส่วนภาคอุตสาหกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ
กรุณาติดต่อ: ส่วนขายอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 02-196-5361 โทรสาร 02-196-5360
ส่วนขายผลิตภัณฑ์พิเศษ โทรศัพท์ 02-196-5330 โทรสาร 02-196-5356