OR มีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องต่อพันธกิจ 4 ข้อ ได้แก่ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Mobility) การมุ่งมั่นสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ (All Lifestyles) การขยายฐานธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จและการยอมรับในตลาดโลก (Global Market) ผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนและต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจในปัจจุบัน และแสวงหาโอกาสธุรกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัล (OR Innovation) โดยมีธุรกิจหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ Mobility กลุ่มธุรกิจ Lifestyle กลุ่มธุรกิจ Global และกลุ่มธุรกิจ OR Innovation ประกอบด้วยกิจกรรมในกลุ่มธุรกิจ Mobility คือ ให้บริการด้านพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Mobility) ผ่านการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจพลังงาน ทั้งในส่วนของพลังงานรูปแบบเดิม (Fossil-Based) ได้แก่ การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมผ่านการตลาดค้าปลีก ธุรกิจเอนเนอร์ยี่โซลูชัน และธุรกิจหล่อลื่น มีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เชื้อเพลิงอากาศยาน น้ำมันเตาสำหรับเรือขนส่งและภาคอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและให้บริการด้านพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด (New Energy-Based) ได้แก่ การสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จ EV Station PluZ พร้อมทั้งพัฒนารูปแบบ Physical Platform ที่มีความหลายหลากเพื่อรอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคในทุกสถานที่ สำหรับกลุ่มธุรกิจ Lifestyle ได้แก่ ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านค้าปลีกด้านสินค้าสุขภาพและความงาม รวมถึงธุรกิจการบริหารจัดการพื้นที่ในสถานีบริการน้ำมัน และกลุ่มธุรกิจ Global ได้ดำเนินการทั้งธุรกิจ Mobility และธุรกิจ Lifestyle ผ่านบริษัทย่อยซึ่งจัดตั้งในต่างประเทศ อีกทั้ง OR มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัล สร้างโอกาสใหม่ และเติบโตอย่างยั่งยืนในธุรกิจ Mobility และ Lifestyle นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มงานสนับสนุนการดำเนินธุรกิจหลักของ OR ประกอบด้วย พื้นที่ปฏิบัติงานสนับสนุน เช่น สถาบันพัฒนาศักยภาพผู้นำและธุรกิจ (OR Academy) ศูนย์ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (OASYS) โครงสร้างสนับสนุนทางการเงิน โครงสร้างสนับสนุนด้านเทคโนโลยีดิจิตอล และโครงสร้างสนับสนุนด้านบุคลากรและศักยภาพองค์กร โดยแต่ละกิจกรรมมีความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียหลักของ OR ทั้ง 6 กลุ่ม ดังนี้
ห่วงโซ่คุณค่าของ OR | ผู้มีส่วนได้เสียหลักและความเกี่ยวข้องกับกิจกรรม |
---|---|
![]() การจัดหาวัตถุดิบ | • ประเทศ: หน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่มีบทบาทในการกำกับดูแล อนุมัติ อนุญาต • ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน: ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นิติบุคคล และสถาบันที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ • คู่ค้า: ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ • สังคมและชุมชน: ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ |
![]() การขนส่ง | • ประเทศ: หน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่มีบทบาทในการกำกับดูแล อนุมัติ อนุญาต • คู่ค้า: ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ • สังคมและชุมชน: ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการขนส่ง |
![]() การผลิตและบริการ | • ประเทศ: หน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่มีบทบาทในการกำกับดูแล อนุมัติ อนุญาต • ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน: ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นิติบุคคล และสถาบันที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ • พนักงาน: พนักงานโออาร์ และพนักงานที่ว่าจ้างผ่านบริษัทภายนอกที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของโออาร์ • คู่ค้า: ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ • สังคมและชุมชน: ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ |
![]() การส่งมอบสินค้าและบริการ | • ประเทศ: หน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่มีบทบาทในการกำกับดูแล อนุมัติ อนุญาต • ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน: ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นิติบุคคล และสถาบันที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ • คู่ค้า: ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ • ลูกค้า: ตัวแทนจำหน่าย ผู้ที่ได้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ และผู้บริโภค • สังคมและชุมชน: ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการส่งมอบสินค้าและบริการ |
![]() การร่วมลงทุน | • ประเทศ: หน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่มีบทบาทในการกำกับดูแล อนุมัติ อนุญาต • ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน: ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นิติบุคคล และสถาบันที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ • คู่ค้า: บริษัทร่วมกิจการค้า พันธมิตรทางธุรกิจ • ลูกค้า: ตัวแทนจำหน่าย ผู้ที่ได้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ และผู้บริโภค • สังคมและชุมชน: ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ |
![]() กิจกรรมสนับสนุน | • ประเทศ: หน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่มีบทบาทในการกำกับดูแล อนุมัติ อนุญาต • ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน: ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นิติบุคคล และสถาบันที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ • พนักงาน: พนักงานโออาร์ และพนักงานที่ว่าจ้างผ่านบริษัทภายนอกที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของโออาร์ • คู่ค้า: บริษัทร่วมกิจการค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ และผู้รับเหมา • ลูกค้า: ตัวแทนจำหน่าย ผู้ที่ได้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ และผู้บริโภค • สังคมและชุมชน: ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ |
หมายเหตุ:
1 ก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปตท. ขนส่งผ่านระบบท่อมาที่คลังก๊าซเขาบ่อยา และคลังก๊าซบ้านโรงโป๊ะ ก่อนที่จะขนส่งต่อทางรถยนต์ เรือ รถไฟ ไปที่คลังปลายทาง โดยก๊าซ LPG ส่วนใหญ่มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ แต่มีการรับก๊าซ LPG เพิ่มเติมจากโรงกลั่นน้ำมันด้วย
2 ถังก๊าซหุงต้มทุกขนาด เมื่อครบกำหนดเวลาการทดสอบตามกฎหมายหรือมีสภาพชำรุด จะถูกส่งกลับไปที่โรงบรรจุ จากนั้นจึงส่งต่อไปที่โรงซ่อมถังก๊าซหุงต้ม เพื่อทดสอบและซ่อมบำรุงตามมาตรฐาน มอก. 151 ก่อนนำกลับมาบรรจุก๊าซหุงต้มสำหรับจำหน่ายอีกครั้ง
OR สร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของโอกาสและระดับของความสัมพันธ์ ทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และลดผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นสำหรับทุกฝ่าย โดยกำหนดแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งประกอบด้วย
จากกรอบนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน ที่มุ่งเน้นการรักษาสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ OR จึงพัฒนาคู่มือปฏิบัติการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement Guideline) และได้กำหนดแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่มีประสิทธิภาพ และโดยอ้างอิงจากมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard ของ Accountability ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่ในการระบุและจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตนเอง และดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามการจัดลำดับความสำคัญและประเด็นข้อกังวล/ความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานให้แก่ฝ่ายบริหารความยั่งยืน และคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยสามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังต่อไปนี้
ประเทศ | ||
---|---|---|
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม | ประเด็นข้อกังวลและความคาดหวัง | แนวทางการดำเนินการเพื่อตอบสนองประเด็นข้อกังวล หรือ ความคาดหวัง |
• การสัมมนา และการประชุมตามวาระ • จัดทำรายงานผลการดำเนินงานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่หน่วยงานภาครัฐตามกฎหมาย • สนับสนุนและให้ความร่วมมือ • จัดทำข้อมูลสรุปผลการดำเนินโครงการ | • การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบและตอบสนองต่อนโยบายรัฐ • การมีส่วนร่วมในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ • ร่วมมือกับภาครัฐในการสนับสนุนนโยบายและแคมเปญต่าง ๆ | • ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด • นำนโยบายของภาครัฐมาประกอบการจัดทำกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจ • สื่อสารกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติ ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย • การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสถานประกอบการอื่น • สนับสนุนนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของ รัฐบาล • ร่วมกับภาครัฐในการจัดทำโครงการต่างๆ เช่น โครงการ FIT Auto Tune up ที่ช่วยลดฝุ่น PM2.5 ผ่านการมอบส่วนลดสินค้าและให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ฟรีแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ รวมถึงโครงการพื้นที่ปันสุข ที่ให้เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่ายที่สถานีบริการ PTT Station ตลอดจนโครงการคลินิกโอบอ้อม ที่ให้บริการด้านสุขภาพและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข |
ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน | ||
---|---|---|
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม | ประเด็นข้อกังวลและความคาดหวัง | แนวทางการดำเนินการเพื่อตอบสนองประเด็นข้อกังวล หรือ ความคาดหวัง |
• การประชุม • การเปิดเผยข้อมูลผ่านรายงานประจำปี • ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียนผ่านศูนย์บริหารคำสั่งซื้อและลูกค้าสัมพันธ์ Contact Center 1365 และ Website | • การกำกับดูแลกิจการที่ดี • การดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและผลตอบแทนที่คุ้มค่า | • การปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี • การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย • การเผยแพร่แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 One Report) และรายงานความยั่งยืน |
• การปรับตัวทางธุรกิจต่อความท้าทายและความผันผวนและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง • การดำเนินธุรกิจที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานในอนาคต | • นำหลัก ESG มาประกอบการจัดทำกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร • การแสวงหาโอกาสใหม่ทางด้าน EV Ecosystem, ขยายจำนวนสถานีชาร์จ EV Station PluZ และการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน |
คู่ค้า | ||
---|---|---|
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม | ประเด็นข้อกังวลและความคาดหวัง | แนวทางการดำเนินการเพื่อตอบสนองประเด็นข้อกังวล หรือ ความคาดหวัง |
• การประชุม การสัมมนา การเข้าพบ เยี่ยมชม และตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติงานของคู่ค้าตามกำหนด • การจัดอบรมให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ OR • มีช่องทางรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียน • การประเมินความพึงพอใจของคู่ค้าประจำปี | • การดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างราบรื่นเป็นธรรม มีมาตรฐาน และมีหลักเกณฑ์การดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าที่ชัดเจน | • มีกระบวนการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และเท่าเทียม พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคัดเลือกคู่ค้าตามนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี |
• การพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า ทั้งด้านธุรกิจและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน | • การจัดอบรมเพิ่มความรู้ให้แก่คู่ค้า | |
• พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์/บริการและลดความกังวลของเกษตรถึงความต่อเนื่องในการจัดซื้อผลผลิตทางการเกษตรในการดำเนินธุรกิจของ OR | • ให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรในด้านการเพาะปลูก การผลิต และการจำหน่าย เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรมีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดด้านมาตรฐานของ OR และสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจร่วมกันได้อย่างยั่งยืน |
สังคมและชุมชน | ||
---|---|---|
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม | ประเด็นข้อกังวลและความคาดหวัง | แนวทางการดำเนินการเพื่อตอบสนองประเด็นข้อกังวล หรือ ความคาดหวัง |
• การประเมินความพึงพอใจของชุมชน • ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียน ผ่านศูนย์บริหารคำสั่งซื้อและลูกค้าสัมพันธ์ Contact Center 1365 และ Website • การลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น • การสร้างคุณค่าร่วม CSV • การสื่อสารข้อมูล และข้อเท็จจริง | • การร่วมพัฒนาชุมชน การส่งเสริมธุรกิจชุมชน การสร้างอาชีพ และรายได้ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น | • ส่งเสริมรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่สร้างการมีส่วนร่วมกับสังคมชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนในลักษณะของการสร้างคุณค่าร่วม (CSV) เช่น โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน |
• การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสังคมชุมชน | • ตรวจติดตามพัฒนาปรับปรุงกระบวนการให้มีผลกระทบน้อยที่สุด เช่น การติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (VRU) การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม • พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันกลุ่มเบนซินและดีเซล ที่ได้มาตรฐาน Euro 5 ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยลดการเกิดฝุ่น PM 2.5 | |
• การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมทั้งด้านความผิดปกติของร่างกาย ระดับรายได้ กลุ่มเปราะบาง และความแตกต่างทางเพศหรือวัย | • สร้างความเท่าเทียมในสังคม ผ่านร้าน Café Amazon for Chance ที่ให้โอกาสผู้ขาดโอกาสทางสังคม โดยพัฒนาทักษะการเป็นบาริสต้าหรือพนักงานภายในร้าน Café Amazon | |
• การดำเนินธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนสังคม รวมถึงมีช่องทางติดต่อประสานงาน และแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว | • ควบคุมการปฏิบัติการ โดยมีมาตรฐานการจัดการที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนสังคม • มีการติดตามผลการดำเนินงาน และปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง • มีช่องทางติดต่อประสานงาน และแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว | |
• การสื่อสารข้อมูลและข้อเท็จจริงอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และครบถ้วน | • สื่อการและประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าว และข้อเท็จจริง อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และครบถ้วน และจรรยาบรรณในการโฆษณาผลิตภัณฑ์และบริการ |
ลูกค้า | ||
---|---|---|
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม | ประเด็นข้อกังวลและความคาดหวัง | แนวทางการดำเนินการเพื่อตอบสนองประเด็นข้อกังวล หรือ ความคาดหวัง |
• การจัดสัมมนา การจัด Road Show • การติดต่อลูกค้า • การสำรวจความพึงพอใจ • การให้บริการและความช่วยเหลือ • ช่องทางการรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียนผ่านศูนย์บริหารคำสั่งซื้อและลูกค้าสัมพันธ์ Contact Center 1365 • การโปรโมตแอปพลิเคชัน และจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงลูกค้า | • การส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน และปลอดภัย • การบริหารจัดการประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของ OR • การใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ที่มีความซับซ้อน | • พัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับการส่งมอบและการให้บริการลูกค้าในด้านต่าง ๆ อย่างครบวงจร • กระบวนการ Quality Assurance (QA) และ Coaching เพื่อควบคุมคุณภาพการให้บริการของพนักงาน • การรับฟัง Customer Feedback และดำเนินการปรับปรุง พัฒนา สินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการ • การจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน และนำเสนอสินค้าที่มีความหลากหลาย |
พนักงาน | ||
---|---|---|
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม | ประเด็นข้อกังวลและความคาดหวัง | แนวทางการดำเนินการเพื่อตอบสนองประเด็นข้อกังวล หรือ ความคาดหวัง |
• พัฒนาความรู้ ทักษะความชำนาญ และประสบการณ์ • สื่อสารข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ • การจัดกิจกรรม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน เช่น งานสัมมนาประจำปีของพนักงาน • สำรวจความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Survey) และระดับการยึดมั่นในวัฒนธรรมองค์กร (OR DNA) | • พนักงานมีทักษะความรู้ความชำนาญต่อการดำเนินธุรกิจ และมีจำนวนเพียงพอรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจ • การวางแนวทางและโอกาสในการเติบโต ความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงาน | • พัฒนาความรู้ ทักษะความชำนาญ และประสบการณ์ของพนักงานเพื่อสร้างศักยภาพ/ทักษะความชำนาญของพนักงานให้สอดรับกับทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร |
• การปลูกฝังให้พนักงานมีความภาคภูมิใจต่อองค์กร และพร้อมที่จะเติบโตไปกับองค์กรอย่างยั่งยืน | • ดำเนินการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร OR DNA มุ่งสนับสนุนให้พนักงานมีแรงบันดาลใจและเป็นเจ้าของความสำเร็จร่วมกัน | |
• การจัดให้มีสวัสดิการที่ตอบสนองตรงตามความต้องการ | • ดำเนินการจัดรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมทั้งการใช้เทคโนโลยี พื้นที่ทำงาน ปรับปรุงอุปกรณ์ และการออกแบบวิถีการทำงานแบบใหม่ เช่น Flexi Time, Work from Home, Virtual Meeting เป็นต้น • ดำเนินการจัดให้มีสวัสดิการที่ตอบสนองตรงตามความต้องการ | |
• การมีสภาพแวดล้อมพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน | • ดำเนินการตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานที่พื้นที่ที่มีความเสี่ยง |
ทั้งนี้ OR มีการรายงานผลการดำเนินการกิจกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมของบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ต่อคณะกรรมการบริหารความร่วมมือการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (OR SD Committee) ที่จัดประชุมทุก 3 เดือน เพื่อหารือและเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น