การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม

ความสำคัญ

(GRI 3-3a, GRI 3-3b)

            ในปัจจุบันที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับทั้งในประเทศ ระดับภูมิภาค รวมถึงสถานการณ์โลกมีความท้าทายอย่างต่อเนื่องในด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ[1] และสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกิจกรรมของมนุษย์นั้น[2] ภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

            ธุรกิจของ OR มีความใกล้ชิดกับชุมชนและสังคม เช่น ร้าน Café Amazon ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีชุมชนอยู่อย่างหนาแน่น หรือการใช้ถนนสาธารณะเพื่อขนส่งน้ำมันไปยัง PTT Station ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวของ OR จึงอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนและสังคม เช่น การปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมหรือการจราจรที่รบกวนคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ และสร้างผลกระทบทางบวก เช่น การจัดซื้อจัดจ้างกับชุมชนท้องถิ่นที่ช่วยให้ชุมชนมีรายได้ ตามกลยุทธ์ OR SDG ‘S – SMALL โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก’ OR จึงมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน

          [1] https://www.weforum.org/agenda/2023/01/global-inequality-is-a-failure-of-imagination/

          [2] https://www.weforum.org/agenda/2023/02/biodiversity-nature-loss-cop15/

เป้าหมายโครงการเพื่อสังคมรอบสถานประกอบการปี 2567

แนวทางการจัดการ

(GRI 3-3c., GRI 3-3d., GRI 3-3e., GRI 3-3f., GRI 413-1)

นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน และการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

           การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ OR อยู่ภายใต้กรอบแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของบริษัทฯ (อ่านนโยบายเพิ่มเติมในเว็บไซต์: https://www.pttor.com/en/sustainability/sustainability_page/Sustainability-Policy-and-Strategy) โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสอดรับกับนโยบายการบริหารชื่อเสียงและกิจการเพื่อสังคม

           จากนโยบายดังกล่าวข้างต้น OR จึงได้พัฒนาคู่มือและกรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Citizenship and Philanthropy Framework and Manual) ในปี 2565 เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานสำหรับโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการวางแผน การปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน  โดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาและกำหนดให้การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของ OR สอดคล้องตามหลักเกณฑ์สากล Business for Societal Impact Framework (B4SI) ตลอดจนแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) ความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (CSR in process) ความรับผิดชอบต่อสังคมนอกเหนือกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (CSR after process) และวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)

สำหรับแนวทางในการพัฒนาและดำเนินโครงการ OR ยึดหลักการร่วมมือกับสังคมและชุมชน (Collaboration) ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมพัฒนาสังคม โดย OR จะใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญขององค์กร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนผ่านกิจกรรมทางสังคมของ OR ทำให้ได้รับความไว้วางใจตลอดจนคนในชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดการยอมรับจากสังคมให้ดำเนินธุรกิจ (Social License to Operate) ในระยะยาว ทั้งนี้ OR กำหนดขอบเขตกลุ่มเป้าหมายเป็นสองส่วน ได้แก่

1) ระดับพื้นที่ คือ ชุมชนที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรของพื้นที่ปฏิบัติการ

2) ระดับประเทศ คือ การดำเนินการนอกรัศมีพื้นที่ปฏิบัติการ 5 กิโลเมตร ขึ้นไป

กรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Citizenship and Philanthropic Framework)

            การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมช่วยส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืนของบริษัทฯ “OR 2030 Goals” ได้แก่ Living Community, Healthy Environment, และ Economic Prosperity และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) จำนวน 9 เป้าหมาย โดยเพิ่มเติมเป้าหมายที่ 4 Quality Education สำหรับการดำเนินงานภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ OR จัดกลุ่มการดำเนินโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมตามวัตถุประสงค์และลักษณะการจัดการประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมออกเป็น 3 ด้านหลัก รวมถึงกำหนดตัวชี้วัดเพื่อวัดผลการดำเนินงานต่าง ๆ รายละเอียดดังนี้

ด้านที่ 1: S – SMALL โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการสร้างประโยชน์ต่อชุมชน โดยรอบพื้นที่ธุรกิจและสถานประกอบการ

ด้านที่ 2: D – DIVERSIFIED โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ การสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมนอกพื้นที่ธุรกิจและสถานประกอบการของ OR โดยมุ่งเน้นกิจกรรมสำหรับสังคมทั่วไปในวงกว้าง รวมถึงเศรษฐกิจสังคมในระดับประเทศ

ด้านที่ 3: G – GREEN โอกาสเพื่อสังคมสะอาด องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

           ภายใต้ 3 ด้านหลักการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม OR กำหนดแผนงานสำหรับโครงการและกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าร่วมกับกลุ่มสังคมและชุมชน ให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยมีขอบเขตในการดำเนินงานที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

    • Education: การดำเนินโครงการและกิจกรรมให้ความรู้ที่มาจากธุรกิจของ OR ที่สามารถนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ และ/หรือความรู้ทั่วไปที่ช่วยแก้ไขประเด็นปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ ด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย และการจัดการขยะ สำหรับเด็ก เยาวชนและชุมชน เป็นต้น
    • Social Equality: การดำเนินโครงการและกิจกรรมสนับสนุนความเท่าเทียมทางสังคม และการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานของคนทุกกลุ่ม จากการพัฒนานวัตกรรม และ/หรือการประยุกต์ใช้จุดเด่นของธุรกิจ OR เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน และสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาส
    • Product/ Service: การพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนปลายน้ำที่ส่งมอบสินค้าและบริการออกสู่สังคม อาทิ การจัดหาวัตถุดิบจากชุมชน การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ Upcycling เป็นต้น

แนวทางการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม

การมีส่วนร่วมกับกลุ่มสังคมและชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน

            ในทุกๆ ปี OR จะมีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มสังคมและชุมชน ผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วม (Stakeholder Engagement) แสดงความคิดเห็น รวมถึงร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำผลจากการรับฟังความคิดเห็นไปวางแผนโครงการและการดำเนินกิจกรรมที่จะเสริมสร้างการพัฒนาชุมชนร่วมกัน ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนโดยรอบ (Community Relation) รวมไปถึงการประเมินผลการดำเนินงานทั้งระหว่างและหลังการดำเนินงานโครงการ เพื่อทบทวนและพัฒนาการทำงานให้ตอบสนองกลุ่มผู้รับประโยชน์ของโครงการมากที่สุด พร้อมกันนี้ OR ได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับจัดทำโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับใช้ในการกำหนดแผนงานโครงการและรายงานผลการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติที่ได้รับมอบหมาย

            นอกจากนี้ การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบด้านลบต่อชุมชน โดยการกำหนดแนวทางป้องกันผลกระทบ พร้อมกระบวนการรับมือหากเกิดเหตุการณ์ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากชุมชน ตรวจสอบการทำงานของ OR และยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาชดเชยหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ตามลำดับขั้นตอน ทำให้สามารถลดผลกระทบและข้อกังวลจากการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเกิดการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีกในอนาคต 

ผลการดำเนินงาน

โครงการ/กิจกรรมสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมและชุมชน (Initiatives/ Programs) 

         ในปี 2567 OR ได้ทำการสำรวจข้อมูล/ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย โดยครอบคลุมทั้งในระดับพื้นที่ คือ ชุมชนที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรของพื้นที่ปฏิบัติการ ทั้งหมด 19 พื้นที่ หรือร้อยละ 100  ของพื้นที่ดำเนินการ และ ระดับประเทศ คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นนอกรัศมีพื้นที่ปฏิบัติการ 5 กิโลเมตร ขึ้นไป เช่น เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จึงได้รับทราบและระบุประเด็นความกังวลและความสนใจของชุมชนและสังคม โดยจากผลสำรวจไม่พบปัญหาที่ส่งผลเสียหายต่อชุมชนและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ OR ยังมีกระบวนการดูแลชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง  ด้วยการพัฒนาแผนงานและจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม โดยมีตัวอย่างโครงการและกิจกรรมในปี 2567 จำแนกตามกรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ปรากฏดังนี้

 

Focus Area

โครงการ/กิจกรรม

รายละเอียดการดำเนินงานในปี 2567

Small (โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก)
การอบรมด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยแก่ชุมชนโครงการศูนย์ฝึกอบรมการขจัดคราบน้ำมันรั่วไหล OR (OR Oil Spill Response Training Center) (2566-ปัจจุบัน)
  • ให้บริการหลักสูตรฝึกอบรมดับเพลิง และหลักสูตรการขจัดคราบน้ำมันรั่วไหล ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยเปิดให้บริการหลักสูตรการขจัดคราบน้ำมันรั่วไหล ผู้เข้าอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร (Certificate) ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล
กิจกรรมเสริมเกราะความปลอดภัย
  • ส่งมอบกรวย 6,000 ชิ้นให้กับสถานีตำรวจรอบพื้นที่ปฏิบัติการของ OR จำนวน 9 แห่ง ในพื้นที่ 16 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ พิษณุโลก นครสวรรค์ สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ชลบุรี ขอนแก่น อุบลราชธานี สุราษฏร์ธานี ภูเก็ต และสงขลา
โครงการโออาร์ใส่ใจ ห่วงใยชุมชน
  • ตรวจสอบและติดตั้งถังดับเพลิงภายในชุมชนให้พร้อมใช้งาน ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี และสาธิตการดับเพลิงเบื้องต้น
โครงการ LPG Safety ความรู้ดีๆ มีรอบถัง
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี พร้อมสาธิตการดับเพลิงเบื้องต้นในบางพื้นที่มีการทำความสะอาดเตา และเปลี่ยนสายปรับแรงดัน
  • เข้าร่วมกิจกรรม 85 ชุมชน (ในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย ลำปาง, พิษณุโลก, อุบลราชธานี และชลบุรี) ให้ความรู้ประชาชนรวม 405 คน พร้อมบำรุงรักษาเตาจำนวน 107 เตา
  • อบรมนักศึกษาและบุคลากรแผนกคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยอาชีวะศึกษาลำปาง จำนวน 210 คนพร้อมตรวจซ่อมบำรุงเตาจำนวน 35 เตา
การส่งเสริม/สนับสนุนการกีฬาสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับกีฬา (2567-2570)
  • สนับสนุนงบประมาณสำหรับจัดงานแข่งขันต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาไทย เช่น การสนับสนุน 3 สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 60,000,000 บาท (4 ปี ระหว่างปี 2567 – 2570)
  • มอบเงินรางวัลนักกีฬาจากสมาคมกีฬาคนพิการทางสมองแห่งประเทศไทย คว้าชัยพาราลิมปิกเกมส์ 2024 จำนวน 1,100,000 บาท และทีมนักกีฬารักบี้หญิงชนะเลิศอันดับที่ 3 การแข่งขันรักบี้ฟุตบอล 7 คน ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย เป็นตัวแทนทีมชาติไทยไปร่วมแข่งขันในรายการแข่งขันระดับนานาชาติ World Sevens Series Challenger 2025 จำนวน 500,000 บาท (2567)
การส่งเสริม/สนับสนุนความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน เช่น สุขภาพ การศึกษาบริจาคทุนโครงการเพื่อผู้ป่วยยากไร้ มูลนิธิรามาธิบดี และทุนจัดซื้อเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า อัตโนมัติ (AED) ให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ (2567)
  • สนับสนุนทุนโครงการเพื่อผู้ป่วยยากไร้ มูลนิธิรามาธิบดี จำนวน 40,000 บาท เพื่อรักษาผู้ป่วยที่ยากไร้ และสนับสนุนทุนจัดซื้อเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ติดตั้งให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ จำนวน 100,000 บาท
บริจาคทุนโครงการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (2567)
  • สนับสนุนทุนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าบริหารโครงการ ค่าจ้างครู และอื่น ๆ ของโครงการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในภาคเหนือ จำนวน 1,500,000 บาท
การให้ความรู้จากธุรกิจ แก่หน่วยงานภาคภาครัฐ สถาบันการศึกษาและชุมชนOR Academy x KKBS Sharing Session หัวข้อ เปิดเส้นทางธุรกิจสีเขียว กับ EV Station Pluz
  • วิทยากร OR บรรยายหัวข้อความรู้ให้นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โครงการ OR อาสาสานสุข ปีที่ 4
  • แบ่งปันข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricant ให้กับชุมชน ในบริเวณรอบสถานปฏิบัติการคลังของ OR ทั้ง 19 แห่งทั่วประเทศ และ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์ ทั่วประเทศ รวม 4,100 คัน ที่ช่วยสร้างระบบนิเวศสีเขียว ลดการก่อมลพิษ PM 2.5 มีผู้เข้าร่วมงานและได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับโออาร์ และการใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนอย่างปลอดภัยกว่า 6,000 คน อีกทั้งส่งมอบยางยืดเหยียดภายใต้โครงการจิตอาสาโออาร์ ยางห่วงใย ไอห่วงยูว์ให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุรอบพื้นที่ปฏิบัติการของโออาร์กว่า 3,800 เส้น นอกจากนี้ยังสร้างโอากาสเพิ่มรายได้ให้กับคนในพื้นที่รวมกว่า 680,000 บาท
โครงการ OR Seeding the Future
  • เป็นโครงการที่ดำเนินการเป็นปีที่ 8 เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชน การสร้างคุณค่าในสังคม และเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจของกลุ่ม OR และ ปตท. โดยในปีนี้เปิดโอกาสให้เยาวชนที่เป็นนิสิตนักศึกษาจากประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 50 คน เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมศักยภาพเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ที่จะเติบโตเป็นอนาคตที่สำคัญในการพัฒนาภูมิภาคอาเซียนต่อไป
การสนับสนุนชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติการของ ORกิจกรรมมอบถุงยังชีพและน้ำดื่มเพื่อผู้ประสบอุทกภัย
  • ความช่วยเหลือรวมทั้งปี 2567 ประกอบด้วย ถุุงยังชีพ 7,080 ถุง (ขั้นต่ำ 300 บาท/ถุง) น้ำดื่ม 22,328 ขวด ก๊าซหุงต้ม ปตท. 6,673 กิโลกรัม ถุง Big Bag 1,000 ถุง สินค้า Café Amazon และไทยเด็ด 66,000 บาท เครื่องดื่ม Café Amazon 1,000 แก้ว เครื่องใช้ไฟฟ้า 59,620 บาท บัตรเติมน้ำมัน 1,900,000 บาท เงินสนับสนุน 300,000 บาท ผ้าห่ม 56 ผืน ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง น่าน แพร่ พะเยา สุโขทัย บึงกาฬ หนองคาย ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา
  • มอบถุงยังชีพ OR จำนวน 250 ถุง และน้ำดื่มจำนวน 1,200 ขวด รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคมูลค่ากว่า 100,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านกาเสาะ ตำบลลำภู จัวหวัดนราธิวาส ซึ่งอยู่ใกล้เคียงโรงบรรจุก๊าซและ PTT Station
  • มอบถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ถุง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ณ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (สปท.)
  • มอบถุงยังชีพ 1,000 ถุง ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และก๊าซหุงต้ม ปตท. จำนวนกว่า 900 กิโลกรัม ให้แก่โรงครัวฝูงบิน 416 และโรงครัวสภากาชาดไทย เพื่อใช้ในการประกอบอหารช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
โครงการสานฝันเยาวชน
  • จัดการเรียนการสอนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ฝึกอาชีพและแนะนำการประกอบอาชีพ ในพื้นที่ศูนย์ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (OASYS) โดยใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กร และพนักงาน มาใช้ในการพัฒนาชุมชน ให้กับโรงเรียนคอตันคลอง 27 จำนวน 25 คน .โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนและบุคลากร ทางการศึกษามีความรู้เพื่อไปประกอบอาชีพได้ และมีความเข้าใจในธุรกิจของ OR ทราบถึงบริบทของอาชีพในพื้นที่ศูนย์ธุรกิจไลฟ์สไตล์ OASYS สนับสนุนการสร้างอาชีพเสริม และสร้างรายได้ให้กับโรงเรียนและชุมชน โดยในปี 2567 โรงเรียนและชุมชนเกิดรายได้กว่า 40,000 บาท
โครงการครัวบ้านสู่โรงงาน OASYS
  • จัดให้มีการสั่งอาหารจากครอบครัวของพนักงานและร้านค้าในชุมชนเข้ามาร่วมขายอาหารให้กับพนักงานผ่าน Line Application เพื่อบริหารจัดการโรงอาหารในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนสามารถลดขยะที่เกิดขึ้นจากการบริโภคและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยปัจจุบันมีการสั่งอาหารมูลค่าเดือนละ 150,000 บาท
การลดปริมาณขยะในชุมชนใกล้เคียงโครงการ Together รักษ์ แอทหนองกุง
  • ลดปริมาณขยะตลอด 4 ปีที่ดำเนินโครงการ ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบันได้รับความร่วมมือจากคนในใกล้เคียงคลังปิโตรเลียมขอนแก่น ทำให้มีเครือข่ายเข้าร่วมโครงการกว่า 700 ครัวเรือน ก่อให้เกิดกลุ่มสัมมาชีพ และมีรายได้จากการแยกขยะกว่า 400,000 บาท และบริหารจัดการขยะ (คัดแยก, เพิ่มมูลค่า) ได้กว่า 38.28 ตัน อีกทั้ง ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะภายในชุมชน ได้ถึง 40.79 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
Diversified (โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ)
การจัดหาวัตถุดิบจากชุมชนโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน
  • สนับสนุนเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟไทย ผ่านการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาทักษะการผลิตกาแฟคุณภาพตามมาตรฐาน ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน พร้อมเป็นตลาดรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลาในราคาที่เป็นธรรม สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชน โดยในปี 2567 OR ได้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร 2,576 ครัวเรือน สร้างมูลค่ากว่า 251 ล้านบาท และนับตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2558 ถึงปัจจุบัน บริษัทได้สนับสนุนการรับซื้อกาแฟสารจากเกษตรกรไทยรวมแล้วกว่า 7,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมมากกว่า 1,400 ล้านบาท สะท้อนความมุ่งมั่นในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ คทช. สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
  • ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพผู้ผลิตกาแฟ ควบคู่กับการพัฒนาการแปรรูปเมล็ดกาแฟให้มีมาตรฐาน พร้อมทั้งเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) และมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนให้พื้นที่ คทช. เป็นพื้นที่ต้นแบบในการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดมูลค่าสูงสุด ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
โครงการใช้ระบบวนเกษตรในการพัฒนาไร่กาแฟต้นแบบใน สปป. ลาว (Agroforestry Coffee Plantation)
  • การร่วมศึกษาและพัฒนาโครงการใช้ระบบวนเกษตร (Agroforestry) ในการพัฒนาไร่กาแฟต้นแบบให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟใน สปป. ลาว เพื่อขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต
การส่งเสริมการสร้างอาชีพกลุ่มเปราะบางและผู้ขาดโอกาสโครงการ Café Amazon for Chance (2561 – ปัจจุบัน)
  • จ้างและอบรมพนักงาน รวมเป็น 347 คนตั้งแต่เริ่มโครงการ ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้สูงอายุ 312 อัตรา 2) กลุ่มผู้พิการทางการได้ยิน 22 อัตรา 3) กลุ่มผู้พิการทางสติปัญญา 1 อัตรา 4) กลุ่มทหารพิการและครอบครัว 4 อัตรา และ 5) กลุ่มผู้พิการทางร่างกาย 6 อัตรา 6) กลุ่มผู้ถูกกระทำ/เยาวชนผู้ขาดโอกาส 2 อัตรา
  • เพิ่มจำนวนสาขาร้าน Café Amazon for Chance ที่มีการจ้างงานผู้ขาดโอกาส รวมเป็น 360 สาขาตั้งแต่เริ่มโครงการ
การสร้างช่องทางจำหน่ายสินค้าชุมชนการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
  • ความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพใหม่ ๆ จากความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น การยกระดับมาตรฐานการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน
โครงการไทยเด็ด (2561 – ปัจจุบัน)
  • สินค้าไทยเด็ดจาก 781 รายการ เพิ่มเป็น1,034 รายการ (ปี 2567 เพิ่มขึ้น 253 รายการ)
  • ชุมชนเข้าร่วมโครงการจาก 376 ราย 450 ราย (ปี 2567 เพิ่มขึ้น 74 รายการ)
  • ร้านไทยเด็ด(ร้านค้าไทยเด็ด,Kiosk,มุมสินค้า ทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมัน และในร้าน Cafe Amazon) จาก 325 แห่ง เพิ่มเป็น 424 แห่ง (ปี 2567 เพิ่มขึ้น 99 แห่ง)
  • รายได้ให้กับชุมชนจาก 102 ล้านบาท เพิ่มเป็น 166.07 ล้านบาท
  • (ปี 2567 เพิ่มขึ้น 64.07 ล้านบาท)
  • การขยายมุมไทยเด็ดในร้าน Café Amazon จำนวน 49 สาขา
  • ร่วมลงนามใน MOU กับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพิ่มรายได้ชุมชน
พื้นที่ปันสุข (2564 – ปัจจุบัน)
  • จำนวนสถานีบริการ PTT Station ที่เข้าร่วมเพิ่ม 41 สถานี รวมเป็นทั้งหมด 1,289 สถานีตั้งแต่เริ่มโครงการ
การพัฒนา/จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการ ส่งเสริมสุขภาพเมนูผสมนมข้าวโอ๊ต ในร้าน Café Amazon
  • จำหน่ายเมนูผสมนมข้าวโอ๊ต ณ ร้าน Café Amazon สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการดื่มนมเพื่อสุขภาพ และ Plant-based สำหรับผู้ที่แพ้นมวัว
การพัฒนาและสนับสนุนชุมชนFix it Center
  • สนับสนุนโครงการศูนย์ซ่อมเพื่อชุมชน โดยจิตอาสาในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในพื้นที่นั้นๆ อาทิเช่น จ.น่าน มีบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์ฟรี และที่ จ.เชียงราย สนับสนุนทีมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังวิกฤตน้ำท่วมภาคเหนือ
การพัฒนาและสนับสนุนวัฒนธรรมชุมชนโครงการค่ายเยาวชน OR อนุรักษ์ประเพณีตีก๋องปู่จานครลำปาง ประจำปี 2567
  • สนับสนุนการฝึกฝนทักษะความรู้ความสามารถในการตีก๋องปู่จาให้เด็กและเยาวชนให้แก่เยาวชนรวมจำนวน 137 คน จาก 13 อำเภอในจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยล้านนาที่มีคุณค่าและเสี่ยงเลือนหายไปตามกาลเวลา
การสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนโครงการ Amazing All Season ท่องเที่ยวยุคใหม่ วิถีไทยยั่งยืน
  • สนับสนุนการท่องเที่ยวท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกระจายรายได้แก่ชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การสนับสนุนการสร้างธุรกิจใหม่โครงการ TOGETHER – หนองยาง Herbal (2566-ปัจจุบัน)
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกิดเป็น 3 ผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมส่งเสริมและผลักดันให้เป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดลำปาง สร้างรายได้ให้แก่ 44,623 ชุมชน มูลค่า 70,050 บาท (เพิ่มขึ้นประมาณ 105 % เมื่อเทียบกับรายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ)
  • ผลิตภัณฑ์ 2 รายการได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าภายในโครงการไทยเด็ด
  • จัดอบรมพัฒนาศักยภาพชุมชน ส่งเสริมทักษะด้านการจำหน่ายสินค้าและการขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ให้แก่คณะทำงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองยาง Herbal Hub จำนวน 16 คน
โครงการ TOGETHER รักษ์ แอทท่าเสา
  • รวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาเชิงอนุรักษ์ พร้อมส่งเสริมผลักดันให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ สร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวม 22,150 บาท (ปี 2567)
  • กระจายความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาเศรษฐกิจในเชิงอนุรักษ์ รวมกว่า 200 คน (ปี 2567)
Green (โอกาสเพื่อสังคมสะอาด)
การให้ความรู้และส่งเสริมการบริหารจัดการขยะโครงการ แยก แลก ยิ้ม School Camp (2565 – ปัจจุบัน )

ข้อมูลรวม 2565-2567

  • จัดกิจกรรมค่ายอบรมด้านการบริหารจัดการขยะภายในโรงเรียนให้กับตัวแทนครูจาก 51 โรงเรียน (ครูรุ่น 1-2)
  • โรงเรียนที่เข้าร่วมทั้งหมดสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมไปได้ถึง 97 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเท่ากับการปลูกต้นไม้กว่า 10,000 ต้น (ตัวเลขประมาณการ)
โครงการแยก แลก ยิ้ม ของ PTT Station (ปี 2567)
  • จำนวนสถานีบริการ PTT Station ที่เข้าร่วมเพิ่ม 876 สถานี สร้างรายได้มากกว่า 1.4 ล้านบาท
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโครงการปลูกป่า 2 ล้านไร่ กลุ่ม ปตท.
  • OR ลงนาม MOU โครงการปลูกป่า 2 ล้านไร่ กลุ่ม ปตท. ระหว่างกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับกลุ่ม ปตท. โดยเป็นการผนึกกำลังของภาคภาครัฐและเอกชนเพื่อเพิ่มพูนพื้นที่ดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อีกด้วย
โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
  • สนับสนุนการจัดการอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าชุมชน รวม 8,100 ไร่ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มอาชีพให้ชุมชนในพื้นที่
โครงการจิตอาสาปลูกป่า พัฒนาชุมชนในพื้นที่ห่างไกลอย่างยั่งยืน
  • ปลูกป่าชายเลน ณ โรงเรียนธรรมชาติป่าชายเลน และบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคและเครื่องใช้สอยให้แก่ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนบ้านบ่อล่าง และสิ่งของเครื่องใช้ให้แก่โรงเรียนบ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
การส่งเสริมการลดใช้ทรัพยากรด้วยกระบวนการ Recycling และ Upcyclingโครงการเซฟโลก เซฟรถ เพื่ออนาคตน้อง ๆ
  • เปลี่ยนแกลลอนน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants ที่ใช้แล้วจากผู้ใช้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นภายในศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto นำไปผ่านกระบวนการ “อัพไซคลิ่ง (Upcycling)” ผลิตเป็นชุดโต๊ะเก้าอี้นักเรียน เพื่อมอบให้กับโรงเรียนในพื้นที่ขาดแคลน โดยปัจจุบันได้นำเดินการส่งมอบชุดโต๊ะเก้าอี้นักเรียนไปแล้ว จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านผานัง อำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนบ้านโตนดน้อย จ.เพชรบุรี, โรงเรียนวัดหลวงวิทยา จ.ลำปาง , โรงเรียนวัดพระเจ้านั่งแท่น จ.ลำปาง และโรงเรียนวัดลำพดจินดาราม จ.สงขลา โดยโครงการได้ใช้แกลลอนน้ำมันหล่อลื่นทั้งสิ้น 4,900 แกลลอน สามารถลดขยะพลาสติกได้ถึง 1,200 กิโลกรัม และ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,600 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์
โครงการ “บอกรักษ์เจ้าพระยา บอกลาขยะแม่น้ำ”
  • โครงการเก็บขยะในแม่น้ำและขยะริมตลิ่ง ที่ตำบลบางน้ำผึ้ง และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการคัดแยกขยะและการสร้างความตระหนักรู้ด้านการจัดการของเสียให้แก่ชุมชนและพนักงานคัดแยกขยะของ อบต.บางยอ โดยขยะที่ผ่านการคัดแยกแล้ว จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไชเคิลอย่างถูกต้อง และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling ร่วมกับ GC
การส่งเสริมการการใช้พลังงานสะอาดสำหรับการขนส่งโครงการ “Green Logistics” สำหรับขนส่งสินค้าประเภทเมล็ดกาแฟดิบ
  • โครงการทดลองการขนส่งเมล็ดกาแฟดิบโดยยานยนต์เชื้อเพลิงไฟฟ้าEV Truck โดยใช้เครือข่ายสถานีชาร์จ EV Station PluZ ของ OR ในเส้นทาง “Green Coffee Bean Route” เป็นเจ้าแรกของประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกิจกรรมการขนส่งสินค้า รวมทั้งเป็นการนำร่องโครงการตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โดยมีเส้นทางจากที่โกดังเก็บเมล็ดกาแฟ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มายังปลายทางโกดังเก็บเมล็ดกาแฟที่ศูนย์ธุรกิจไลฟ์สไตล์ Café Amazon (OASYS) อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมการลงทุนเพื่อสังคมปี 2567

การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมการลงทุนเพื่อสังคมปี 2567

        OR ได้แบ่งประเภทของกิจกรรมการลงทุนเพื่อสังคม และมีการเก็บข้อมูล งบประมาณในการลงทุนในกิจกรรมแต่ละประเภท โดยสรุปได้ ดังนี้

  • การบริจาคเพื่อการกุศล (Charitable Donations) 11.19 % หรือ 13.85 ล้านบาท
  • การลงทุนในชุมชน (Community Investments) 71.37 % หรือ 88.38 ล้านบาท
  • กิจกรรมเพื่อสังคมเชิงพาณิชย์ (Commercial Initiatives) 17.44% หรือ 21.60 ล้านบาท

โดยงบประมาณหรือมูลค่าการลงทุนเพื่อสังคมรอบสถานประกอบการที่ดำเนินการในปี 2567 มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เงินสนับสนุน (Cash Contributions) 23.66 % หรือ 7.82 ล้านบาท
  • จำนวนชั่วโมงจิตอาสา รวม 4,454 ชั่วโมง
  • กิจกรรม BOD Trip ทีมี session ของงาน CSR และเพิ่มเกี่ยวกับการช่วยเหลือในเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติการบริจาคหรือการสนับสนุนในรูปแบบสินค้าหรือบริการ (In-kind Contributions) 76.34 % หรือ 25.23 ล้านบาท
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ (Management Costs) 1.37 ล้านบาท
การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment : SROI)

           OR ได้ทำการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเปรียบเทียบมูลค่าทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินโครงการถึงความสามารถในการสร้างมูลค่าผลลัพธ์ทางสังคมเป็นมูลค่าทางการเงินเท่าใด โดยค่า SROI มากกว่า 1 แสดงว่าโครงการดังกล่าวเกิดผลประโยชน์แก่สังคมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน รวมถึงได้สร้างผลลัพธ์ที่คุ้มค่าแก้เป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ โดยในปี 2567 OR ได้มีการวิเคราะห์ผลจากโครงการ Together: รักษ์ แอท หนอง กุง เพิ่มเติมจากโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน และโครงการจัดหาเมล็ดกาแฟจากชุมชน โครงการ Café Amazon for Chance และโครงการแยก แลก ยิ้ม School Camp ผลการวิเคราะห์พบว่า

  • โครงการ Together รักษ์ แอท หนองกุง: ขับเคลื่อนโดยความร่วมมือกันของคนในชุมชน ผ่านแนวคิดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน บูรณาการร่วมกับแนวคิดการสร้างสัมมาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินการตามทรัพยากร ทุน และศักยภาพที่มีอยู่แล้วของชุมชนเป็นหลัก และไม่ขัดแย้งกับวิถีชีวิตประจำวัน อันจะนำมาซึ่งความยั่งยืน จิตอาสา ตลอดจนเกิดการถ่ายทอดขยายผลไปยังกลุ่มคนที่สนใจต่อไป มีค่า SROI เท่ากับ 1.77
  • โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน (Sustainable Coffee Project): ส่งเสริมและมุ่งเน้นให้ความรู้ พัฒนาทักษะการเพาะปลูกและแปรรูปเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ รวมถึงการเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟกะลาจากเกษตรกรในระบบราคาที่เป็นธรรม มีค่า SROI เท่ากับ 1.48
  • โครงการ Café Amazon for Chance: ขยายโอกาสและสร้างอาชีพ ด้วยการพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่ผู้ขาดโอกาสในกลุ่มต่างๆ เข้าทำงานในร้าน Cafe Amazon เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้เปราะบาง มีค่า SROI เท่ากับ 1.46 รวมถึงโครงการ Café Amazon for Chance ยังได้ร่วมมือกับโครงการไทยเด็ดและกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดอบรมวิชาชีพให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุทั่วไปโดยสอนการทำวัสดุตกแต่งกระเป๋าและนำมาวางขายที่ร้าน Café Amazon เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีอาชีพยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น รวมทั้งพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน
  • โครงการแยก แลก ยิ้ม School Camp: ปลูกฝังพฤติกรรมและสร้างความตระหนักรู้ด้านการจัดการขยะที่เหมาะสมแก่เยาวชน โดยใช้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เป็นส่วนหนึ่งในการวัดประสิทธิภาพ มีค่า SROI เท่ากับ 1.86

(อ่านเพิ่มเติมในบท Highlight: การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม Link: https://www.pttor.com/th/sustainability/sustainability_page/Highlight-Community-Development-and-Social-Collaboration