Highlight: การกำกับดูแล การบริหารจัดการความเสี่ยง และการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมาย

การขับเคลื่อนธุรกิจ

             ในสถานการณ์ปัจจุบัน มีหลากหลายปัจจัยที่อาจกลายเป็นความเสี่ยงในรูปแบบใหม่และอาจส่งผลให้เกิดเป็นข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป การกำกับดูแลกิจการที่ดีจึงมีความสำคัญ เพื่อรองรับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพขององค์กร
             OR ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแล การบริหารจัดการความเสี่ยง และการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมาย (Governance, Risk, and Compliance: GRC) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับเสริมสร้างรากฐานให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เนื่องจาก OR มีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย จึงกำหนดกลยุทธ์ OR SDG ในส่วน D-Diversified โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ (More Partners, Products and Services) ผ่านศักยภาพของ OR ที่จะเป็น Platform ในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุม พร้อมเติบโตไปด้วยกัน ได้แก่ ธุรกิจ Mobility ธุรกิจ Lifestyle กลุ่มธุรกิจ Global กลุ่มธุรกิจ Innovation ทุกธุรกิจมีความจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยหากปราศจากการกำกับดูแลที่ดีและเป็นระบบ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจทั้งในแง่ของผลกระทบทางการเงินและชื่อเสียง ดังนั้น OR จึงกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการที่ครอบคลุมทั้ง 3 ประเด็นของ GRC เพื่อเป็นกรอบในการกำกับดูแลกิจการที่ดีทั่วทั้งองค์กรและบริษัทในกลุ่ม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ประเด็นนี้สำคัญกับองค์กรของเรา (This is Our Giving Priority)

            OR ได้กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพของผู้บริหาร (CEO KPIs) เกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านการกำกับดูแล ความเสี่ยง และการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมาย (Governance, Risk, and Compliance: GRC) ผ่านตัวชี้วัดด้านความเป็นผู้นำ (Leadership KPIs) โดยการวัดความสามารถในการนำบริษัทฯ ให้ได้รับการยอมรับและเป็นที่ยอมรับในวงกว้างอย่างเป็นที่ประจักษ์ขององค์กรชั้นนำในประเทศไทยในการดำเนินงาน ครอบคลุมทั้ง GRC โดยมีสัดส่วนร้อยละ 10 จากเกณฑ์การประเมินเต็มร้อยละ 100

โอกาสและความท้าทาย

          การกำกับดูแล การบริหารจัดการความเสี่ยง และการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมาย เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร ทั้งในการดำเนินธุรกิจจากกรณีการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงาน และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อีกทั้งแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินการธุรกิจ จากความท้าทายในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

กลยุทธ์การดำเนินงาน

          มีกิจกรรมสำคัญในเรื่องของ GRC เช่น การกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารจัดการด้าน GRC เช่น กลุ่มงานการบริหารจัดการกิจการ, คณะกรรมการการปฏิบัติตามกฎระเบียบ, คณะกรรมการจัดการความเสี่ยง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนโยบายที่ดีเกี่ยวกับการบริหารจัดการกิจการที่ดี, การจัดการความเสี่ยง, การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ, การป้องกันฉ้อโกงและการทุจริต รวมถึงการรายงานเรื่องการทุจริตและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัท อีกทั้ง OR ยังพยายามรวมแนวคิดด้านการบริหารเข้าสู่การดำเนินการธุรกิจ โดยมุ่งหวังที่จะทำให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานปฏิบัติตามเป็นแนวทางเพื่อสนับสนุนบริษัทผ่านการบริหารจัดการกิจการที่ดี, การจัดการที่ยอดเยี่ยม, จรรยาบรรณธุรกิจ, ความโปร่งใส และความสามารถในการตรวจสอบได้

เป้าหมายระยะยาว

โครงการและผลการดำเนินงานที่โดดเด่น

การกำกับดูแล

             1. OR เข้าร่วมเป็นสมาชิก UNGC (United Nations Global Compact Membership)

             ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ซึ่งในปี 2567 OR ได้ดำเนินการรายงานความก้าวหน้า (Communication on Progress) เพื่อสื่อสารถึงผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลัก 10 ประการของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ตามข้อกำหนดแล้วเสร็จ โดยรายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ (Link: PTT Oil and Retail Business Public Company Limited | UN Global Compact

(The Declaration of Intent for Participation)

2. สื่อสารเรื่องที่ดีให้กับผู้ค้าของ OR ในงาน OR Supplier Day 2024

             เพื่อให้มั่นใจว่า OR มีห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน OR จึงจัดงาน OR Supplier Day 2024 ภายใต้แนวคิด Lean and Sustainable Procurement Era ให้กับบริษัทคู่ค้ากว่า 150 บริษัท เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 โดยภายในงานมีการสื่อความเจตนารมณ์ในการปฏิบัติงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานจริยธรรม และจรรยาบรรณทางธุรกิจของ OR ให้กับคู่ค้าเพื่อให้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของผู้ค้าอย่างเหมาะสม และดำเนินธุรกิจร่วมกับ OR อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเชิญชวนผู้ค้าเข้าร่วมโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Collective Action against Corruption: CAC) เพื่อสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันตลอดห่วงโซ่อุปทาน

3. การ Survey ภายในของพนักงาน

             ในปี 2567 OR ได้จัดทำแบบประเมินการรับรู้ด้าน CG & Anti-Corruption ของพนักงานเพื่อวัดระดับความรู้ความเข้าใจของพนักงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันขององค์กร เพื่อนำไปปรับปรุงมาตรการและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยแบบประเมินแบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน และการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานธรรมาภิบาลองค์กร โดยจากผลการประเมินพบว่าพนักงานร้อยละ 89 มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และร้อยละ 88 ของพนักงานมีความเห็นว่าหน่วยงานสามารถดำเนินงานได้อย่างดีเยี่ยมในการปฏิบัติงานและการสื่อความการกำกับดูแลกิจการที่ดีและต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันภายในองค์กร ที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ

การบริหารจัดการความเสี่ยง

          เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในให้กับผู้บริหารและพนักงานเพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นหัวข้อหนึ่งของหลักสูตรการอบรมพนักงานใหม่ (OR Orientation) ประจำปีด้วย OR จัดการฝึกอบรมเพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร (Compliance) โดยดำเนินการ ดังนี้

    • การให้ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงสำหรับบุคลากรในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารขึ้นไป ผ่านหลักสูตรอบรม Risk Management Program for Corporate Leader (RCL) ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors: IOD) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทและความรับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการด้านการบริหารความเสี่ยง
    • การอบรม Risk Management and Internal Control ให้พนักงานใหม่ เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในให้กับพนักงานนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • การอบรม Risk Management ให้กับทุกสายงานและหน่วยขึ้นตรง เพื่อใช้ในการจัดทำ Business Unit Risk / Project Risk / การวิเคราะห์ความเสี่ยงของหน่วยงาน / การจัดทำ Workflow Process and Process Control Plan
    • หลักสูตร Risk Management and Internal Control ผ่าน E-Learning เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับทั่วทั้งองค์กร

ตัวอย่างหลักสูตรอบรมด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ OR ดำเนินการเมื่อปี 2567

หลักสูตร

กลุ่มเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะจากการฝึกอบรม

Risk Management and Internal Control (Orientation)พนักงานเข้าใหม่ จำนวน 166 คนพนักงานใหม่มีความรู้ความเข้าใจ ในการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำงาน
Project Risk Managementหน่วยงานกลยุทธ์ของทุกสายงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจ และโครงการ ORion จำนวน 55 คนผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจใน การบริหารจัดการความเสี่ยงโครงการมากขึ้น
Risk Management and Internal Control (E-Learning)

ผู้บริหารและพนักงานทั่วทั้งองค์กร โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมแล้ว ดังนี้

  • Risk Management จำนวน 1,840 คน
  • Internal Control จำนวน 1,786 คน
ผู้บริหารและพนักงานมีความรู้ความเข้าใจใน การบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายในมากขึ้น

การดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมาย

         ในปี 2566 OR ได้จัดตั้งฝ่ายกฎหมายองค์กร (Corporate Legal Department) เพื่อให้บริการงานกฎหมายที่เกี่ยวกับบริษัท (Corporate Law) ให้แก่ OR และบริษัทในกลุ่ม OR อีกทั้งเป็นศูนย์กลางในการกำกับดูแลกฎระเบียบ (Compliance) รวบรวมกฎระเบียบ ประเมินความเสี่ยง สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ รายงานต่อผู้บริหารสูงสุดและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบงานแผนกลยุทธ์ และบริหารงานงบประมาณของหน่วยงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
         OR ได้รับการรับรองในฐานะการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่การยื่นขอรับรองครั้งแรกเดือนกรกฎาคม ปี 2566 โดย คณะกรรมการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Collective Action Against Corruption: CAC) รวมถึงเชิญชวนให้ผู้ค้ารวมถึงพันธมิตร เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่าย โครงการดังกล่าวอีกด้วย

รางวัลแห่งความสำเร็จ

         1.  OR ได้รับ 4 รางวัลในงาน 14th Asian Excellence Award 2024 ที่จัดขึ้นโดยนิตยสาร Corporate Governance Asia ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อยกย่องบุคคลหรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีธรรมาภิบาล พร้อมดูแลรับผิดชอบชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับดีเยี่ยม โดยรางวัลที่ได้รับได้แก่ Asia’s Best CEO, Asia’s Best CFO, Best Investor Relations Company และ Sustainable Asia Award

        2. ผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีระดับดีเลิศ (Excellence CG Scoring) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2567 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2024: CGR) ซึ่งมาจากการพิจารณา 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนได้เสียและการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

        3. OR ได้รับมอบโล่เกียรติคุณจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริตต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (2565 – 2567) เนื่องจากสนับสนุนกิจกรรมและการดำเนินงานด้านการต่อต้านการทุจริตของมูลนิธิฯ อย่างต่อเนื่องและแสดงออกถึง เจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส และต่อต้านการทุจริตในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม

           4. OR ได้เข้าพิธีรับรางวัลจากโครงการประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย ประจำปี 2567 (TCC Best Award) เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 โดยรางวัลดังกล่าวจัดขึ้นโดยหอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย เพื่อยกย่องเชิดชูองค์กรที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่น ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายต่อสาธารณะอย่างกว้างขวาง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ประกอบการ จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่า OR ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของหลักจรรยาบรรณ สอดคล้องกับเป้าหมายในการสร้างความน่าเชื่อถือในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสแก่ผู้มีส่วนได้เสีย