แนวทางการบริหารจัดการ(GRI 3-3d., GRI 3-3e., GRI 3-3f.)
การกำกับดูแลกิจการ
OR มุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น และคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยรวม โดยให้ความสำคัญกับการมีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ จึงได้กำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเพื่อสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็น
เพื่อใช้สื่อสารและเป็นแนวทางให้กับทุกกลุ่มพนักงาน ควบคู่ไปกับข้อบังคับและระเบียบของบริษัท โดยนโยบายและคู่มือฉบับนี้ จัดทำขึ้นภายใต้ข้อกำหนดและกฎหมาย เช่น หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน พ.ศ. 2560 หลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ OR จึงมีการทบทวนเนื้อหาและรายละเอียดของคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ หรือคู่มือ CG เป็นประจำทุกปี
ภายใต้นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ OR ได้มีการระบุบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการบริษัทให้มีหน้าที่ติดตามควบคุมการดำเนินงานขององค์กร นอกจากนี้ OR ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของ OR รวมถึงกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนงานที่สำคัญของ OR และจัดตั้งฝ่ายธรรมาภิบาลองค์กร เพื่อดูแลรับผิดชอบด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance: CG) ส่งเสริมแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร รวมทั้งมีการประกาศใช้นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยมีการสื่อความและถ่ายทอดการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม OR ให้แก่บริษัทในกลุ่ม OR พร้อมติดตามการดำเนินงาน เช่น การรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรายงานการรับของขวัญ เป็นต้น และ OR มีนโยบายเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการจัดการและแก้ไขกรณี ฝ่าฝืนจรรยาบรรณ โดยผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นในทุกหน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลและสนับสนุนส่งเสริมให้กับพนักงานในบังคับบัญชาปฏิบัติตามคู่มือ CG ของบริษัทอย่างทั่วถึง รวมถึงมีการทบทวนเนื้อหาของนโยบายและคู่มืออย่างเหมาะสม หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ โดยนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มาทำการวิเคราะห์และปรับปรุงนโยบายให้ครอบคลุมการดำเนินการของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงและทันสมัย
การสรรหาคณะกรรมการ OR (Board Nomination)
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน (Nomination and Remuneration Committee) เป็นผู้พิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ OR โดยจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงข้อบังคับบริษัทฯ คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (CG Code)
นอกจากนี้ OR ยังพิจารณาในเรื่องความหลากหลายของคณะกรรมการ (Board Diversity) อาทิ เพศ เชื้อชาติ และภูมิหลังทางวัฒนธรรม (gender, race, country of origin or cultural background) รวมถึงทักษะ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอันสอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของ บริษัทฯ (Materials Industry) ตาม Board Skills Matrix โดยไม่มีข้อจำกัดหรือการกีดกันทางเพศ เชื้อชาติ สีผิวชาติพันธุ์ หรือศาสนา
ดูเพิ่มเติม: Board Industry Experience
ทั้งนี้ OR ยังกำหนดให้องค์ประกอบของคณะกรรมการมีความเป็นอิสระ จากการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการ OR และประธานเจ้าหน้าที่บริหารออกจากกันอย่างชัดเจน และต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน ตามนิยามคุณสมบัติกรรมการอิสระของ OR และหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 OR มีคณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน 13 คน โดยประธานกรรมการไม่เป็นผู้บริหารและมีความเป็นอิสระ รวมทั้งมีกรรมการอิสระ จำนวน 8 คน
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ และการกำหนดค่าตอบแทน
OR มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท เป็นประจำทุกปี โดยใช้การประเมินทั้งคณะ (Group Evaluation) การประเมินรายบุคคล (ประเมินตนเอง และ ประเมินไขว้) (Self-evaluation) ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (CG Code) ของสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีทั้งในระดับประเทศและสากล เพื่อพิจารณาทบทวนผลการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ OR ยังพิจารณาจัดให้มีที่ปรึกษาภายนอก (External Consultant) มาประเมิน ปรับปรุง กำหนดแนวทาง และเสนอแนะประเด็นในการประเมินผลการปฏิบัติงานทุก ๆ 3 ปี
นอกจากการประเมินคณะกรรมการ OR ยังจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแล สร้างความชอบธรรมในการดำเนินธุรกิจ ความโปร่งใส และการดำเนินกิจการที่ดี
การประเมินผลการปฏิบัติงานของ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารซึ่งมีระยะเวลาการปฏิบัติงานตามวาระการดำรงตำแหน่งในแต่ละวาระไม่เกิน 4 ปี ดำเนินการโดยการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานและค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยจะมีการมอบหมาย (Deploy) ลงไปยังผู้บริหารจนถึงพนักงานเพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ 3 ปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยที่ 1 ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่นำเสนอต่อคณะกรรมการ OR ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และขีดความสามารถให้กับองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ปัจจัยที่ 2 ความสามารถในการบริหารจัดการและภาวะผู้นำ
ปัจจัยที่ 3 การประเมิน 360 องศา หรือการประเมินแบบรอบทิศ เป็นการประเมินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยอาศัยการประเมินจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้กำกับดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา บุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
โดยมีตัวอย่างตัวชี้วัดดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ กำหนดให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน (6 เดือน) ต่อคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเพื่อรับทราบและติดตามความคืบหน้าในการปฏิบัติงาน และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยผลการประเมินในปี 2567 ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 79 และผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี
นอกจากนี้ OR ยังมีการสื่อสารรอบด้านอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน การนำบริษัทให้เป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างขององค์กรชั้นนำของประเทศไทยบนแนวทางการดำเนินงานที่คำนึงถึง GRC การนำบริษัทสร้างคุณค่าเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในระยะยาว
ค่าตอบแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OR ในปี 2567
การพิจารณาค่าตอบแทน จะดำเนินการอย่างเป็นธรรมและสมเหตุสมผลตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งอัตราการขึ้นเงินเดือนและอัตราการจ่ายโบนัสประจำปีจะสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) แนวปฏิบัติและมาตรฐานของกลุ่มธุรกิจชั้นนำในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยใช้ผลการประเมินหรือคะแนน KPIs โดยมีการนำเสนอหลักการและจำนวนค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการบริษัท (Board of Director) เพื่อพิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนทั้งระยะสั้นและระยาว โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของ CEO ในแต่ละวาระไม่เกิน 4 ปี (Time Vesting for Variable CEO Compensation)
กฎการเรียกคืนโบนัส (Clawback Provision)
กฎการเรียกคืนโบนัส (Clawback Provision) เป็นไปตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 85 และ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 89/7 และมาตรา 89/18 ซึ่งกำหนดว่าในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ผู้บริหารต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัทฯ และมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในกรณีที่พบว่าผู้บริหารไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต บริษัทฯ สามารถเรียกค่าเสียหายและประโยชน์ที่ได้รับจากผู้บริหาร โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานของผู้บริหารซึ่งไม่ตรงตามเงื่อนไขกฎเกณฑ์ของบริษัทฯ
แนวทางการถือครองหุ้น (Management Ownership Guideline)
OR DNA คือค่านิยมหลักของเรา OR ส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกัน และเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้บริหารจัดการผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ/หรือผู้บริหารระดับสูงท่านอื่น ได้รับการส่งเสริมในการเป็นเจ้าของหุ้นเท่ากับจำนวนทวีคุณของค่าตอบแทนพื้นฐานประจำปีตามสัดส่วน ดังต่อไปนี้:
กลยุทธ์ด้านภาษี (Tax Strategy)
OR ยึดถือต่อหลักความโปร่งใสและความเป็นธรรมสำหรับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร โดยได้ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการเสียภาษีอย่างเป็นธรรรม (“Fair share of tax”) ไม่มีนโยบายใช้โครงสร้างการลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการถ่ายโอนกำไร การทำธุรกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักการ Arm’s Length หรือการจัดตั้งบริษัทในประเทศที่เอื้อต่อการหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงภาษีหรือเสียภาษีในอัตราต่ำ และส่งเสริมการกำกับดูแลที่ดีที่สามารถตรวจสอบได้ โดยจัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านภาษีรวมถึงการจัดจ้างที่ปรึกษาภาษีอากรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีตามนโยบายภาษีที่ได้เปิดเผยไว้ (คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม)
มีรายละเอียดผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
1. OR เข้าร่วมเป็นสมาชิก UN Global Compact (UNGC) หรือกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 โดยมุ่งหมายให้กลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลักการสากลสิบประการ (Ten Principles) ในด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านคอรัปชัน ไปปรับใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจ และการกระตุ้นให้เกิดการลงมือปฏิบัติเพื่อสนับสนุนเป้าหมายต่าง ๆ ของสหประชาชาติ ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
2. OR ได้ร่วมกับบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม ปตท. ได้แก่ PTT, PTTEP, GC, TOP, IRPC และ GPSC จัดงาน PTT Group CG Day 2024 ภายใต้หัวข้อ “CG CITIZEN SUSTAINABILITY CONNECT เปิดกว้างเชื่อมโยง โปร่งใส” เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงจุดยืนในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ควบคู่ไปกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการของกลุ่ม ปตท. ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานในกลุ่ม ปตท. ผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแล องค์กรอิสระ คู่ค้า และลูกค้า
3. OR เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน PTT Group Compliance Network 2024 เมื่อวันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านกฎหมายระหว่างบริษัทในกลุ่มปตท. และเพิ่มความแข็งแกร่งในด้าน Compliance ซึ่งเป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจของทุกบริษัท ในงานนี้ ได้มีการบรรยายในหัวข้อ “Digital Transformation” ซึ่งประกอบด้วย กฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน กฎหมายที่เกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและแอปพลิเคชัน และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยมีบริษัทในกลุ่ม ปตท. เข้าร่วม ได้แก่ PTT, PTTEP, GC, IRPC, GPSC,
เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Related Documents)
Document Name | File (Attach or Link) |
---|---|
1. แนวทางบริหารจัดการแบบกลุ่ม OR ประจำปี 2567 (OR Group Way of Conduct 2024) | Click to see/Download |
2. คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ หรือคู่มือ CG (CG Handbook) | Click to see/Download |
3. OR independent director definition | Click to see/Download |
4. Board Industry Experience | Click to see/Download |
5. Relative Financial Indicators | Click to see/Download |
6. OR Tax Strategy | Click to see/Download |
7. นโยบายภาษี | Click to see/Download |