OR มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ “Empowering All Toward Inclusive Growth : OR เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน” ผ่านการกำหนดกรอบกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ (OR Strategic Framework) ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กรที่ครอบคลุมประเด็นใน 3 มิติ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสังคม (People) และมิติเศรษฐกิจ (Performance) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กรในปี 2573 หรือ OR 2030 Goals และตอบสนองเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจในการสร้างโอกาสในการเติบโตสู่ความสำเร็จ โอกาสในการเติบโตสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และโอกาสในการเติบโตร่วมไปกับสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ ตลอดจนการสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างสมดุล
OR กำหนดนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร ในการบรรลุเป้าหมายในด้านการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สร้างความตระหนักด้านความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ OR ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความร่วมมือสู่การดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Committee) ซึ่งมีผู้อำนวยการใหญ่ เป็นประธานกรรมการ และมีผู้บริหารจากทุกหน่วยธุรกิจ ครอบคลุมทุกขอบเขตงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฯ โดยคณะกรรมการฯ มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธ์ แผนธุรกิจ และแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืนของ OR และต้องสอดคล้องกับนโยบายของกลุ่ม ปตท. มาตรฐานด้านการบริหารความยั่งยืนองค์กรในระดับประเทศ และระดับสากล พิจารณาให้ความเห็นชอบและทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของ OR ผลักดันการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ความยั่งยืน พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานความยั่งยืนประจำปีของ OR รวมถึงรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ OR ต่อคณะกรรมการจัดการบริษัท (OR Management Committee: ORMC) และ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (OR Corporate Governance and Sustainability Committee: ORCGS) ทุก 3 เดือน นอกจากนี้ OR ได้มอบหมายให้ ฝ่ายบริหารความยั่งยืน และคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร
OR ได้มีการนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือแผนการพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ (United Nations) มาประกอบการจัดทำกลยุทธ์ SDG ในแบบฉบับของ OR หรือ OR SDG ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ จำนวน 9 หัวข้อหลัก ได้แก่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย OR 2030 Goals ดังนี้
ตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยการสร้างโอกาสและความเท่าเทียมพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของ สังคมและชุมชน
เป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนครอบคลุมทั้งในพื้นที่ธุรกิจ และชุมชนรอบพื้นที่ธุรกิจ > 17,000 ชุมชน หรือมากกว่า 12 ล้านชีวิต
Living Community |
|
---|---|
1. การพัฒนามาตรฐานการครองชีพและชุมชน (Living Standard and Community Development) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน |
|
2. สุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety) ดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมทางธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม |
|
3. การยอมรับจากสังคมให้ดำเนินธุรกิจ (Social License to Operate) เสริมสร้างความไว้วางใจจากสังคมและชุมชน ทำให้ได้รับการต้อนรับ ยอมรับและสนับสนุนแบรนด์ในการทำกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ |
|
การดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ ซึ่งสามารถสร้างการเติบโตของธุรกิจ อาชีพ และกระจายความมั่นคงสู่ผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ คู่ค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ประกอบการขนาดย่อม พนักงาน และชุมชน
เป้าหมายสร้างการเติบโต อาชีพ และกระจายความมั่งคั่งสู่คู่ค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ประกอบการขนาดย่อม พนักงาน > 1,000,000 ราย
Economic Prosperity |
|
---|---|
1. การกระจายความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) สร้างความมั่นคงและการเติบโตทางรายได้โดยการยกระดับเศรษฐกิจให้กับชุมชน สังคม ผ่านการกระจายรายได้ อาทิ การจ้างงาน การสนับสนุนสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ตลอดจนการพัฒนาแหล่งชุมชนให้เป็นพื้นที่สำคัญและน่าดึงดูดทางเศรษฐกิจ |
|
2. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับทุกคน (Innovation and Technology for All) ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย และสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม |
|
3. ความสามารถในการร่วมมือ (Collaborativeness) ส่งเสริมความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการเติบโตและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่ผู้คนในระบบนิเวศ |
|
การดำเนินธุรกิจโดยตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด และลดปริมาณขยะที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ เพิ่มปริมาณการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ได้มากกว่า 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2565
เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 (2030) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 (2050)
Healthy Environment |
|
---|---|
1. การลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission Reduction) |
|
2. การลดสัดส่วนการใช้พลังงานแบบดั้งเดิม (Conventional Fuel Use intensity) |
|
3. การลดปริมาณของเสียจากการดำเนินธุรกิจ (Waste Generation Reduction) |
|
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในบท:
OR ระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร เพื่อกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน และบูรณาการกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนในการดำเนินงานของทุกหน่วยธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักด้านความยั่งยืนให้แก่พนักงาน ผู้แทนจำหน่าย และคู่ค้า เป็นต้น
OR มีการทบทวน ระบุ และจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กรอีกครั้งในปี 2567 โดยพิจารณาทั้งแนวโน้มความยั่งยืนของโลก และผลกระทบที่ผู้มีส่วนได้เสียอาจจะได้รับจากกิจกรรมของ OR รวมถึงผลกระทบทางด้านการเงินของ OR จากประเด็นต่าง ๆ ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เพื่อนำมากำหนดแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืน พร้อมทั้งมีการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดของแต่ละประเด็นสำคัญ เพื่อเสนอผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารของทุกหน่วยธุรกิจเพื่อเสนอแนะประเด็นที่ควรปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทการประเมินประเด็นสำคัญ (OR’s Double Materiality)
https://www.pttor.com/th/sustainability/sustainability_page/Materiality-Assessment