เศรษฐกิจหมุนเวียน

ความสำคัญ

(GRI 3-3a., GRI 3-3b.)

             การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการมุ่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาอาศัยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ยังส่งผลมาซึ่งความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และการลดน้อยถอยลงของทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดหมดไปอย่างรวดเร็ว และขาดการอนุรักษ์ ดังนั้นแนวคิดเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จึงเข้ามามีบทบาทในปัจจุบันเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและสร้างความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปกับการใช้ทรพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

             OR มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด OR SDG (Small, Diversified, Green) โดยนำแนวคิด Green หรือการสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด ส่งเสริมธุรกิจสีเขียว เพื่ออนาคตสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ภายใต้พันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม (Planet) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด จะเป็นส่วนช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม โดย OR ตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทรัพยากร หากธุรกิจไม่ปรับตัวและใช้ทรัพยากรที่ได้มาให้คุ้มค่า ในอนาคตอาจไม่มีทรัพยากรธรรมชาติหลงเหลือให้คนรุ่นหลังได้ใช้อีกต่อไป ดังนั้นการให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเป็นเรื่องสำคัญขององค์กร เพื่อส่งเสริมให้องค์กรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจตามหลักการ BCG (Bio-Circular-Green Economy) อันได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมายด้วยกัน ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอีกด้วย

เป้าหมายปี 2567

(GRI 3-3e.)

แนวทางการบริหารจัดการ

(GRI 3-3c., 3-3d., 3-3e., 3-3f.)

             OR ยึดมั่นในการดำเนินงานธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยได้ประกาศนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน เมื่อปี 2565 รวมถึงมีการทบทวนนโยบาย QSHE ดังกล่าวในปี 2567 เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมของบริษัท นอกจากนี้ OR ยังได้กำหนดกลยุทธ์ Triple Bottom Line (3Ps) ที่ให้ความสำคัญกับสังคม ชุมชน (People) สิ่งแวดล้อม (Planet) ควบคู่ไปกับผลประกอบการ (Performance) โดยได้กำหนดตัวชี้วัดด้านการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (Responsible Consumption and Production: RCP) เป็นหนึ่งในเป้าหมายด้าน Healthy Environment ของ OR 2030 Goals เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงการบริหารจัดการของเสียที่มุ่งเน้นการนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด โดยได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารความยั่งยืน และคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักที่ผลักดันการดำเนินงานตามกลยุทธ์และเป้าหมายที่กำหนด

กลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียน

                 OR ดำเนินธุรกิจโดยนำหลักการและแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อันเป็นกุญแจสำคัญสู่การบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยนำมาบูรณาการประยุกต์ใช้กับทุกสถานประกอบการของ OR เพื่อมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ตั้งแต่การออกแบบ การยืดอายุการใช้งานบรรจุภัณฑ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค การลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต ตลอดจนการกำจัดของเสียหลังสิ้นอายุการใช้งาน

                 กลยุทธ์เริ่มต้นจากการระบุของเสียที่อาจเกิดขึ้นของแต่ละธุรกิจ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการนำของเสียนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการก่อเกิดของเสียดังกล่าว จะต้องกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการ พร้อมระบุประเภทของเสีย วิธีการลด และปริมาณที่คาดว่าจะลดได้ตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนด

                 ทั้งนี้ OR ได้บูรณการหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนไปยังทุกสถานประกอบการ ซึ่งแต่ละธุรกิจสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจได้ ผ่านกลยุทธ์ 3R Waste Strategy เพื่อขับเคลื่อนความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการขยะ ได้แก่

      1. Reduce (New Resource Extraction): การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดย
        • การออกแบบเพื่อลดปริมาณการใช้วัตถุดิบ
        • การใช้วัตถุดิบที่มีส่วนผสมของ Recycled material
        • การใช้วัตถุดิบที่ย่อยสลายได้ เพื่อผลักดันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      2. Refine (Process and Product to Minimize Waste):
        • การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย
        • การออกแบบให้สามารถนำกลับมา Recycle ได้ 100% เช่น Single Layer Packaging
      3. Reborn (Waste to Value):
        • การเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมของเสียจากธุรกิจ
        • การขยายผลการนำของเสียจากการดำเนินธุรกิจมาสร้างคุณค่าผ่านแนวคิด Circular Economy
3R Waste Strategy

                  การขยายผลการนำของเสียจากการดำเนินธุรกิจมาสร้างคุณค่าผ่านแนวคิด Circular Economy โดยมีคณะทำงานการดำเนินธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Taskforce) ผลักดัน ติดตามความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค และผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเทียบกับแผนการดำเนินงานที่กำหนด  รวมถึงพิจารณาแนวทางการแก้ไขหรือป้องกันกรณีผลการดำเนินงานไม่บรรลุตามแผนที่กำหนดไว้ รวมทั้งให้คำแนะนำและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงดำเนินงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานจะถูกติดตามโดยคณะกรรมการบริหารความร่วมมือสู่การดำเนินธุรกิจและพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Committee) นอกจากนี้ ผลการดำเนินงาน จะถูกรายงานต่อคณะกรรมการคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (OR Group Quality, Safety, Health and Environment Management Committee: OR QSHE GMC) เป็นประจำทุกไตรมาส

                  การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน จะถูกนำเสนอผ่านสื่อและช่องการประชาสัมพันธ์ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นผ่านช่องทาง Facebook วารสารของบริษัท สื่อโฆษณาโทรทัศน์  เว็ปไซต์ของ OR เป็นต้น

การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของบุคลากรด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

                   นอกเหนือจากผลักดันโครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริงในการดำเนินธุรกิจ ในปี 2567 ที่ผ่านมา OR ยังส่งเสริมให้บุคลากรมีความเข้าใจในแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านโครงการ CE Challenge 2024 ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อค้นหาแนวความคิดและไอเดียด้านการจัดการของเสียขององค์กร โดยประยุกต์นำหลักคิดของหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เข้ามาปรับใช้ในการดำเนินงาน ทั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 91 คน และผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การอบรมแบบ Boost Comp เป็นจำนวน 36 คน ก่อเกิดเป็นแนวคิดด้านการจัดการของเสีย ที่นอกจากจะเป็นการช่วยลดของเสียจากกระบวนการดำเนินธุรกิจของ OR แล้ว ยังก่อให้เกิดความคิดริเริ่มในการดำเนินงานใหม่ (New Initiatives) ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้บรรลุผลตามเป้าหมาย OR 2030 Gools ในด้าน Healthy Environment ได้อีกด้วย

โครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก (External Collaboration)

               การผสานความร่วมมือทางธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับหน่วยงานภายนอก เป็นการนำศักยภาพและจุดแข็ง มาสร้างความแข็งแกร่งเพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ โดยที่ผ่านมา OR และ GC (บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้ลงนาม MOU ครอบคลุมความร่วมมือ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านความยั่งยืน ด้านการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า และด้านการพัฒนาธุรกิจ เพราะ OR เชื่อในโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกันอย่างยั่งยืน ดังนั้น การผนึกกำลังกับหน่วยงานภายนอก เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เกิดจากความร่วมมือกับ GC อาทิ ร่วมกันต่อยอดขยายผลการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลแบบครบวงจร เช่น ขวดพลาสติก กระดาษ ขวดแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม เป็นต้น ด้วย “Youเทิร์น Platform” ของ GC และ โครงการ “แยก แลก ยิ้ม” โดย PTT Station ของ OR นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม “แยก แลก เทิร์น” ให้ลูกค้าสามารถนำพลาสติกที่ แยก’ รวบรวมไว้ มา ‘แลก’ เป็นของรางวัลได้ที่ PTT Station แล้วเราจะนำไป ‘เทิร์น’ ชีวิตให้ขวดพลาสติกอีกครั้ง ผ่านกระบวนการ Recycle & Upcycle อย่างถูกวิธี เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างประโยชน์ ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือ โครงการความร่วมมือธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน OR x GC
โครงการแยก แลก ยิ้ม x GC YOUเทิร์น

                ธุรกิจหลักของ OR มีตัวอย่างการริเริ่มในการดำเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สำคัญผ่านธุรกิจร้าน Café Amazon แบรนด์กาแฟสัญชาติไทยที่อยู่เคียงข้างคนไทยมาเป็นระยะเวลา 22 ปี ปัจจุบันมีเติบโตมากกว่า 4,462 สาขาทั่วโลกและมากกว่า 4,430 สาขาที่เปิดให้บริการในประเทศไทย ซึ่งยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจของสังคม ควบคู่กับการใส่ใจชุมชนและสิ่งแวดล้อม
                OR ได้ดำเนินกิจกรรมลดการเกิดของเสียมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการลดปริมาณการใช้พลาสติกจากการขายสินค้า การนำวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตและการบริโภคมาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผ่านกระบวนการ Upcycling และขยายผลการใช้ประโยชน์จากวัสดุดังกล่าวไปยังลูกค้าประเภท B2C (Business to Customer) และลูกค้าแฟรนไชส์ B2B (Business to Business) เพื่อสร้างความตระหนักด้านความรับผิดชอบในกระบวนการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของใช้ (Supplies Use) ภายในร้านค้าต่าง ๆ ให้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ เพื่อลดภาระและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในแต่ละกลุ่มธุรกิจของ OR

ผลการดำเนินงาน

การจัดการบรรจุภัณฑ์และพลาสติก (Packaging and Plastic Management)

                ในธุรกิจของ OR มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้บรรจุภัณฑ์และพลาสติกที่หลากหลาย ซึ่งบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม จะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา OR จึงได้ผลักดันให้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อลดการใช้บรรจุภัณฑ์และพลาสติกจากการดำเนินธุรกิจและแสวงหาโอกาสในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
                1. การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงผลักดันบรรจุภัณฑ์ภายในร้าน Café Amazon ทุกสาขาให้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ หรือสามารถนำมาใช้ใหม่และสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ Amazon Bio Cup (แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพชนิด PBS สำหรับเครื่องดื่มร้อน)) หนึ่งในนวัตกรรมรักษ์โลกจากกลุ่ม ปตท. หลอดจากพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100 % โดย รวมถึงถุงกระดาษทดแทนถุงพลาสติกในร้านคาเฟ่อเมซอนทุกสาขา นอกจากนี้ยังเริ่มนำแก้ว rPET (Recycled PET) มาใช้ในบางสาขา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวจะช่วยลดประมาณขยะได้กว่า 2,339 ตัน

รูปภาพแก้วกระดาษชนิด PBS ที่ย่อยสลายได้ของ OR ตลอดจนบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                2. โครงการ Café Amazon Go Green ยึดหลักในการดำเนินธุรกิจที่สนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจตามหลักการ BCG (Bio-Circular-Green Economy) โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

  • เสื้อพนักงาน ผ้ากันเปื้อนพนักงานบาริสต้าในร้าน Café Amazon ทุกสาขาผลิตจากวัสดุ Upcycling โดยการนำแก้วและขวดพลาสติก PET บรรจุเครื่องดื่มที่ผ่านการใช้งานแล้วมาย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 180-220 องศาเซลเซียส เพื่อให้พลาสติกหลอมละลาย จากนั้นดึงออกมาเป็นเส้นใยรีไซเคิลโดยใช้เครื่องรีดพลาสติก ส่งให้โรงงานสิ่งทอออกแบบรูปแบบการทอ นำไปทอเป็นผืนผ้า และตัดเย็บออกมาเป็นผลิตภัณฑ์
รูปภาพเสื้อพนักงาน Café Amazon ที่ผ่านกระบวนการ Upcycling
  • Café Amazon ทุกร้านใช้วัสดุตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลัก BCG (Bio Circular Green) เป็นองค์ประกอบ เพื่อบรรลุเป้าหมายการทำให้ทุกร้านเป็น Circular Economy
  • Café Amazon Concept Store สาขา PTT Sation วังจันทร์ เป็นร้านที่ตกแต่งโดยใช้วัสดุที่ยั่งยืน โดยเลือกวัสดุที่มีการผลิตที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือแปลงเป็นวัสดุที่ใช้งานได้อีกครั้ง นอกจากนี้ การใช้วัสดุที่มีการบำรุงรักษาง่ายและไม่มีสารพิษยังเป็นสิ่งสำคัญ มีการใช้ไม้ที่มีการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน และ วัสดุที่มีการรีไซเคิล เช่น พื้น Terrazzo จากเศษขวดแก้ว ผนังโมเสคจากเศษวัสดุธรรมชาติ กระถางต้นไม้ซีเมนต์รีไซเคิล ผ้าบุโซฟาจากขวด PET วัสดุตกแต่งตัว C จาก Plasscoff และใช้ วัสดุสแตนเลสบริเวณเคานเตอร์
รูปภาพภายในร้าน Café Amazon Concept Stroe สาขา PTT Station วังจันทร์
  • มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Upcycling ที่ทำจากแก้วและขวดพลาสติก PET เพื่อจำหน่ายในร้าน Café Amazon
รูปภาพผลิตภัณฑ์ Upcycling ของ OR

              3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในการลดใช้ทรัพยากรและบรรจุภัณฑ์ เช่น ส่งเสริมการใช้ถุงผ้า และการมีส่วนลดให้กับลูกค้าที่นำแก้วส่วนตัวมาใช้ในร้าน Cafe Amazon เป็นต้น โดยปี 2567 สามารถลดการใช้แก้วพลาสติกได้ 557.26 ตัน

รูปภาพโครงการ Café Amazon for Earth

                4. โครงการ “คืนคัพ” รับคืนแก้วพลาสติก PET ใช้แล้วของ Cafe Amazon จากผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก และส่งเสริมให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะพลาสติกด้วยตนเอง โดยผู้บริโภคสามารถนำแก้วพลาสติก หรือฝาแก้วพลาสติก (PET) ที่ใช้แล้วของ Cafe Amazon มาล้างทำความสะอาด และนำกลับมาคืนที่ ตู้คืนคัพ! ณ ร้าน Café Amazon เพื่อรับคะแนนสะสมด้วยเทคโนโลยี Machine Learning และ AI พร้อมแลกเป็นส่วนลด ตลอดจนสิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมาย ผ่านบัญชีไลน์ทางการของโครงการคืนคัพ! (@amazoncupback) ทั้งนี้แก้วพลาสติกทุกใบที่รับคืนมานั้นจะถูกนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิล (Recycle) เพื่อนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โครงการที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยส่งเสริมให้ Café Amazon เป็น แบรนด์ที่มีการจัดการ Post – Consumer Waste อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการลงมือทำร่วมกันระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการมีผู้บริโภคให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 28,000 คน และสามารถเก็บแก้วพลาสติกกลับคืนมาได้กว่า 320,000 ใบ ซึ่งภายในปี 2567 โครงการคืนคัพ! มีแผนขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

                นอกจากนี้โครงการคืนคัพยังได้รับการประเมินผลการดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy maturity assessment) ด้วยมาตรฐานระดับสากลBritish Standard BS8001:2017 โดยผลการประเมินโครงการในระยะเริ่มต้นได้ผลลัพธ์การประเมินอยู่ที่ 2.995 คะแนน จัดอยู่ในระดับที่ 2 (Level 2) โดยมีจุดเด่นของโครงการ ดังนี้

  • ความมุ่งมั่นต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน: มีกรอบนโยบายที่ชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • การมีส่วนร่วมของลูกค้า: มีการใช้เทคโนโลยี AI สำหรับการรวบรวมข้อมูล และมีของรางวัลช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ามีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • แนวทางปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรม: โครงการนี้สะท้อนแนวทางที่สร้างสรรค์ในการจัดการขยะและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจของ OR
  • ความโปร่งใส: มีความโปร่งใสช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรและความพยายามในการปฏิบัติงานด้านความยั่งยืน

               จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความยั่งยืน และแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านการลงมือทำจริงร่วมกับผู้บริโภคของ Café Amazon

                6. โครงการแยก แลก ยิ้ม เพื่อจุดประสงค์ในการรณรงค์ให้เกิดการคัดแยกขยะใน PTT Station อย่างถูกวิธี และสร้างประโยชน์คืนสู่สังคม โดยนำขยะรีไซเคิลไปเปลี่ยนเป็นทุนการศึกษา เครื่องมืออุปโภค และสาธารณูปโภคในชุมชนต่างๆ โดยมีการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยปี 2566 – 2567 ได้มีความร่วมมือกับ “GC YOUเทิร์น” ในการรับจัดเก็บขยะรีไซเคิลเข้าสู่โรงงานรีไซเคิลที่มีมาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ PTT Station ได้ว่า ขยะรีไซเคิลที่คัดแยกผ่านถัง “แยก แลก ยิ้ม” จะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างถูกต้องต่อไป โดยปี 2567 มีสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 124 สถานี สามารถเก็บขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้จำนวน 67.9 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 240,000 บาท

รูปภาพโครงการแยก แลก ยิ้ม x GC YOUเทิร์น

                7. การนำกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วแบรนด์ PTT Lubricants จากการเปลี่ยนถ่ายที่ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto ทุกสาขาทั่วประเทศ เข้าสู่กระบวนการ Upcycling เพื่อผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้เทียม (Wood Plastic Composite) จากพลาสติกรีไซเคิลร่วมกับวัสดุชีวภาพอื่น ๆ สำหรับใช้ตกแต่งภายในห้องรับรองลูกค้าของศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto โดยในปี 2567 สามารถจัดเก็บกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วจาก FIT Auto ทุกสาขาทั่วประเทศ เป็นจำนวน 70.25 ตัน และติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวภายในห้องรับรองลูกค้าของศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto จำนวน 9 สาขา

                โดยในปี 2567 ได้ขยายการดำเนินงานในการ Upcycling แกลลอนน้ำมันหล่อลื่นเพื่อการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้เทียม ผ่านโครงการ “เซฟโลก เซฟรถ เพื่ออนาคตน้อง ๆ” โดยผลิตเป็นโต๊ะเรียน และเก้าอี้ ที่มีความแข็งแรง คงทน เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนในพื้นที่ขาดแคลน นำร่องพื้นที่แรก ณ โรงเรียนบ้านผานัง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันทำการผลิตชุดโต๊ะนักเรียนแล้วทั้งสิ้น 100 ชุด คิดเป็นปริมาณพลาสติกรีไซเคิลได้ที่ 1.2 ตัน

                8. ธุรกิจหล่อลื่น ได้มีการกำหนดแนวทางการจัดซื้อบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการกำหนดโครงสร้างสัดส่วนการใช้พลาสติกชั้นกลางของบรรจุภัณฑ์หล่อลื่นขนาด 18 ลิตร ให้มีปริมาณการใช้พลาสติกรีไซเคิลไม่น้อยกว่า 30% โดยไม่กระทบกับคุณภาพของบรรจุภัณฑ์

                9. การส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ผ่านการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลตามหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling ต่างๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station โดยในปี 2567 ได้มีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

    • เสื้อพนักงาน PTT Station ที่ Upcycling มาจากขวดน้ำพลาสติก PET รีไซเคิล ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทาง OR ได้มีการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลในกระบวนการผลิต เพื่อการปรับใช้ใน PTT Station (COCO) ของ OR และการจำหน่ายให้กับลูกค้าแฟรนไชส์ (DODO) ที่มีการสั่งซื้อเสื้อพนักงาน ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป โดยมีการปรับใช้แล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้นกว่า 24,000 ตัว
ตัวอย่าง รูปเสื้อพนักงานหน้าลาน
  • การเลือกใช้ม้านั่งที่มีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิลชนิด PE (Polyethylene) ภายใน PTT Station โดยในปี 2567 ได้มีการทดลองใช้ม้านั่งดังกล่าวภายในสถานีบริการน้ำมัน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 42 ตัว ที่ 17 สถานี เพื่อการศึกษาอายุการใช้งานและคุณสมบัติต่างๆของม้านั่ง ในการต่อยอดสำหรับการจำหน่ายต่อไปในอนาคต
ผลิตภัณฑ์ Upcycling ของ PTT Station

การสูญเสียอาหารและของเสียประเภทอาหาร (Food Loss and Food Waste)

           การสูญเสียอาหารและของเสียประเภทอาหารเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับธุรกิจค้าปลีก ดังนั้น OR จึงสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยได้แสดงเจตนารมณ์ (Commitment) ในการลดการสูญเสียอาหารและปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น (Food Loss and Waste Measurement) ผ่านการทบทวนกระบวนการผลิต การจัดการของเสีย ลดปริมาณการสูญเสียอาหารในทุก ๆ ธุรกิจของ OR ที่เกี่ยวข้อง (Food Loss and Waste Reduction) พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ผ่านกิจกรรมนำของเสียประเภทอาหารมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด (Alternative Uses) รวมไปถึงการสร้างความตระหนักให้แก่พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ OR (OR Value Chain) ทั้งนี้ OR ได้จัดเก็บข้อมูลปริมาณอาหารที่สูญเสีย (Food Loss) ที่เกิดขึ้นภายในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงคั่วกาแฟอเมซอน โรงงานเบเกอรี่ และโรงงานผสม Dry Mix เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและกำหนดแผนงานในการลดปริมาณอาหารที่สูญเสียที่เหมาะสมในอนาคต

โครงการ

  1. Food Loss to Fertilizer รวบรวมของเสียอาหารจากกระบวนการผลิตของธุรกิจคาเฟ่อเมซอน เช่น เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ (จากโรงคั่วกาแฟอเมซอน) โดยในปี 2567 ของเหลือทิ้งจากการผลิต (Food Loss) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟได้ถูกไปนำไปเป็นวัสดุปรับปรุงดิน นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาการนำเปลือกกาแฟกะลา ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการสีกาแฟของโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ จังหวัดเชียงใหม่ นำไปศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์ เช่น ศึกษาองค์ประกอบของเปลือกกาแฟ ศึกษาการนำไปเป็นวัสดุปรับปรุงดินในการปลูกพืช ศึกษาการนำไปผลิตเป็นไบโอชาร์ (Biochar) เป็นต้น
  1. โครงการ Lean Six/Sigma เป็นการค้นหาวิธีในการลดหรือกำจัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นหรือไม่เพิ่มมูลค่า โดยเน้นที่การลดความไม่แน่นอน ให้การดำเนินงานคงที่ มีความแปรผันน้อยที่สุด ซึ่งได้ดำเนินโครงการในสถานประกอบการโรงงานผงผสม Dry Mix โดยผลจากการดำเนินโครงการ ทำให้กระบวนการในการตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์แม่นยำมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปริมาณของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์จากกระบวนการลดน้อยลง

  2. โครงการน้ำมันปันสุข เป็นการขยายการจัดเก็บน้ำมันทอดใช้แล้ว ไปยังพื้นที่ชุมชนรอบสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และกลุ่มลูกค้าธุรกิจถังก๊าซหุงต้ม LPG เช่น ร้านค้าโรงบรรจุก๊าซของลูกค้า เป็นต้น ในการเป็นจุดรับซื้อน้ำมันทอดใช้แล้วจากชุมชน เพื่อเก็บรวบรวมน้ำมันทอดใช้แล้วดังกล่าว มาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพเป็นน้ำมันไบโอดีเซลชนิดต่างๆ ต่อไป และเพื่อเป็นการสนับสนุน Secure Feedstock ปริมาณ UCOME ในการผลิตน้ำมันเตาทางเลือกสำหรับกลุ่มธุรกิจน้ำมันเรือและอากาศยานในอนาคตของ OR โครงการนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการประกอบธุรกิจของ OR แล้ว ยังถือเป็นโครงการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการอุดตันของเส้นท่อเนื่องจากการทิ้งน้ำมันลงท่อ ตลอดจนเป็นการช่วยส่งเสริมการจัดการของเสียอย่างถูกต้องร่วมกับชุมชนอีกด้วย โดยได้เริ่มต้นกิจกรรมตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2567 และสามารถจัดเก็บรวบรวมน้ำมันทอดจากชุมชนได้แล้วกว่า 2,100 กิโลกรัม

การจัดการของเสียจากผลิตภัณฑ์

             การจัดการของเสียจากผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุด เป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของ OR ในการลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของ OR ซึ่งโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    1. โครงการ Used Lube to Alternative Fuel Oil เป็นการจัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วจากศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto ทุกสาขาทั่วประเทศ ไปผ่านกระบวนการ เพื่อนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงทางเลือกอีกครั้ง สำหรับลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมต่อไป โดยในปี 2567 ได้มีการจัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว จำนวน 1.22 ล้านลิตร
    1. ผนังตกแต่ง เอสซีจี รุ่น โมดิน่า คอฟฟ์ (SCG MODEENA COFF) กากกาแฟจาก Café Amazon ถูกนำมาใช้ในสัดส่วนถึง 48% ของวัสดุทั้งหมดในผนังตกแต่งรุ่น MODEENA COFF ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือระหว่าง Café Amazon และ SCG ในการพัฒนาวัสดุที่สอดรับกับแนวคิด Circular Economy และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Waste Utilization) โดยผนังนี้มีให้เลือก 2 สี ได้แก่ Espresso และ White Mocha พร้อมพื้นผิวที่เผยให้เห็นเม็ดกากกาแฟเล็ก ๆ สร้างเอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติและความยั่งยืน
ผนังตกแต่งผสมกากกาแฟจาก Café Amazon

สถานีบริการต้นแบบของการดำเนินงานด้าน Circular Economy

                PTT Station สาขา แฟลกชิป วิภาวดีรังสิต 62 เป็นสถานีบริการต้นแบบของการดำเนินงานด้าน Circular Economy ซึ่งมีการจัดการขยะ ณ แหล่งกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมให้มีการคัดแยกประเภทขยะ การนำขยะที่สามารถ Recycle ได้เข้าสู่กระบวนการ Recycle ได้อย่างถูกต้อง ได้แก่

      • การคัดแยกเศษอาหารจากร้านค้าต่าง ๆ มาแปรสภาพผ่านเครื่องย่อยเศษอาหารเป็นวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ภายในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PTT Station
      • การคัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้ว ลังกระดาษ เป็นต้น ผ่านโครงการแยกแลกยิ้ม x GC YOUเทิร์น ส่งต่อขยะที่สามารถรีไซเคิลได้เข้าสู่โรงงานรีไซเคิลที่มีมาตรฐาน
      • การตกแต่งร้าน Cafe Amazon Concept Store ตามแนวความคิดของ Circular Economy เต็มรูปแบบ ผ่านการใช้วัสดุตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลัก BCG (Bio Circular Green) และการเป็นจุด Drop Point ของโครงการคืนคัพ ในการเก็บรวบรวมแก้ว PET ใช้แล้ว เข้าสู่กระบวนการ Upcycling ต่อไป
      • การเก็บรวบรวมน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วจากการเปลี่ยนถ่ายที่ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งจัดเก็บกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วที่ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto เข้าสู่กระบวนการ Upcycling และการนำพลาสติกรีไซเคิลและวัสดุชีวภาพอื่นๆ มาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้เทียม ตกแต่งภายในห้องรับรองลูกค้าของศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto