ภาคธุรกิจเผชิญกับความคาดหวังด้านสิทธิมนุษยชนที่ทวีคูณขึ้น โดยเฉพาะจากการพัฒนาด้านกฎหมายและมาตรฐานต่าง ๆ รอบโลก เช่น กฎหมายห่วงโซ่อุปทานของสหภาพยุโรป (EU Corporate Sustainability Due Diligence Directive: CSDDD) ซึ่งกำหนดให้ธุรกิจที่มีการดำเนินการในสหภาพยุโรปตรวจสอบผลกระทบต่อสังคมและสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการพัฒนาภายในประเทศไทย ซึ่งได้ออกแผนปฏิบัติการด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนระยะที่ 2 ในช่วงกลางปี 2566
OR ตระหนักดีว่ากิจกรรมของบริษัทและของผู้ค้าบริษัทอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตของบุคคลหลายกลุ่ม เช่น สิทธิด้านแรงงานของพนักงาน สิทธิด้านมาตรฐานครองชีพของชุมชนในพื้นที่ดำเนินการ จนถึงสิทธิด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของผู้บริโภค เป็นต้น ในฐานะธุรกิจที่มีกิจกรรมครอบคลุมหลากหลายประเทศ และมีการทำธุรกิจกับลูกค้าในสหภาพยุโรป OR จึงจำเป็นต้องจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างครบถ้วนเพื่อมั่นใจว่าองค์กรมีความพร้อมในการตอบสนองกฎหมายดังกล่าว และไม่สร้างผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทั้งนี้ OR ร่วมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานสากล และคำนึงอยู่เสมอว่าพนักงานทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียม โดยจะต้องมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและมีช่องทางในการร้องเรียนหากได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง
นโยบายสิทธิมนุษยชน
OR มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยได้ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนในปี 2565 ซึ่งยึดแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับตราสารสิทธิมนุษยชนสากลระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายท้องถิ่นของประเทศที่ OR เข้าไปดำเนินธุรกิจ รวมถึงมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนระดับสากลอื่น ๆ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights: UNDHR) และอนุสัญญาหลักด้านสิทธิแรงงาน ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization Conventions: ILO Conventions) เป็นต้น อีกทั้งมีความมุ่งเน้นการความเท่าเทียม ไม่แบ่งแยก โดยเคารพความแตกแต่งทางเพศ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือสถานะอื่น ๆ รวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่พนักงานพึงได้รับ ต่อต้านการจ้างแรงงานเด็ก แรงงานผิดกฎหมาย กำหนดให้ขอบเขตนโยบายสิทธิมนุษยชนครอบคลุมการดำเนินงานทั้งหมดของ OR บริษัทในกลุ่ม OR และพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partner) ได้แก่ ผู้รับเหมา คู่ค้า ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ รวมถึงบริษัทร่วมทุนที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ (Contractor, Supplier, Agents, and Service Providers as well as to its New Business Relation)
ศึกษานโยบายเพิ่มเติม: คลิก
OR สื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชนแก่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยผนวกนโยบายสิทธิมนุษยชนเข้าสู่การอบรมพนักงานและผู้ประกอบการสถานีบริการรายใหม่ สื่อความให้กับบริษัทในกลุ่ม OR ผ่าน OR Group Way of Conduct สื่อสารกับผู้ค้า และผู้รับเหมาผ่านแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า ในปี 2566 ที่ผ่านมา ได้จัดทำ ‘คู่มือสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม OR’ เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติและมาตรฐานการดำเนินงานที่สนับสนุนนโยบายสิทธิมนุษยชนขององค์กรและบริษัทในกลุ่ม ได้แก่ บริษัท PTTRS, PTTRM, และ Thai Lube Blending
OR กำหนดให้ฝ่ายบริหารความยั่งยืน และคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนทั้งกระบวนการ ได้แก่ การทบทวนนโยบาย การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี การรายงานผลการติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน การพัฒนาแนวทางแก้ไขสำหรับเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน การจัดการอบรมด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงการสื่อสารให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้ความร่วมมือด้านการจัดการสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
การปฏิบัติต่อแรงงาน
ในฐานะนายจ้าง OR มีความรับผิดชอบเคารพสิทธิของพนักงานและแรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน OR ดำเนินการตามหลักการสิทธิแรงงานสากล รายละเอียดดังนี้
เสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง (Freedom of Association)(GRI 407-1)
พนักงานและแรงงานทุกคนมีสิทธิในการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งสมาคมหรือเจรจาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานและแรงงาน OR มุ่งสนับสนุนให้พนักงานและแรงงานได้เข้าถึงสิทธิดังกล่าวโดยไม่กีดกันพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพหรือการรวมกลุ่ม และจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ (Welfare Committee) ที่มาจากการเลือกตั้งของพนักงานในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นตัวแทนพนักงานในการร่วมเจรจาต่อรองเกี่ยวกับข้อตกลงที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน สำหรับแรงงานของผู้ค้า OR สื่อสารให้ผู้ค้าเคารพสิทธิในการรวมตัวของแรงงานของตน โดยระบุเรื่อง อิสรภาพในการรวมกลุ่ม เคารพในสิทธิตามกฎหมายของลูกจ้างในการเข้าร่วม หรือไม่เข้าร่วมสมาคม สหภาพ สหพันธ์ต่าง ๆ ไว้ใน แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า (PTTOR Suppliers Sustainable Code of Conduct) โดยสื่อสารให้ผู้ค้าทุกรายรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในปี 2567 OR และกลุ่มผู้ค้าของ OR ไม่มีประเด็นความเสี่ยงในเรื่องของเสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง
แรงงานเด็ก (Child Labor) และแรงงานบังคับ (Forced Labor) (GRI 408-1, GRI 409-1)
การใช้แรงงานเด็กและ/หรือแรงงานบังคับถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง OR จึงมีการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อมั่นใจว่ากิจกรรมธุรกิจปราศจากการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมีการระบุชัดเจนในนโยบายสิทธิมนุษยชนของ OR และแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืน ของผู้ค้า (PTTOR Suppliers Sustainable Code of Conduct) และจัดให้การจ้างแรงงานเด็ก และการใช้แรงงานบังคับเป็นประเด็นที่มีการติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ในปี 2567 OR และคู่ค้าของ OR ไม่มีประเด็นความเสี่ยงในเรื่องการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ
นอกจากนี้ประเด็นด้านแรงงาน ได้ถูกกำหนดเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการกำหนดหลักการและแนวทางการพิจารณา การตั้งค่าตัวชี้วัด ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ ไว้ในมาตรฐานการบริหารจัดการความยั่งยืน OR Group (OR Group Sustainability Management Standard)
( อ่านเพิ่มเติมเรื่องมาตรฐานผู้ค้าในบท ‘Supply Chain Management’: คลิก)
( มาตรฐานการบริหารจัดการความยั่งยืน OR Group (OR Group Sustainability Management Standard)
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) (GRI 406-1., GRI 411-1)
OR ให้ความสำคัญกับการบริการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน จึงได้จัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due-diligence: HRDD) อย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี ตามกรอบการรายงานมาตรฐาน โดยจัดทำครั้งล่าสุดเมื่อปี 2566 ครอบคลุมพื้นที่การดำเนินธุรกิจ 100% รวมถึงผู้รับเหมาและผู้ค้าทางตรง (Contractors and Tier I Suppliers) และการร่วมทุน (joint ventures) โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบกลุ่มผู้ถือสิทธิเข้ามาพิจารณากิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า และประเมินระดับความความรุนแรงและโอกาสการเกิดของประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในกิจกรรมธุรกิจดังที่ระบุข้างต้น
กระบวนการการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
OR ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านขององค์กร ประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้
ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และผู้ทรงสิทธิที่เกี่ยวข้อง
OR ทบทวนแนวโน้มของกระแสโลกในเรื่องสิทธิมนุษยชนผ่านแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น รายงานขององค์กร Human Rights Watch และ Business and Human Rights Resource Center รวมถึงพิจารณาร่วมกับประเด็นสิทธิมนุษยชนของบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจใกล้เคียงกับ OR เพื่อระบุประเด็นสิทธิมนุษยชนที่มีนัยสำคัญ ผลมีดังนี้
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
OR พิจารณาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจากความเสี่ยงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยพิจารณาจากการทบทวนแนวโน้มของกระแสโลกในเรื่องสิทธิมนุษยชน และบริษัทที่ประกอบธุรกิจลักษณะใกล้เคียงกับ OR และกำหนดเกณฑ์ในการประเมินโดยแบ่งเป็น ระดับของผลกระทบ และโอกาสที่จะเกิด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ความหมายของความเสี่ยง
1) ความรุนแรงของความเสี่ยงหรือผลกระทบ (Severity) จะขึ้นอยู่กับระดับของ ผลกระทบ (Scale) จำนวนของผู้ได้รับผลกระทบ (Scope) และความสามารถในการเยียวยาผลกระทบ (Remediability)
ทั้งนี้ระดับความรุนแรงจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงหรือผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นโดยไม่พิจารณาค่าผลรวม (พิจารณาเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด (Worst Case))
2) โอกาสเกิด (Likelihood) โอกาสการเกิดความเสี่ยงหรือผลกระทบ (Likelihood) จะขึ้นอยู่กับบริบท/สภาพแวดล้อมของความเสี่ยงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งระดับความเสี่ยงสำหรับบางประเด็นอาจสูงขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยแบ่งออกเป็น ความถี่ที่เคยเกิดและ/หรือโอกาสที่จะเกิด และความน่าจะเป็น
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และมาตรการ
จากการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due-Diligence) อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ปฏิบัติการของ OR 100% รวมถึงผู้รับเหมาและผู้ค้าทางตรง (Contractors and Tier I Suppliers) และการร่วมทุน (joint ventures) พบว่าในปี 2566 ถึง 2567 มีความเสี่ยงด้านประเด็นสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงสูง (salient Issues) ทั้งหมด 3 ประเด็น ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการ (Own Operations) ร้อยละ 30 สำหรับผู้รับเหมาและผู้ค้าทางตรง (Contractors and Tier 1 Suppliers) ร้อยละ 0 และบริษัทร่วมทุน (Joint Ventures) ร้อยละ 37.5 ทั้งนี้ มีการวางมาตรการควบคุมความเสี่ยงในทุกพื้นที่ที่พบความเสี่ยง (% of risk with mitigation actions taken) โดยครอบคลุมจำนวน 262 พื้นที่ ดังนี้
ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงสูง | มาตรการควบคุมความเสี่ยงและลดผลกระทบ (Process implemented to mitigate human rights risks) |
ผู้ถือสิทธิ: ผู้ค้าและผู้รับเหมา |
|
ผู้ถือสิทธิ: ผู้ค้าและผู้รับเหมา |
|
ผู้ถือสิทธิ: ชุมชน |
|
นอกจากนี้ ภายใต้กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน OR ได้รวมการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการเริ่มหรือพัฒนาธุรกิจใหม่ (New Business Relations) ที่ครอบคุลมกิจการร่วมค้า (Joint Venture) เพื่อป้องกันไม่ให้ภารกิจของบริษัทก่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้ทรงสิทธิหรือกลุ่มเปราะบางกลุ่มใด
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานสิทธิมนุษยชนประจำปี 2566 link: คลิก
ช่องทางการติดต่อสื่อสารและรับเรื่องร้องเรียน (Complaint Channel)
ช่องทางการสื่อสารและรับเรื่องร้องเรียนเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ OR ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือเคยเกิดขึ้น และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการยืนยันผลของการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ในกรณีที่การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเผยประเด็นความเสี่ยงไม่ครบถ้วน ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนอาจเป็นแนวทางให้ผู้ถือสิทธิได้ส่งเรื่องร้องเรียนและชี้ให้ OR ได้เห็นถึงประเด็นที่อาจถูกละเลย OR จึงกำหนดช่องทางการสื่อสารและรับเรื่องร้องเรียน ในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ประกอบด้วย
พนักงานหรือผู้ทรงสิทธิภายใน สามารถส่งข้อร้องเรียนได้โดยตรงผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
ลูกค้า OR หรือกลุ่มผู้ทรงสิทธิภายนอก
สามารถส่งข้อร้องเรียนและรายงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนผ่าน ผ่านช่องทางโทรศัพท์ OR Contact Center ติดต่อ 1365 (เวลา 06.00 – 22.00 น.) ช่องทาง Social Media ทั้งการเปิดเผยสู่สาธารณะและการไม่เปิดเผยตัวตน และช่องทางเว็บไซต์ : https://www.pttor.com/th/contact_center
OR ได้ดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท โดย OR ให้คำมั่นสัญญาว่าจะรับฟังทุกข้อร้องเรียนอย่างเสมอภาค โปร่งใส และเอาใจใส่ รวมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย กำหนดระยะเวลาสอบสวนข้อร้องเรียน และสื่อสารแนวทางการปรับปรุงแก้ไขต่อผู้ร้องเรียนอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ OR ให้ความสำคัญกับการบูรณาการความคิดเห็นของลูกค้าหรือผู้ทรงสิทธิเข้าสู่การดำเนินการตามกลไกการรับเรื่องร้องเรียน โดยจะมีการสำรวจความพึงพอใจหลังจากลูกค้าหรือผู้ทรงสิทธิได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนนั้น ๆ เพื่อนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงกระบวนการเรื่องร้องเรียนหรือพัฒนาการบริการต่อไป
โดย OR ได้ประกาศข้อกำหนดบริษัทว่าด้วย การร้องเรียน การแจ้งเบาะแสการทุจริต และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการร้องเรียน (Whistleblowing) ที่ชัดเจน โปร่งใส ยุติธรรม สามารถตรวจสอบได้และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สอดคล้องตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและปรัชญาการดำเนินธุรกิจของ OR โดยกำหนดระยะเวลาสอบสวนอย่างเหมาะสม ซึ่งชื่อของผู้ร้องเรียนจะถูกปิดเป็นความลับ ผู้ร้องเรียนจะได้รับความคุ้มครอง ไม่ให้ถูกกลั่นแกล้ง ทั้งในระหว่างการสอบสวน และภายหลังการสอบสวน โดยฝ่ายธรรมาภิบาลองค์กรของ OR จะดำเนินการติดตามความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนเรื่องทุจริต การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร และรายงานต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องประกาศข้อกำหนดบริษัทว่าด้วย การร้องเรียน การแจ้งเบาะแสการทุจริต และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร ทั้งพนักงาน และบุคคลภายนอก OR สามารถอ่านเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ได้จาก https://www.pttor.com/wp-content/uploads/2024/10/20240125_132040_1261.pdf
OR ได้เข้าร่วมทุนกับบริษัท Brighter Energy Company Limited (BE) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจค้าส่งและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในปี 2562 ซึ่งการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้นนับตั้งแต่เมียนมายังคงอยู่ในสถานการณ์ปกติ โดยการลงทุนดังกล่าวมุ่งส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเมียนมา ต่อมาในปี 2564 ได้เกิดเหตุการณ์ ความรุนแรงและความไม่สงบในเมียนมารวมทั้งมีการคว่ำบาตร (Sanctions) เมียนมาจากหลายประเทศ OR ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาภายหลังการรัฐประหารปี 2564 โดยได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงกระบวนการในการตัดสินใจและการบริหารจัดการการลงทุน
ด้วย OR ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชนสากลจึงได้แสดงเจตนารมณ์ในฐานะผู้ถือหุ้นให้ BE ระงับ การก่อสร้างคลัง นอกจากนี้ OR ยังได้ระงับการเพิ่มทุนเพิ่มเติมในโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เพื่อหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมหรือการสนับสนุนกิจกรรมที่อาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เนื่องด้วย OR เป็นผู้ถือหุ้นข้างน้อยที่ถือหุ้นเพียง 35% ไม่มีอำนาจควบคุมการตัดสินใจของ BE เนื่องจากผู้ถือหุ้นข้างมากตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการต่อไปจนเสร็จสิ้นโครงการตามที่วางแผนไว้ อย่างไรก็ตาม OR ยังคงยึดถือและดำเนินตามแนวทางและนโยบายอย่างเคร่งครัด ที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานของ BE ในเมียนมา
ทั้งนี้ OR ได้กำหนดแนวทางการจัดการความเสี่ยงเชิงป้องกันในด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การเพิ่มกลไกในการตรวจสอบบริษัทที่จะเข้าร่วมลงทุนผ่านการประเมินความยั่งยืน (ESG) ในการลงทุน ซึ่งครอบคลุมถึงการพิจารณาด้านสิทธิมนุษยชน การกำกับดูแลบริษัทในกลุ่ม OR ครอบคลุมไปถึงบริษัทร่วมทุน ตามแนวทางบริหารจัดการแบบกลุ่ม OR (OR Group Way of Conduct (WoC)) การกำกับดูแลผู้ค้าผ่านแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า OR (OR Suppliers Sustainable Code of Conduct (OR SSCoC)) รวมไปถึง OR ยังมีช่องทางรับข้อร้องเรียนที่ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงได้
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเน้นย้ำเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และความรับผิดชอบต่อสังคม มีธรรมาภิบาลและการเติบโตอย่างยั่งยืน OR ได้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ในการนี้ OR ขอยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน ในห่วงโซ่อุปทานของ OR และการสนับสนุน ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียต่อไป
เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงเจตนารมณ์ในการไม่สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ OR ในการดำเนินธุรกิจ ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ต่อนักลงทุนและผู้ถือหุ้น ผ่าน เอกสารชี้แจงข่าวเกี่ยวกับการลงทุนในเมียนมา แก่กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2565 (คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม) และ คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 2/2566 (คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม)
ในปี 2567 OR ได้รับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางการร้องเรียนทุกช่องทางพบว่าไม่มีเหตุการณ์ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
เพื่อสร้างองค์กรความด้านสิทธิมนุษยชน กระตุ้นให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน การป้องกัน และลดความเสี่ยง รวมถึงทราบถึงความเปลี่ยนแปลงหรือกระแสด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศรวมถึงระดับสากล OR จึงได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้แก่พนักงานผ่านช่องทางอีเมล นอกจากนั้นยังให้ความรู้แก่พนักงานในพื้นที่ปฏิบัติการ (Operation) ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นเพื่อทราบผลจากการนำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์ จึงมีการจัดกิจกรรมตอบคำถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมโดยเปิดโอกาสให้พนักงานได้เสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของพนักงานมากยิ่งขึ้น
สำหรับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก OR ได้มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปผ่าน OR Academy Facebook และจัดกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมระหว่าง OR กับผู้ค้า ผู้รับเหมา รวมถึงสังคมชุมชนผ่านกิจกรรมการให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นส่วนหนึ่งภายในการจัดงานวันความปลอดภัย OR Safety Day 2024 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567
สื่อประชาสัมพันธ์การให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน
ในปี 2567 OR ดำเนินการอบรมและสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของพนักงานในการปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชนขององค์กร โดยจัดทำและเผยแพร่หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง Human Rights for OR Business ในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์ (e-learning) ครอบคลุมเนื้อหาด้านหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ นโยบายสิทธิมนุษยชนของ OR ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ กรณีศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจที่น่าสนใจด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับพนักงาน OR และบุคคลภายนอก OR รวมถึงแนวปฏิบัติขององค์กรในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในปี 2567 มีพนักงานที่ผ่านการอบรม ร้อยละ 90.13 ของพนักงานทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมให้ความรู้พื้นฐาน และหลักการด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจแก่บริษัทในกลุ่ม OR ในประเทศอีกด้วย
เนื่องจากการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดเป็นหนึ่งในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงสูง OR ได้พัฒนาหลักสูตรการอบรมออนไลน์ (e-learning) ด้านการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด (Discrimination and Harassment) และกำหนดให้พนักงานต้องเข้าการอบรมดังกล่าว โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรดังกล่าวต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจถึงหลักความเสมอภาค การเลือกปฏิบัติ การล่วงละเมิดหรือการคุกคาม การข่มเหงรังแกในที่ทำงานและกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการในการป้องกันและแนวทางการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติและล่วงละเมิดหรือคุกคามในการทำงาน ทั้งนี้ มีพนักงานเข้าร่วมและผ่านการอบรม ร้อยละ 85.47 ของพนักงานทั้งหมด
การอบรมด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนในการดำเนินการเรื่องรักษาความปลอดภัย (GRI 410-1)
ด้านผู้รับเหมาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสถานประกอบการของ OR ต้องผ่านการสื่อสารด้านนโยบายสิทธิมนุษยชนของ OR และกำหนดให้ระบุในสัญญาจ้างว่าได้รับการอบรมด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรับทราบนโยบายสิทธิมนุษยชนของ OR ครบ 100% ครอบคลุมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่จ้างโดยผู้รับเหมา นอกจากนี้ OR มีการสื่อสารข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้ค้าของ OR และมีการลงนามรับทราบใน แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า (PTTOR Suppliers Sustainable Code of Conduct)
OR เข้าร่วมการประกวดองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ซึ่งจัดโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นปีแรกในกลุ่มรัฐวิสาหกิจ ได้รับผลการพิจารณาในระดับ “ดีเด่น” และเข้าร่วมการเสวนา เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการดำเนินธุรกิจที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชน ในหัวข้อ “การนำเสนอต้นแบบที่ดี (Best Practice) จากผู้ที่ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567” ตอกย้ำการเป็นองค์ที่ดำเนินธุรกิจอย่างเคารพสิทธิมนุษยชน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และส่งเสริมการสร้างรายได้รวมถึงการสร้างโอกาสทางสังคมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของ OR อย่างเป็นรูปธรรม