การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ความสำคัญ

(GRI 3-3a., GRI 3-3b., GRI 3-3c., GRI 3-3e.)

                การดำเนินงานของผู้ค้าของ OR อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และชุมชนโดยรอบ ทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบ เนื่องจากลักษณะการประกอบธุรกิจของ OR ที่ครอบคลุมกิจกรรมธุรกิจที่หลากหลาย ทำให้ความเสี่ยงของผู้ค้าปรากฏในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ต้องทำงานร่วมกับผู้ค้าขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาจมีผลกระทบต่อชุมชนหากไม่มีมาตรฐานการขนส่งที่ปลอดภัย ในขณะที่กลุ่มธุรกิจ Café Amazon ต้องทำงานร่วมกับผู้ค้าเกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดกาแฟ อาจมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม หากมีการปลูกกาแฟที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ หรือผลกระทบทางบวกต่อการจ้างงานในพื้นที่ ผลกระทบดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดขึ้นจากกิจกรรมธุรกิจของ OR โดยตรง แต่ OR ตระหนักดีถึงบทบาทองค์กรในฐานะผู้ซื้อที่สามารถมีส่วนส่งเสริมความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน

                ดังนั้น OR จึงมุ่งส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน ผ่านการบูรณาการมาตรฐานการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Good Governance: ESG) เข้าสู่นโยบาย การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน OR ดำเนินการเพื่อมั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม

                นอกจากการส่งเสริมเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กรแล้ว OR ยังเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานในการส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการต่างๆ ภายใต้กลยุทธ์ “S – SMALL” ซึ่งเป็นหนึ่งในกรอบกลยุทธ์ SDG ของ OR

เป้าหมาย ปี 2567

แนวทางการบริหารจัดการ

(GRI 3-3c., GRI 3-3d., GRI 3-3e., GRI 3-3f., GRI 413-1)

นโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง

          OR ประกาศเจตนารมณ์ของบริษัทในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อย่างชัดเจน โดยมีการกำหนดนโยบายจัดซื้อจัดจ้างผนวกอยู่ในแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม OR ประจำปี 2567 (OR Group Way of Conduct 2024) รายละเอียดนโยบายจัดซื้อจัดจ้างประกาศในหน้า 68 ของแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม OR: คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม


แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า(Supplier Sustainable Code of Conduct)

        OR ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า OR (OR Suppliers Sustainable Code of Conduct) เพื่อระบุมาตรฐานในการทำงานที่ผู้ค้าของ OR ควรปฏิบัติตามตลอดการดำเนินธุรกิจ ทั้งในด้านจริยธรรมทางธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความปลอดภัย และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม OR สื่อสารรายละเอียดของแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้าให้แก่ผู้ค้าทุกราย ผ่านการส่งสารอิเล็กทรอนิกส์และการผนวกหัวข้อด้านแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนในการจัดการอบรมผู้ค้าประจำปี
        ปัจจุบัน OR ได้นำระบบ SAP Ariba มาใช้ในกระบวนการจัดหาและกระบวนการลงทะเบียนผู้ค้า ซึ่งผู้ค้าที่จะยื่นข้อเสนอ จะต้องดำเนินการอ่านและรับทราบแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า OR (OR Suppliers Sustainable code of conduct: SSCoC) ในขั้นตอนลงทะเบียนผู้ค้าของ OR ก่อนทุกราย จึงจะสามารถเข้าร่วมเสนอราคาได้

ดาวน์โหลดเอกสาร แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า OR (OR Supplier Sustainable Code of Conduct)

ทั้งนี้ ในปี 2567 ผู้ค้าทั้งหมดได้มีการลงนามรับรองแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า

กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Strategy: SCM Strategy)

          คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดทิศทางและกำกับดูแลกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้าน ESG ของผู้ค้า เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยกลยุทธ์การบริหารจัดการผู้ค้าประกอบด้วย 5 หลักการ ได้แก่

  • Perceptibility: มุ่งมั่นในการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและการรับรู้ของผู้ค้าในการปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง 
  • Cost Effectiveness: ส่งเสริมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความคุ้มค่า เหมาะสมกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับ
  • Centralized and Digitalized Approach: มุ่งเน้นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบรวมศูนย์ เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่มาตรฐานเดียวกันในทุกๆ ธุรกิจ รวมถึงการยกระดับการดำเนินงานระหว่างบริษัทและคู่ค้าให้เป็นระบบดิจิทัลมากขึ้น
  • ESG Risk Management: ควบคุมการดำเนินงานของคู่ค้าให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงในประเด็น ESG อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ
  • Standard of Service and Material: กำหนดมาตรฐานของคุณภาพผลิตภัณฑ์และการให้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้รับสินค้าและการบริการที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามความคาดหวังของบริษัท

        ทั้งนี้ OR ตระหนักดีว่าผู้ค้าจะไม่สามารถดำเนินการด้าน ESG ได้เลย หากไม่มีสภาพคล่องตัวทางการเงินเป็นขั้นพื้นฐาน OR จึงระบุระยะเวลาการชำระเงินไว้ใน TOR โดยระบุไว้ที่ไม่เกิน 30 วัน ภายหลังจากที่ OR ได้รับงาน สินค้า/บริการที่ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา และคณะกรรมการตรวจรับได้ตรวจรับมอบงานในแต่ละงวดเรียบร้อยแล้ว

ผลการดำเนินงานปี 2567 บรรลุเป้าหมาย ดังนี้

ภาพรวมการบริหารจัดการผู้ค้า

        ผู้ค้าของ OR แบ่งออกตาม 5 กลุ่มธุรกิจหลักของ OR ตาม Value Chain ซึ่งจากการวิเคราะห์ผู้ค้าที่มีการจัดซื้อจัดจ้างในปี 2566 พบว่า OR มีผู้ค้ารายตรง (Tier-1) ทั้งหมด 715 ราย รายละเอียดกลุ่มธุรกิจ ตัวอย่างผู้ค้าที่สำคัญ และมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้าง ปรากฎดังต่อไปนี้

กลุ่มธุรกิจ

ตัวอย่างผู้ค้าที่สำคัญ

มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้าง

(พันล้านบาท)

กลุ่มผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม
  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่สำคัญ เช่น Ethanol, Additive, น้ำมันเตา, น้ำมันใส, ก๊าซ LPG, น้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น
  • บริษัทขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

6,371.16

กลุ่มธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน (PTT Station)
  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ที่สำคัญ เช่น ตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมันใต้ดิน เป็นต้น
  • ผู้รับเหมาก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน
  • ผู้รับจ้างบริหารสถานีบริการน้ำมัน

41.55

กลุ่มธุรกิจ Lubricant
  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัตถุดิบหรืออุปกรณ์หลักที่สำคัญ เช่น Base Oil, Steel Drum, Additive, แกลลอนน้ำมันหล่อลื่น เป็นต้น

94.71

กลุ่มธุรกิจ LPG (ยกเว้น ก๊าซ LPG)
  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์หลักที่สำคัญ เช่น ถังก๊าซหุงต้ม (Cylinder), วาล์ว, ซีล เป็นต้น

61.55

กลุ่มธุรกิจ Café Amazon
  • เกษตรกร ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเมล็ดกาแฟดิบ
  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัตถุดิบหลักอื่น ๆ เช่น เครื่องชงกาแฟ นมข้นจืด นมข้นหวาน เป็นต้น
52.33

OR มีกระบวนการบริหารจัดการผู้ค้าของ OR ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่

          OR ได้ผนวกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) ตลอดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน  โดยกำหนดเกณฑ์ด้าน ESG เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารสัญญาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(OHS) การบริหารจัดการความเสี่ยงและสภาวะวิกฤต และการจัดการพลังงาน        

1. การคัดเลือกผู้ค้า (Supplier Screening)
          OR คัดเลือกผู้ค้าโดยพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล และประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องต่อธุรกิจ โดยในเบื้องต้น ผู้ค้าทุกรายที่จะขึ้นทะเบียนผู้ค้าของ OR (OR Approved Vendor List : OR AVL) ผู้ค้าจะต้องส่งเอกสารแสดงคุณสมบัติเบื้องต้น (Pre-Qualification : Pre-Q) ตามหลักเกณฑ์ที่ OR กำหนด เพื่อใช้ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ค้า ซึ่งครอบคลุมเกณฑ์การพิจารณาต่าง ๆ เช่น สถานะการจดทะเบียนบริษัท ฐานะทางการเงิน มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนถนโยบายและการจัดการด้านความยั่งยืน รวมถึงให้มีการทำแบบประเมินตนเองด้าน ESG (Supplier Self-Assessment Questionnaire : SAQ) ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น (Pre-Qualification : Pre-Q) ของผู้ค้า

          โดยคำถามในแบบประเมินตนเองด้าน ESG (SAQ) ประกอบด้วยคำถามที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน การกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงสิทธิมนุษยชน และประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องต่อธุรกิจ (Environmental, Social, Governance and business Relevant)  

          คณะกรรมการคัดเลือกผู้ค้าจะพิจารณาเอกสารแสดงคุณสมบัติเบื้องต้น (Pre-Q) และผลการประเมินตนเองด้าน ESG (SAQ) ของผู้ค้า และอาจมีการขอหลักฐานเอกสารเพิ่มเติม เช่น เอกสารรับรองระบบการจัดการด้านคุณภาพ (ISO9001) ด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (ISO 45001) เป็นต้น เพื่อตรวจสอบและยืนยันคุณสมบัติของผู้ค้า ทั้งนี้ในส่วนของผลการประเมินตนเองด้าน ESG ตามเอกสาร SAQ ผู้ค้าจะต้องได้คะแนนรวมมากกว่า 60% จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์และสามารถขึ้นทะเบียนผู้ค้าของ OR ได้ (Approved Vendor List: AVL) หากผู้ค้าได้คะแนนในส่วนของ ESG ไม่ถึง 60% ผู้ค้าจะมีโอกาสในการแก้ไขและปรับปรุง โดยสามารถขอคำแนะนำจากหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างของ OR ได้ ผู้ค้าสามารถดำเนินการแก้ไขและปรับปรุง เพื่อสมัครขึ้นทะเบียนผู้ค้า OR Approved Vendor List ครั้งถัดไป

          โดยผลการประเมินตนเองด้าน ESG จะถูกรวมเข้ากับเกณฑ์การประเมินด้านอื่น ๆ ในการคัดเลือกผู้ค้าต่อไป นอกจากนี้ผู้ค้าที่มีผลการประเมินการปฏิบัติงานที่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ อาจจะถูกถอดถอนออกจากทะเบียนผู้ค้า หรือยกเลิกสัญญา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าผู้ค้าที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับ OR มีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับข้อกำหนดและความคาดหวังของ OR
ดังนั้น ผู้ค้าที่มีผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่ดี มีโอกาสผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ทะเบียนผู้ค้าของ OR รวมถึง การทำสัญญาจ้างมากกว่า (เนื่องจากมีคะแนนด้าน ESG ที่ดีกว่า) แสดงให้เห็นว่า OR มีการคัดกรองและประเมินผู้ค้าทุกราย (100%) ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการทำสัญญา โดยใช้เกณฑ์ ESG ข้างต้น ทั้งนี้ผู้ค้าสามารถหารือร่วมกับ OR ในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ยังไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ค้าจะสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดของ OR

          ในปี 2567 จากผู้ค้ารายตรงทั้งหมด 715 ราย มีผู้ค้ารายสำคัญทั้งหมด 11 รายที่ได้จัดส่งแบบประเมินตนเองด้าน ESG คิดเป็นร้อยละ 100% ของผู้ค้ารายสำคัญทั้งหมด

            หลังจากที่ผู้ค้าได้ผ่านเกณฑ์ตามกระบวนการคัดกรองคุณสมบัติผู้ค้าในแต่ละกลุ่มงานที่ OR กำหนดและขึ้นทะเบียนใน Approved Vendor List ผู้ค้าจะได้รับสิทธิในการประมูลงานที่อยู่ในกลุ่มงานที่ประกาศใช้แล้ว

            โดยในขั้นตอนการประมูลงาน หน่วยงานภายใน OR ที่เป็นผู้จัดหาสินค้าสามารถเลือกใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ค้าโดยพิจารณาประเมินเกณฑ์ประสิทธิภาพต่อราคา (Price-Performance) ได้ ซึ่งอาจรวมถึงตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนที่อยู่นอกเหนือไปจากคุณสมบัติตามที่ OR กำหนดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น ระบบการบริหารจัดการแรงงานที่เคารพสิทธิแรงงาน แนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น และคำนวณออกเป็นคะแนนของผู้ค้า โดยสัดส่วนการใส่ประเด็นด้านความยั่งยืนนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน/ผลิตภัณฑ์และบริการที่ดำเนินการจัดหาตามประเด็นความสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ผู้ค้าที่มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเกณฑ์การพิจารณาด้านความยั่งยืนของ OR จะได้รับคะแนนในส่วนนี้ และมีโอกาสได้รับการคัดเลือกสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ค้ารายอื่นที่มีคะแนนด้านราคาใกล้เคียงกัน

 

2. การประเมินความเสี่ยงและการจัดกลุ่มผู้ค้า (Supplier Risk Assessment/Screening and Critical/ Significant Supplier Identification)

            OR จัดทำการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG และการจัดกลุ่มผู้ค้าอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาข้อมูลและแนวโน้มความเสี่ยงในระดับประเทศ อุตสาหกรรม และประเภทของวัตถุดิบ โดยประเด็นสำหรับการประเมินความเสี่ยงผู้ค้ามีดังนี้

            การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล และประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ (Business Relevance) โดยมีตัวอย่าง ดังนี้

Environment (E)
Social (S)
Governance (G)
ความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ
• การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs Emissions)
• มลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
• การจัดการพลังงาน (Energy Management)
• การจัดการน้ำและน้ำเสีย (Water and Wastewater Management)
• การจัดการของเสียและวัตถุอันตราย (Waste and Hazardous Materials Management)
• ผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศวิทยา (Ecological impact)
• การจัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืน (Sustainable Raw Material Sourcing)
• การหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ ตลอดวงจรชีวิต (Circular Product Life Cycle)
• การป้องกันและคุ้มครองการตัดไม้ทําลายป่า(Deforestation Prevention and Protection)
• สิทธิมนุษยชน (Human Rights)
• การบังคับใช้แรงงาน (Forced Labour)
• การใช้แรงงานเด็ก (Child Labour)
• ชั่วโมงการทํางานตามที่กฎหมายกำหนด (Working Hours)
• ค่าจ้างและสวัสดิการ(Wages and Benefits)
• การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม (Fair Treatment)
• ความหลากหลายทางสังคม และการไม่แบ่งแยก(Social Diversity and Inclusion)
• การไม่เลือกปฏิบัติ และความเท่าเทียมทางสังคม (Non-discrimination and Equality)
• อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety)
• ชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations)
• ความปลอดภัยจากอัคคีภัย (Fire Safety)
• สุขอนามัยอุตสาหกรรม (Industrial Hygiene)
• สวัสดิการและความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Welfare and Satisfaction)
• การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development)
• การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor Practices)
• การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement)
• การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน (Anti-corruption and Bribery Implementation)
• การแข่งขันที่เป็นธรรม (Fair Competition)
• กลไกการรายงานที่โปร่งใส (Transparent Reporting Mechanism)
• การส่งมอบผลิตภัณฑ์และ / หรือบริการ (ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ) Delivery of products and/or services (quality, efficiency, and performance)
  • การประเมินความสำคัญของผู้ค้า (Criticality/Business Relevance) ครอบคลุมปัจจัยดังต่อไปนี้
    1. ลักษณะสินค้าและการให้บริการผู้ค้า
    2. การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละกลุ่มสินค้าและการให้บริการ (High-volume Suppliers)
    3. ระดับความสำคัญของสินค้าและการให้บริการ (Critical Component Suppliers) และ
    4. ระดับความเสี่ยงของการเลือกใช้ผู้ค้าจำนวนน้อยราย (Non-substitutable Suppliers)

       

         OR ดำเนินการประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงระดับสากล ระดับประเทศ ความเสี่ยงในภาคธุรกิจ รวมถึงความเสี่ยงจากสินค้าและบริการ (Commodity) ที่เกิดจากสินค้าหรือการให้บริการของผู้ค้า โดยประเด็นความเสี่ยงต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้

    • ความเสี่ยงระดับสากล (Global Risk): ภาพรวมความเสี่ยงในปี 2567 ประกอบด้วย ความเสี่ยงจากความขัดแย้งระหว่างประเทศหรือสงครามส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาพลังงาน ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อที่จะนำไปสู่การปรับห่วงโซ่อุปทานและการค้าโลก รวมถึงการออกมาตรการกีดกันระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นและขยายมิติ และวิกฤตทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การขาดแคลนอาหารหรือการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ
    • ความเสี่ยงระดับประเทศ (Country Risk): ความเปราะบางจากหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นกดดันต่อการบริโภค นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ต่อเนื่อง ค่าเงินบาทผันผวนและแข็งค่าอย่างรวดเร็ว รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในประเทศไทย
    • ความเสี่ยงในภาคธุรกิจ (Sector Risk): OR พิจารณาความเสี่ยงในอุตสาหกรรมที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบใน 2 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจพลังงานและธุรกิจค้าปลีก ซึ่งความเสี่ยงหลักที่พบ ได้แก่ ราคาน้ำมันผันผวน ความเสี่ยงต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว
    • ความเสี่ยงจากประเภทของสินค้าและบริการ (Commodity): เมล็ดกาแฟดิบ เป็นวัตถุดิบหลักของธุรกิจ Café Amazon การขาดแคลนเมล็ดกาแฟดิบ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพที่รุนแรงขึ้น ถือเป็นความเสี่ยงหลักของธุรกิจ Café Amazon และทำให้มีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น OR จึงกำหนดกลยุทธ์ในการจัดหาเมล็ดกาแฟดิบจากหลากหลายช่องทาง รวมทั้งการขยายห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ไปยังต้นน้ำ เช่น โครงการ Amazon Park เพื่อรองรับการจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอในอนาคต (Secure Supply)

          OR มีการประเมินกลุ่มผู้ค้าที่มีความสำคัญ Strategic/Significant/Critical และกลุ่มผู้ค้าที่มีความเสี่ยงด้าน ESG (High-risk ESG) เป็นประจำทุกปี โดยครอบคลุมผู้ค้าสำคัญทางตรง (Strategic/Significant/Critical Tier 1 Supplier) และผู้ค้าสำคัญทางอ้อม (Critical Non-Tier Supplier) ซึ่งจากผลการประเมินดังกล่าวจะมีการแบ่งระดับความเสี่ยงผู้ค้าเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) Strategic/Significant/Critical Suppliers (2) Key Suppliers (3) Managed Suppliers และ (4) Routine Suppliers โดยมีแนวทางการจัดการกลุ่มผู้ค้าแต่ละกลุ่มดังนี้

ระดับการบริหารกลุ่มงานผู้ค้า

ความหมาย

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการ

เครื่องมือในการบริหารจัดการ

1. Strategic (Significant/Critical) Supplier

กลุ่มผู้ค้า/ผู้รับเหมาที่มีกิจกรรมการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงด้าน ESG สูง ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในระดับรุนแรงต่อผู้ค้าเองและ OR และขยายผลกระทบไปสู่ชุมชนโดยรอบ ซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อ OR ทั้งทางด้านธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กร

พัฒนาความสัมพันธ์และการดำเนินการทางธุรกิจในระยะยาว เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจร่วมกันและสร้างมูลค่าเพิ่ม

  • แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า (OR Supplier Sustainable Code of Conduct: SSCoC)
  • แบบสอบถามประเมินศักยภาพด้านความยั่งยืน (Sustainability Assessment Questionnaire: SAQ)
  • การตรวจประเมินศักยภาพการดำเนินงานของผู้ค้าด้านความยั่งยืน (Supplier ESG Audit)
  • บริหารจัดการตามแนวทางของขั้นตอนการควบคุมและประเมินผู้ค้า ( P-ปธบ.-1005)
  • การสนับสนุน เสริมสร้างความสัมพันธ์และร่วมพัฒนาศักยภาพคู่ค้า

2. Key Suppliers

กลุ่มผู้ค้าที่มีกิจกรรมการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ปานกลาง ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อ OR ทั้งในด้านธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กร

พัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยง รวมถึงรักษาระดับการแข่งขัน

  • แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า (OR Supplier Sustainable Code of Conduct: SSCoC)
  • บริหารจัดการตามแนวทางของขั้นตอนการควบคุมและประเมินผู้ค้า ( P-ปธบ.-1005)
  • การสนับสนุน และร่วมพัฒนาศักยภาพคู่ค้าด้าน ESG (แล้วแต่กรณี)

3. Managed Suppliers,

กลุ่มผู้ค้าที่มีกิจกรรมการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ต่ำ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ OR และส่งผลกระทบออกไปข้างนอกองค์กรได้ปานกลาง

รักษาความสัมพันธ์ตามผลการดำเนินงาน และมีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงตามความต้องการของผู้ค้า และติดตามผลการดำเนินงาน

แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า (OR Supplier Sustainable Code of Conduct: SSCoC)

  • บริหารจัดการตามแนวทางของขั้นตอนการควบคุมและประเมินผู้ค้า (P-ปธบ.-1005)

4. Routine Suppliers

กลุ่มผู้ค้าที่มีกิจกรรมการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ต่ำ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ OR และส่งผลกระทบออกไปข้างนอกองค์กรได้เล็กน้อย

รักษาความสัมพันธ์ตามผลการดำเนินงาน และมีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงตามความต้องการของผู้ค้า

แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า (OR Supplier Sustainable Code of Conduct: SSCoC)

  • บริหารจัดการตามแนวทางของขั้นตอนการควบคุมและประเมินผู้ค้า (P-ปธบ.-1005)

        OR ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG และจัดระดับความสำคัญของผู้ค้า พบว่ามีผู้ค้าสำคัญ (Strategic/Significant/Critical Supplier) 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.30 ของงบจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด ในส่วนของผู้ค้าสำคัญทางอ้อม (Significant Non Tier-1 Suppliers) มีทั้งหมด 1 ราย (นับเฉพาะที่อยู่ใน PTT Group) เมื่อนำมารวมกับผู้ค้าสำคัญรายตรง 11 ราย เท่ากับมีผู้ค้าสำคัญ ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 12 ราย

3. การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลของผู้ค้า (ESG Audit)

        OR กำหนดให้ผู้ค้าที่ดำเนินการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในสัญญาหลักของ OR ทุกราย จะต้องผ่านการประเมินศักยภาพการบริหารงานการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทุกปี
        โดยผู้ค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้ค้าสำคัญ (Strategic/Significant/Critical Supplier) ทุกราย จะได้รับการประเมินศักยภาพการดำเนินงานของผู้ค้าด้านความยั่งยืนทุก ๆ 3 ปี เพื่อตรวจสอบการดำเนินการที่สอดคล้องกับ SSCoC การตรวจประเมินการดำเนินตาม “OR Supplier ESG Assessment Protocol” ซึ่งอ้างอิงมาตรฐาน ESG ระดับสากล ได้แก่ SMETA ISO9001 ISO14001 ISO45001 และ SA8000 รวมถึงหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) โดยครอบคลุมการดำเนินงานของผู้ค้าด้าน ESG ต่าง ๆ เช่น ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น โดยการตรวจประเมินผลการดำเนินงานของผู้ค้าประกอบด้วยการประเมิน 5 แบบ ดังนี้

  • Self  Assessment : การประเมินผู้ค้าโดยให้ผู้ค้ามีการทำแบบประเมินตนเอง โดยจะมีการให้แนบหลักฐานต่าง ๆ ที่สำคัญมาด้วย โดยจะใช้สำหรับผู้ค้าสำคัญ (Strategic/Significant) ทุกราย
  • Desk Assessment: การประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลสาธารณะ และการประเมินเอกสารต่าง ๆ ของผู้ค้า ใช้สำหรับผู้ค้าสำคัญ (Strategic/Significant) ทุกราย
  • Online Assessment (2nd Party) : การตรวจประเมินผ่านการสัมภาษณ์ออนไลน์ โดยที่ปรึกษา หน่วยงานตรวจประเมินภายนอก หรือโดยหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างของ OR ใช้สำหรับผู้ค้าสำคัญ (Strategic/Significant) ทุกราย
  • Onsite Assessment (2nd Party): การตรวจประเมินในพื้นที่ดำเนินการโดยที่ปรึกษา  หน่วยงานตรวจประเมินภายนอก หรือโดยหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างของ OR ใช้สำหรับผู้ค้าสำคัญ (Strategic/Significant) ทุกราย โดยเฉพาะผู้ค้าที่มีความเสี่ยง ESG สูง
  • Onsite Assessment (3rd Party): การตรวจประเมินโดยพิจารณาจากเอกสาร หรือ หลักฐานการได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลจากหน่วยงานให้การรับรองผู้ค้าสำคัญ ตัวอย่างปรากฏดังต่อไปนี้

ตัวอย่างใบรับรองจากหน่วยงานที่สาม

การประเมิน ESG ของผู้ค้า OR มีการกำหนดเกณฑ์แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้: 

  • ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Business Governance): มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 34 ประกอบด้วย การจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน มาตรฐานด้านคุณภาพ การปฏิบัติตามกฎหมาย จรรยาบรรณธุรกิจ การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน และการจัดการความเสี่ยง 
  • ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment): มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 31 ประกอบด้วย การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco-efficiency) 
  • ด้านสังคม (Social): มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 35 ประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) สุขภาพและความปลอดภัย การป้องกันและรับมือต่อภาวะฉุกเฉิน การจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์ และการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน

          หากพบข้อบกพร่องจากการตรวจประเมินผู้ค้า หน่วยงานผู้จัดซื้อจัดจ้างจะแจ้งผลไปยังผู้ค้าให้กำหนดแผนแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงการทำงาน (corrective action/improvement plan) โดยให้ผู้ค้าระบุมาตรการในการแก้ไข และป้องกัน ข้อบกพร่องที่พบ รวมถึงกำหนดกรอบระยะเวลาที่ดำเนินการให้แล้วเสร็จ

        ในต้นปี 2567 ได้มีการประเมินความสำคัญผู้ค้าที่มีการจัดซื้อจัดจ้างในปี 2566 พบว่ามีผู้ค้ารายสำคัญ (Strategic/Significant/Critical Supplier) ทั้งหมด 11 ราย และได้เข้าร่วมการตรวจประเมินทั้งหมด 9 ราย โดยอีก 2 รายที่เหลือ ได้รับการตรวจประเมินแล้วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผลการตรวจประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ผู้ค้าทั้ง 2 ราย ไม่ต้องเข้ารับการตรวจประเมินทุกปีตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการผู้ค้าของ OR ดังนั้น ผู้ค้าสำคัญทั้งหมด 11 ราย ได้ผ่านการประเมินด้านความยั่งยืน คิดเป็นร้อยละ 100% ของผู้ค้ารายสำคัญทั้งหมด ตรงตามเป้าหมาย

ดัชนีชี้วัด

(KPI)

เป้าหมาย 2567

ผลการดำเนินงาน 2567

ร้อยละของผู้ค้าสำคัญที่ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG Supplier Audit) ในรอบปีที่ผ่านมา โดยรวมทั้งการประเมินแบบการทวนสอบเอกสาร การสัมภาษณ์ออนไลน์ การลงพื้นที่ตรวจสอบ (Onsite) โดยหน่วยงานภายใน (2nd party) พร้อมทั้งพิจารณาหลักฐานการได้รับการับรองมาตรฐานระดับสากลจากหน่วยงานให้การรับรองที่เป็นอิสระ (3rd party)

100%

100%

ร้อยละของผู้ค้าที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG Risk Assessment) ในรอบสามปีที่ผ่านมา

100%

100%

             ทั้งนี้ การประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของผู้ค้าที่มีการจัดซื้อจัดจ้างในปี 2566 ได้มีดำเนินการตรวจประเมินทั้งแบบ Online และ On-site ในปี 2567 จากการประเมินพบว่าผู้ค้า 1 ราย มีความเสี่ยงหรือผลกระทบด้าน ESG ที่สำคัญ โดยมีประเด็นหลักที่พบมีดังนี้

ประเด็นข้อบกพร่องหลักที่พบ

ข้อเสนอแนะ

สิทธิมนุษยชน (Human Rights)

•    ควรมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน การสื่อสารนโยบาย และกำหนดมาตรการจัดการ

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management)

•    ควรดำเนินงานบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001 หรือการรับรองอื่น ๆ ที่เทียบเท่า

•    ควรมีการกำหนดดัชนีวัดผลนำ (Leading Indicator) และดัชนีวัดผลตาม (Lagging Indicator) ด้านสิ่งแวดล้อม และมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

          ทั้งนี้ OR มีการประสานภายในอย่างเป็นระบบเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ค้ารับทราบผลการตรวจประเมิน และได้รับคำแนะนำแนวทางแก้ไขข้อบกพร่อง รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ดยมีการเปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในเรื่องของ ESG ซึ่งรวมถึงการนำแนวปฏิบัติที่ดีที่พบจากการศึกษามาเป็นส่วนหนึ่งของการให้คำปรึกษาและมีการสื่อสารให้ผู้ค้ารับทราบด้วยเช่นกัน 

          ในปี 2567 OR ได้สื่อสารแจ้งข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และสนับสนุนผู้ค้า 1 ราย ในการดำเนินการตามแผนแก้ไขข้อบกพร่อง คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้ค้าที่พบความเสี่ยงหรือผลกระทบด้าน ESG ได้มีการจัดทำแผนแก้ไข

          ผลจากการตรวจประเมินผู้ค้าด้าน ESG มีรายละเอียด ดังนี้

ผู้ค้า

ผลลัพธ์

Strategic (Significant)/ Critical Supplier

•  การสื่อสารผลการตรวจประเมินกับให้กับผู้ค้าครบถ้วน 100%

• ประเด็นปัญหาด้าน ESG ที่ถูกตรวจพบ มีการหารือร่วมกันและได้รับการปรับปรุงแก้ไขครบถ้วน 100%

• ไม่พบผู้ค้าที่ถูกยกเลิกสัญญาจากผลการตรวจประเมินด้าน ESG

            นอกจากการติดตามผลการดำเนินงานด้าน ESG ของผู้ค้ารายสำคัญ (Strategic/Significant/Critical Supplier) แล้ว OR มีการกำหนดการตรวจประเมินการบริหารงานของผู้ขนส่งทางรถบรรทุกและทางเรือเป็นประจำทุกปี

            โดยการตรวจประเมินทางรถบรรทุกใช้หลักเกณฑ์ PTT Group Road Safety Management Guideline สำหรับการตรวจทางเรือใช้หลักเกณฑ์ Tanker Management and Self Assessment (TMSA) ซึ่งในหัวข้อตรวจประเมินจะประกอบด้วยการบริหารงานด้าน QSHE ด้วย โดยในการตรวจประเมินจะมีการสรุปผลสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขและข้อเสนอแนะให้กับผู้ขนส่งที่ได้รับการตรวจประเมินทราบเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพตามแนวทางที่กำหนด

4. การสร้างความสัมพันธ์และการพัฒนาผู้ค้า (Supplier Retention and Development)

          OR สนับสนุนผู้ค้าในการพัฒนาการดำเนินการด้านความยั่งยืน และมุ่งรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ค้า สำหรับผู้ค้าที่พบว่ามีข้อบกพร่องจากการตรวจประเมิน จะได้รับการสื่อสารให้ผู้ค้าวางแผนการแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงการทำงาน โดย OR ให้การสนับสนุนแก่ผู้ค้าในการดำเนินการตามความเหมาะสม ทั้งนี้ได้มีการสื่อสาร จัดกิจกรรม และริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ค้าทุกรายสามารถเข้าถึงโอกาสในการยกระดับการดำเนินงานด้าน ESG เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์และพัฒนาผู้ค้าหลากหลายโครงการ อาทิ การจัดสัมมนาผู้ค้าประจำปี การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ค้า โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ค้าในแต่ละธุรกิจ เป็นต้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในส่วนของ ผลการดำเนินงาน

5. ติดตามผลการแก้ไข (Corrective Action Monitoring)

          OR ติดตามผลการแก้ไขของผู้ค้า โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบจะกำหนดและติดตามให้ผู้ค้าแจ้งความก้าวหน้าของการแก้ไขและปรับปรุงประเด็นที่พบจากการตรวจประเมินทุก 3 เดือน และรายงานผลการแก้ไขในที่ประชุมทบทวนการจัดการของหน่วยงาน และมีการรายงานต่อผู้บริหารและคณะกรรมการในระดับต่าง ๆ ต่อไป

โดยประเด็นที่พบจากการตรวจประเมินด้าน ESG ที่ได้มีการแจ้ง และหารือประเด็นดังกล่าว ร่วมกับผู้ค้าเพื่อให้ผู้ค้าจัดทำแนวทางในการป้องกันแก้ไข ดังนี้

เกณฑ์
ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข
ตัวอย่างแนวทางการปรับปรุงก้ไข
ด้านธุรกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ระบบการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management systems : BCM)
• ยังไม่พบการนำระบบการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) และแนวปฏิบัติในการวางแผนและป้องกันการหยุดชะงักทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีผู้ขายรายใดประสบปัญหาการหยุดชะงักทางธุรกิจ
• จัดทำแผนและแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการหยุดชะงักทางธุรกิจ
• วางแผนในการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจและขอรับการรับรองในอนาคต
ด้านสิ่งแวดล้อม
• ยังไม่พบการกำหนดเป้าหมายหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดของเสียที่เกิดจากการดำเนินงาน รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงาน
• กำหนดเป้าหมายโครงการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการใช้พลังงาน และกำหนดการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ
ด้านสังคม
สิทธิมนุษยชน
• ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
• ไม่มีมาตรการในการแก้ไข ลดความเสี่ยง หรือบรรเทาผลกระทบ/ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
• ศึกษาและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
• กำหนดมาตรการแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงหรือบรรเทาผลกระทบ/ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

         ทั้งนี้ ในปี 2567 ผู้ค้ารายสำคัญทุกรายได้ดำเนินการตามแผนการแก้ไขแล้วเสร็จ และไม่มีความเสี่ยงจากคู่ค้าที่ต้องยกเลิกสัญญาอันเนื่องมาจากความเสี่ยงหรือผลกระทบด้าน ESG

6. การรายงานผลการดำเนินงาน (Performance Reporting)

          การดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินการและการทบทวนกลยุทธ์ เป็นประจำทุกปีต่อผู้บริหารและคณะกรรมการ (Board of Director) สำหรับในระดับผู้บริหาร มีการรายงานต่อ CEO ผ่านคณะกรรมการบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของบริษัทในกลุ่ม OR (OR Group Quality, Safety, Health and Environment Management Committee: OR QSHE GMC) และ คณะกรรมการบริหารของ OR (OR Management Committee: ORMC) ตามลำดับ สำหรับในระดับคณะกรรมการ มีการรายงานต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ OR (OR Corporate Governance and Sustainability Committee: ORCGS) และคณะกรรมการบริหารความร่วมมือการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Committee : SD Committee) นอกจากนี้ อาจมีการนำเสนอไว้ในรายงาน ความยั่งยืนประจำปี หรือ Website ของบริษัท

ผลการดำเนินงาน (Performance)

โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ค้าในแต่ละธุรกิจ

1) การจัดสัมมนาผู้ค้าประจำปี OR Supplier day 2024

           OR จัดสัมมนาผู้ค้าประจำปีเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ สื่อสาร กลยุทธ์และนโยบายของ OR ให้แก่ผู้ค้า โดยเฉพาะด้านกลยุทธ์การจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนของบริษัท แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และสถานการณ์การตลาดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อความ ข่าวสาร และนโยบายภาครัฐต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของทั้ง OR และผู้ค้า  นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารของ OR รับทราบปัญหาและข้อเสนอแนะจากผู้ค้าโดยตรง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานของ OR ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการทำธุรกิจร่วมกันในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

โดยในปีนี้งานสัมมนาได้ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 ภายใต้แนวคิด Lean and Sustainable Procurement เพื่อให้ผู้ค้าเข้าใจถึงนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และรับทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ OR ซึ่งมีการนำระบบ SAP Ariba มาใช้ เพื่อติดต่อธุรกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการจัดหา กับผู้ค้า มีการให้ความรู้ด้านความยั่งยืน รวมถึง การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นให้กับผู้ค้าได้รับทราบ โดยมีผู้ค้าเข้าร่วมงานมากกว่า 150 บริษัท

นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารแนวคิดกระบวนการจัดหาแบบใหม่ของ OR ตามแนวคิด Sustainable, Lean, and Procurement (SLP) 

  • S: Sustainable มุ่งเน้นให้กระบวนการจัดหาเป็นกระบวนการที่ยั่งยืนทั้งในด้านการกำกับดูที่ดี มีความเป็นธรรม โปร่งใส และเปิดโอกาสให้ผู้ค้าทุกรายเข้าแข่งขันในการเสนอราคา ตลอดจนมุ่งเน้นการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกมิติ
  • L: Lean มุ่งเน้นให้กระบวนการจัดหา มีความคล่องตัวในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและตอบสนองต่อความเปลี่ยนของพฤติกรรมของผู้บริโภคและสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • P: Procurement กระบวนการจัดหาของ OR ให้ความสำคัญทั้งในมิติของ ความยั่งยืน และ ความคล่องตัวในการดำเนินงาน

2)       การส่งเสริมศักยภาพด้านความปลอดภัยของผู้ค้าขนส่งผลิตภัณฑ์ส่งปิโตรเลียม

           OR มุ่งเน้นเสริมสร้างศักยภาพด้านความปลอดภัยตลอดกระบวนการขนส่ง ผ่านการอบรมผู้ค้าด้านการจัดส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอย่างปลอดภัย ตามมาตรฐานและกฎหมาย และการสนับสนุนให้ผู้ค้าขนส่งทุกรายติดตั้งและใช้เทคโนโลยีระบบตรวจติดตามพฤติกรรมผู้ขับรถขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (In-Vehicle Monitoring System: IVMS) เทคโนโลยี IVMS จะบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถขนส่ง และใช้ในการควบคุม กำกับ ดูแลการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพื่อให้ OR มั่นใจว่าผู้ค้าทุกรายปฏิบัติการขนส่งโดยสอดคล้องกับความคาดหวังด้านมาตรฐานและความปลอดภัยในการขนส่ง (อ่านเพิ่มเติมบทอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) (Link: https://www.pttor.com/en/sustainability/sustainability_page/Occupational-Health-and-Safety)

           ในปี 2567 คณะทำงานพัฒนาความปลอดภัยด้านการจัดส่งและขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้สุ่มตรวจการดำเนินงานของผู้ขนส่ง เช่น การสุ่มตรวจสอบการทำงานศูนย์ควบคุม IVMS ของผู้ขนส่ง การตรวจสอบการทำงานของผู้ประสานงาน การสัมภาษณ์พนักงานขับรถ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง OR และ ผู้ขนส่ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การดำเนินงานของผู้ขนส่งเป็นไปตามมาตรฐานและนโยบายด้านความปลอดภัยของ OR

           ในด้านการส่งเสริมองค์ความรู้ OR ได้จัดทำโครงการควบคุมและยกระดับมาตรการความปลอดภัย สำหรับเส้นทางเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุร่วมกับผู้ขนส่ง มุ่งเน้นให้ผู้ขนส่งเข้าใจการประเมินความเสี่ยง รวมถึงการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุระหว่างเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังส่งเสริมด้านมาตรฐานรถขนส่งผ่านการพัฒนาแนวทางการตรวจสภาพรถก่อนเข้าสัญญาด้วยผู้จัดการสภาพรถ ให้ความรู้ผ่านสื่อการสอนที่ OR จัดเตรียมและติดตามรายเดือนเพื่อให้รถบรรทุกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีความสอดคล้องกับมาตรฐานตามที่ OR และกฎหมายกำหนด

            ในศักยภาพด้านการบริหารงานขนส่งอย่างปลอดภัย OR มีการตรวจประเมินการบริหารงานของผู้ขนส่ง ตามแนวทาง PTT Group Road Safety Management Guideline ณ พื้นที่สำนักงานและฟลีทขนส่งของผู้ขนส่ง โดยแจ้งสิ่งที่ตรวจพบ พร้อมให้ข้อแนะนำแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงพัฒนา และได้นำผลการประเมินศักยภาพการบริหารงานขนส่ง  วิเคราะห์ประเมินจุดแข็งและจุดที่สามารถปรับปรุงพัฒนาของผู้ขนส่ง ทำการสื่อความ workshop แลกเปลี่ยนความรู้และ Best Practice Sharing ระหว่างกลุ่มผู้ขนส่งที่มีจุดแข็งในแต่ละด้านของ PTT Group Road Safety Management Guideline (5 Pillars) เพื่อเติมเต็มความรู้และพัฒนาแนวปฏิบัติในการบริหารงานขนส่งของผู้ขนส่ง รวมทั้ง OR ด้วย

3) งานสัมมนาสื่อความผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ประจำปี 2567

         OR ได้มีการจัดงานสัมมนาสื่อความผู้ขนส่งผลิตปิโตรเลียมและสินค้าอื่น ประจำปี 2567 เพื่อสื่อความนโยบายและทิศทางเป้าหมายของ OR สร้างความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้ค้ากับ OR รวมทั้งทำการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงรณรงค์เรื่องการปฏิบัติงานขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอย่างปลอดภัย ผ่านการจัดกิจกรรม workshop โครงการยกระดับมาตรการความปลอดภัยสำหรับเส้นทางเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และการนำเสนอ Best Practice Sharing ในการบริหารการขนส่งตามแนวทาง PTT Group Road Safety Management Guideline 

         รวมถึงมีการมอบรางวัลแก่ผู้ขนส่ง ที่มีผลการประเมินการปฏิบัติงานขนส่งเป็นเลิศ ประจำปี 2566 เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพและศักยภาพการบริหารงานขนส่งของผู้ขนส่ง เพื่อส่งเสริมและผลักดัน ให้ผู้ขนส่งมุ่งมั่นพัฒนาและรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานขนส่งตามข้อกำหนดและสัญญาจ้าง รวมทั้งการขนส่งอย่างปลอดภัย

          OR ได้ร่วมกับกลุ่ม ปตท. และร่วมกับสมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (IESG) มอบรางวัลให้กับบริษัทผู้รับจ้างขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและพนักงานขับรถขนส่ง ที่มีผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการขนส่งดีเยี่ยม เพื่อเป็นการส่งเสริม สร้างแรงผลักดันและกระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นด้านความปลอดภัยในการขนส่งผลิตภัณฑ์ อันเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีในต่อสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาคัดเลือกจากผู้รับจ้างขนส่งและพนักงานขับรถที่ขนส่ง โดยไม่เกิดอุบัติเหตุขั้นร้ายแรง และไม่มีข้อร้องเรียนหรือการปฏิบัติผิดกฎหมาย/สัญญา รวมทั้งพิจารณาสถิติการขนส่งและพฤติกรรมการขับขี่จากระบบ IVMS โดยในปี 2567 มีผู้รับจ้างขนส่งจำนวน 3 ราย และพนักงานขับรถจำนวน  18 ราย ที่ได้รับรางวัล

4) งานสัมมนาผู้ค้าและคู่ค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ประจำปี 2567

         OR ได้จัดงานสัมมนาผู้ค้าและคู่ค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ประจำปี 2567 ขึ้นในวันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2567 ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีตัวแทนจากผู้ค้าและคู่ค้าจำนวน 9 บริษัทในกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ที่ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซ LPG และยางมะตอย รวมทั้งสิ้น 61 คน

        งานสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านพลังงาน ภาพรวมของอุปสงค์ – อุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และสถานการณ์ตลาดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อความข่าวสารและนโยบายภาครัฐต่างๆ ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของทั้ง OR ผู้ค้า และคู่ค้าฯ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารของ OR ได้รับทราบข้อมูล ประเด็นต่างๆ และข้อเสนอแนะจากผู้ค้าและคู่ค้าฯ โดยตรง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานของ OR ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งจะเป็นการสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจและเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกันในอนาคต ทั้งนี้ยังมีการจัดกิจกรรม CSR ปั้นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีและยิงเมล็ดพันธุ์ ณ วนอุทยานเขานางพันธุรัต จ.เพชรบุรี ซึ่งถือเป็นการสร้างความตระหนักและส่งเสริมการทำประโยชน์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ค้าและคู่ค้า อีกทั้ง OR ยังได้มีการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือ (Partnership) กับผู้ค้าในกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันในการนำความต้องการของลูกค้า (Voice of customer) มาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน

        นอกจากนี้ในปี 2567 เกิดความร่วมมือระหว่าง OR และโรงกลั่นในกลุ่ม ปตท. ผนึกกำลังผสานจุดแข็งร่วมกันเพื่อยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่การเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน ในกลุ่ม ปตท. และร่วมผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ส่งผลให้ตอบสนองความต้องการของตลาดในด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในครั้งนี้ OR ในฐานะผู้นำการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานของไทย มุ่งมั่นที่จะแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกับโรงกลั่นในกลุ่ม ปตท. เพื่อศึกษาและผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้สายการบินทั้งในประเทศและสายการบินระหว่างประเทศได้ใช้ SAF เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ของประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2608 และยังเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานของ ICAO และ IATA ในอนาคต

5) การจัดทำคู่มือ/แนวปฏิบัติที่ดี ในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของผู้ค้า OR (OR’s ESG Best Practices Manual for Suppliers)

        OR ได้จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติที่ดีในแต่ละธุรกิจ เพื่อให้ผู้ค้าใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของผู้ค้าในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะมีตัวอย่างของแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) รวมถึงข้อมูลเชิงเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งผู้ค้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้ดียิ่งขึ้น

6) การให้ความรู้ด้าน Carbon Footprint & Carbon Credit ให้กับผู้ค้า

        OR ได้มีการแชร์องค์ความรู้เรื่อง Carbon footprint & Carbon Credit ให้กับบริษัทผู้ค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีการขนส่งทั้งทางบกและทางทะเล รวมถึงมีธุรกิจอื่น ๆ ในเครืออีกมากมาย ซึ่ง OR ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืน และให้ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณ การเก็บข้อมูล และการจัดทำรายงานข้อมูล Carbon footprint ขององค์กร การซื้อขายคาร์บอนเครดิต โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) รวมถึงตอบข้อสงสัย และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกัน ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ค้าสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้และพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนได้ดียิ่งขึ้น

7) โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน (Sustainable Coffee Project)

        OR ได้ตั้งเป้าหมายในการยกระดับมาตรฐานในการทำงานและมาตรฐานในการปลูกและการผลิตกาแฟของเกษตรกรให้เป็นไปตามมาตรฐาน Café Amazon Standard โดย OR ได้นำมาตรฐานดังกล่าวไปปรับใช้กับเกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการพัฒนาปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนในพื้นที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟอะราบิกาและโรบัสตา

        จากความตั้งใจและมีเป้าหมายสำคัญในการขยายผลองค์ความรู้ด้านการทำงานพัฒนาการปลูกและการผลิต
        กาแฟร่วมกับภาคีเครือข่ายในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ปี 2557 ที่ริเริ่ม MOU ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงสู่พื้นที่ที่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ และสนใจจะปลูกกาแฟยังขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนพร้อมทั้งช่วยให้ได้ผลผลิตกาแฟ ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเข้าสู่โรงคั่วกาแฟคาเฟ่อเมซอนควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติทั้งระบบดินและน้ำ อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่มั่งคงในการรับซื้อเมล็ดกาแฟด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนสอดคล้องกับค่าครองชีพ (living wage) และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีการวางแผนที่จะขยายโครงการนำร่องนี้สู่พื้นที่อื่น ๆ ที่ยังขาดโอกาสและที่ยังไม่มีหน่วยงานใด ๆ เข้าไปช่วยเหลือ 

        OR มีการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2567 โดย OR ได้สนับสนุนการรับซื้อผลผลิตกาแฟสารจากบ้านผาลั้ง ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 92 ราย เป็นมูลค่า 67.2 ล้านบาท บนพื้นที่ปลูกกาแฟอะราบิกากว่า1,200 ไร่ สนับสนุนการรับซื้อผลผลิตกาแฟสารบ้านปางขอน ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง มีเกษตรกรเข้าร่วม 74 ราย เป็นมูลค่า 89 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 1,400 ไร่ และสนับสนุนการรับซื้อผลผลิตการกาแฟสารจากพื้นที่บ้านสามสูง บ้านห้วยหมาก บ้านห้วยหยวก บ้านอาโต่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรเข้าร่วม 99 ราย บนพื้นที่กว่า 1,900 ไร่ เป็นมูลค่า 54.8 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการสร้างรายได้ให้ทั้ง 3 พื้นที่รวมกว่า 211 ล้านบาท

        ในปี 2567 OR ได้ขยายผลองค์ความรู้และพื้นที่ดำเนินงานโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ผ่านการทำความร่วมมือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ครอบคลุมพื้นที่กว่า 100 ไร่ ณ ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟตำบลท่าผาโดยมีเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่ม 42 ราย ซึ่งในฤดูกาลแปรรูปกาแฟ ปี 2566-2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีแรกของการทำงานร่วมกับโครงการฯ OR ได้สนับสนุนการรับซื้อผลผลิตเดิมจากเกษตรกรและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในกลุ่มกาแฟตำบลท่าผาคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 60,000 บาท และนอกจากนั้นยังมีความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรขุนกูน ในพื้นที่บ้านปางยาง และบ้านขุนกูน ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่ม 50 ราย โดยเน้นการจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาจริง และส่งเสริมการปลูกกาแฟควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมมอบโรงเพาะกล้า โรงตากกาแฟ และระบบท่อน้ำเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟให้แก่เกษตรกร โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการปลูกในพื้นที่เป้าหมายกว่า 100 ไร่

        โดยในปี 2567 เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ Café Amazon ให้เป็นธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืน OR ให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งต้นจากการสร้างองค์ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีมาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาด จนถึง OR รับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรรายย่อยด้วยราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) มีการจัดตั้งจุดรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลาจากเกษตรกรรายย่อยตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมยังได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาความรู้ให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกโดย OR ได้จัดทำ หลักสูตรการอบรมมีทั้งหลักสูตรพื้นฐานและหลักสูตรเฉพาะทางที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ครอบคลุมตั้งแต่การเพาะเมล็ดกาแฟ การปลูกกล้ากาแฟ การดูแลจัดการแปลงปลูก การจัดการโรคและแมลง การแปรรูปกาแฟในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับตลาด รวมถึงหลักสูตรอื่น ๆ ตามสภาพปัญหาจริงที่เกษตรกร พบเจอในการปลูกและผลิตกาแฟ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกรในการปลุกกาแฟได้อย่างยั่งยืนต่อไป

กลุ่มกาแฟตำบลท่าผา โดย นายไพศาล วิรามอำไพ (ประธานกลุ่ม)
จุดรับซื้อกาแฟโดยตรงจากเกษตรกร และโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ คาเฟ่อเมซอน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
การเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนในองค์กร  

OR จัดอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้ตรวจประเมินศักยภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของผู้ค้า (ESG Supplier Auditor)”

         เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความยั่งยืนให้กับบุคลากร และสามารถเป็นผู้ตรวจประเมินศักยภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของผู้ค้า (ESG Supplier Auditor) ให้กับหน่วยงาน หรือ OR ในอนาคต ซึ่งกระบวนการตรวจประเมินผู้ค้าด้านความยั่งยืน (ESG Supplier Audit)  ที่ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และการกำกับดูแลและเศรษฐกิจ (Governance & Economics) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการผู้ค้าอย่างยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2567 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่สำคัญ หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงหน่วยงานด้านความยั่งยืน เข้าร่วมทั้งหมด 39 ท่าน

การตรวจสอบข้อมูลโดยหน่วยงานภายนอก (Third Party Verification)

         ในปี 2567 OR ได้รับการทวนสอบข้อมูลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในเรื่องจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยผู้ตรวจสอบภายนอก (การรับรองความเชื่อมั่นของข้อมูล (Assurance Statement))
         กระบวนการบริหารจัดการคู่ค้าด้าน ESG ดังกล่าว ได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงสอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขององค์กร และการดำเนินการงานผู้ค้าสอดคล้องกับแนวปฏิบัติภายใต้แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืน ของผู้ค้า (OR SSCoC) และข้อปฏิบัติด้าน ESG ที่ OR กำหนดไว้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง