Highlight: การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม

การขับเคลื่อนธุรกิจ

          สังคมและชุมชนจัดเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยผลกระทบเป็นได้ทั้ง การได้ประโยชน์ร่วมกัน และอีกในแง่มุมหนึ่ง การดำเนินธุรกิจอาจส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในชุมชนได้อีกด้วย

           วิสัยทัศน์ของ OR คือ “Empowering All Toward Inclusive Growth : OR เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน”โดย OR ตระหนักถึงความสำคัญของสังคมและชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสำคัญ ความมุ่งมั่นนี้เป็นหนึ่งในเสาหลักที่มีความสำคัญต่อกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ OR ภายใต้แนวทาง “S – Small” คือการสร้างโอกาสให้กับคนตัวเล็ก ผ่านการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนเพื่อการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่มีความท้าทาย

ประเด็นนี้สำคัญกับองค์กรของเรา (This is Our Giving Priority)

            OR ได้กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานขององค์กร (Corporate KPI) ที่วัดผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเป็นการผลักดันให้เกิดการดำเนินการด้านการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเป็นรูปธรรมและโดยมีประสิทธิภาพ ซึ่งผนวกอยู่ในตัวชี้วัดของผลการดำเนินงานผู้บริหาร (Executive KPI) โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    • ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างชุมชนน่าอยู่ (5%)
    • การสร้างการเติบโตและกระจายความมั่งคั่งสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (5%)

          อ่านกลยุทธ์พัฒนาสังคมและชุมชนเพิ่มเติมในบท ‘การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม’ 

โอกาสและความท้าทาย

          การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจของ OR เป็นอุดมการณ์ที่บริษัทยืดถือเป็นแนวทางปฏิบัติมาโดยตลอด เนื่องจากรูปแบบการดำเนินงานทางธุรกิจของ OR ที่มีความใกล้ชิดกับสังคมและชุมชน ดังนั้น OR จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์อันดีและการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาสังคมและชุมชนในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ OR ในการเป็นบริษัทไทยชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้แข็งแกร่งต่อการเป็นรากฐานเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนการสร้างคุณค่าร่วมให้เกิดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล

กลยุทธ์การดำเนินงาน

         OR ขับเคลื่อนการดำเนินโครงการเพื่อสังคม จากแนวทางแบบ CSR สู่แนวทาง CSV โดยบูรณาการประเด็นด้านการพัฒนาสังคมและชุมชนเข้าสู่วิสัยทัศน์และกลยุทธ์องค์กร เพื่อสร้างสรรค์โครงการที่ส่งผลกระทบทางบวกแก่สังคมและธุรกิจพร้อม ๆ กัน เช่น โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน โครงการ Together รักษ์ แอท หนองกุง โครงการ Café Amazon for Chance และโครงการไทยเด็ด  โดยมุ่งเน้นบรรลุเป้าหมายตาม OR SDG ทั้งนี้ OR วางระบบในการสำรวจความคิดเห็นและความคาดหวังของชุมชนและสังคม ออกแบบโครงการโดยเน้นความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ และชุมชน และใช้ทรัพยากรของบริษัทฯ เช่น ทรัพยากรทางการเงิน หรือความเชี่ยวชาญของพนักงาน อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมที่สูงที่สุด นอกจากนี้ ดำเนินการวัดผลเป็นรูปธรรมเพื่อประเมินแนวทางการดำเนินงานที่ดีและควรขยายต่อ รวมถึงข้อปรับปรุงที่ควรนำไปพัฒนาต่อไป

อ่านเพิ่มเติมในบท “การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม” (Link: https://www.pttor.com/th/sustainability/sustainability_page/Community-Development-and-Social-Collaboration)

เป้าหมายระยะยาว

โครงการและผลการดำเนินงานที่โดดเด่น

โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน

            OR มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อสังคมที่ตรงต่อปัญหาและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย โดยดำเนินโครงการที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม ซึ่งโครงการเพื่อสังคมที่มีความโดดเด่นที่ดำเนินการโดย OR ที่ถูกนำมาเป็นกรณีศึกษาในปี 2567 คือ โครงการ Together: รักษ์ แอทหนองกุง

            การดำเนินงานของโครงการเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน คิดเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มชุมชนและสังคม ในพื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่ปฏิบัติการคลังปิโตรเลียม จังหวัดขอนแก่น ซึ่งดำเนินกระบวนการโดยมุ่งเน้นการค้นหาปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริงของชุมชน โดยพบว่าปัญหาขยะและน้ำเน่าเสียเป็นประเด็นสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อม ในด้านชีวิตความเป็นอยู่มีการประสบปัญหาด้านอัคคีภัย และในด้านเศรษฐกิจมีการว่างงาน และขาดรายได้เสริมเนื่องจากไม่มีการรวมกลุ่มสร้างและพัฒนาอาชีพเสริมในชุมชน ดังนั้นภาพรวมโครงการจึงได้ออกแบบจากเสียงของชุมชนผ่านการจัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการะบุประเภทของปัญหา เพื่อดำเนินการสนับสนุนทั้งการจัดการขยะ การสร้างอาชีพ และป้องกันอัคคีภัย เพื่อพัฒนาชุมชนหนองกุงให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยโครงการเป็นหนึ่งในกลไกสร้างการมีส่วนร่วมผ่านแนวคิดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม บูรณาการร่วมกับแนวคิดการสร้างอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างเสริมรายได้ให้กับชุมชนด้วยการสรรสร้างผลิตภัณฑ์จากขยะเพื่อเพิ่มมูลค่าตลอดจนการป้องกันอัคคีภัยผ่านการจัดตั้งคณะทำงานโครงการความปลอดภัยในชุมชน พร้อมติดตั้งถังดับเพลิงตามจุดต่าง ๆ ในชุมชน

            จากผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return On Investment: SROI) ของโครงการ Together: รักษ์ แอท หนองกุง ระหว่างปี 2563 – 2572 มีค่าเท่ากับ 1.77 ซึ่งหมายถึง OR ลงทุนทางสังคม 1 บาท สามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ 1.77 บาท หรือ 1.77 เท่าจากการลงทุน อีกทั้งก่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยสามารถระบุผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcomes) รวมถึง ผลกระทบ (Impacts) จากโครงการได้ในทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ผลผลิต (Outputs) จากโครงการ Together รักษ์ แอท หนองกุง
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผลกระทบ (Impacts)
  • สมาชิกมีองค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะ 350 ครัวเรือน
  • เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รักษ์ แอท หนองกุง
  • สมาชิกนำขยะมาจำหน่าย ในตลาดขยะ 350 ครัวเรือน
  • ผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนา มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขยะเพิ่มขึ้น เช่น ไม้กวาดจากขวดพลาสติก
  • ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนา มีระบบออนไลน์ในการบริหารจัดการ
  • เกิดศูนย์การเรียนรู้ รักษ์@หนองกุง ณ วัดสว่างสุธาราม
  • เกิดคณะทำงานกลุ่มขยะอินทรีย์ และครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือน
  • มีระบบในการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะของกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ
  • มีระบบการบริหารจัดการตลาดขยะ การเก็บข้อมูลและระบบบัญชีที่มีประสิทธิภาพ
  • เกิดศูนย์เรียนรู้ตลาดนัดขยะชุมชน
  • กลุ่มสัมมาชีพได้รับการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีความหลากหลายและครบวงจร จำนวน 29 คน
  • เกิดศูนย์เรียนรู้การจัดการจัดการขยะอินทรีย์เพื่อสุขภาพดีและสิ่งแวดล้อมสวยงามหมู่ 2
  • ปัญหาอุบัติการณ์ไฟไหม้ ไฟฟ้าลัดวงจรลดลง
  • สมาชิกมีรายได้จากการจัดการขยะ คัดแยกขยะ ทั้งระดับชุมชน และครัวเรือน เพิ่มขึ้นเป็น 750 ครัวเรือน ลด Solid Waste
  • สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขยะแปรรูป เพิ่มขึ้น
  • ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนจากการจัดการขยะอินทรีย์ เพิ่มขึ้นเป็น 40 ครัวเรือน
  • มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดี ลดและป้องกันข้อมูลสูญหาย นำไปทำเป็นรายงานชุมชนต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ต่อผู้ที่สนใจต่อไปได้
  • การต่อยอดองค์ความรู้ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ่านการทำกิจกรรมอย่างเป็นระบบ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในทุกระดับส่งผลให้โครงสร้างชุมชนเข้มแข็ง
  • มิติสังคม มีความมั่นคงด้านความปลอดภัยของที่อยู่อาศัย คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น โครงสร้างชุมชนมีความเข้มแข็ง อย่างมั่นคง และยั่งยืน
  • มิติเศรษฐกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น ลดอัตราการว่างงาน สร้างความมั่นคงทางด้านอาชีพ รายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  • มิติสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากขยะโครงการ TOGETHER – รักษ์ แอท หนองกุง

โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน

TH_Highlight CSR_03
แผนภาพโครงการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ

          OR มีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับพัฒนามาตรฐานการปลูกและการผลิตกาแฟของเกษตรกร พร้อมทั้งเป็นช่องทางรับซื้อผลผลิตอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกร ที่ผ่านมา OR มีพื้นที่ดำเนินงานสำคัญในบ้านผาลั้งและบ้านปางขอน ตำบลห้วยชมภู จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการกว่า 166 ราย บนพื้นที่ปลูกกาแฟอะราบิกาประมาณ 2,600 ไร่ และพื้นที่บ้านสามสูง บ้านห้วยหมาก บ้านห้วยหยวก บ้านอาโต่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการกว่า 99 ราย บนพื้นที่ประมาณ 1,900 ไร่ และในปี 2567 OR ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขยายพื้นที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมมอบโรงเพาะกล้า โรงตากกาแฟ และระบบท่อน้ำเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ อำเภอ.ปัว จังหวัด.น่าน และ อำเภอ.ท่าแซะ จังหวัดชุมพร จ.ชุมพร ทั้งยังมีโครงการความ ร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขยายผลพื้นที่โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนนำร่องใน อำเภอ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนโครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ คทช. สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพผู้ผลิตกาแฟควบคู่กับการพัฒนาการแปรรูปเมล็ดกาแฟให้มีมาตรฐาน พร้อมทั้งเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) และมุ่งสู่การพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน

          นอกจากนี้ OR ได้พัฒนาอุทยานคาเฟ่อเมซอน (Café Amazon Park) ในพื้นที่ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อแหล่งเรียนรู้ธุรกิจกาแฟแบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟสายพันธุที่เหมาะสมีด้วยการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัยและแนวทางการเกษตรแบบผสมผสานมาประยุกต์ใช้ ทั้งการปลูกกาแฟแบบวนเกษตร (Agroforestry) การจัดการดิน การจัดการระบบน้ำ เพื่อให้ผลดีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และเป็นต้นแบบในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมั่นคงยั่งยืน โดยจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ บนพื้นที่กว่า 300 ไร่

          การจัดหาเมล็ดกาแฟจากชุมชนเป็นหนึ่งภารกิจสำคัญภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน เริ่มดำเนินโครงการเดือนกันยายน พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน โดยเริ่มจากความร่วมมือ (MOU) กับมูลนิธิโครงการหลวงในการซื้อขายเมล็ดกาแฟกะลา และต่อยอดสู่ความร่วมมือกับบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายอื่นในหลายๆ พื้นที่ นอกจากนั้นยังเพิ่มช่องทางการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรรายย่อยโดยตรงผ่านจุดรับซื้อโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟคาเฟ่อเมซอน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่  โดยปัจจุบันได้พัฒนากระบวนการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรด้วยระบบ Fair Trade ผ่าน Web Application Kala เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกษตรกร พื้นที่ปลูก ปริมาณกาแฟกะลาที่รับซื้อ และคุณภาพเมล็ดกาแฟของพื้นที่ สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับในการซื้อขายได้ง่ายและถูกต้อง ทั้งนี้ สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการพัฒนาความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในการผลิตจริงตั้งแต่กระบวนการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต และการแปรรูปผลผลิตกาแฟเพื่อมู่งสู่ Cafe Amazon Standard

          นอกจาก OR ได้มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Net Zero ในปี 2030 ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ จึงได้ทดลองต้นแบบการขนส่งเมล็ดกาแฟดิบด้วยพลังงานสะอาด (EV Truck) จากโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟคาเฟ่อเมซอน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ สู่ศูนย์ธุรกิจคาเฟ่อเมซอน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย

ประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    • ตั้งแต่ปี 2558-2567 OR รับซื้อผลผลิตกาแฟจากกลุ่มเกษตรกรและชุมชนผ่านทุกช่องทาง ประมาณ 7,000 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรและชุมชนแล้วกว่า 1,900 ราย รวมมูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท
    • ชุมชนเกิดการรวมกลุ่ม สร้างความเข้มแข็งในชุมชน
    • แรงงานกลับคืนสู่ชุมชน ลดปัญหาทางสังคมที่เกิดจากครอบครัว เกิดความสงบสุขในชุมชน
    • ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีความยั่งยืน
    • เกษตรกรในชุมชนมีศักยภาพในการทำเกษตรกรแบบยั่งยืน ที่ช่วยปกป้องการเกิดไฟป่า และลดมลพิษทางอากาศจากการทำเกษตรที่ส่งผลต่อหมอกควันจากฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5
    • ส่งผลดีต่อระบบนิเวศป่าต้นน้ำ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยั่งยืน

ประโยชน์ต่อบริษัท:

          นอกจากการเสริมสร้างศักยภาพในการปลูกและขายกาแฟให้แก่เกษตรกรท้องถิ่นแล้ว โครงการนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มทางเลือกจัดหาวัตถุดิบเมล็ดกาแฟในการประกอบธุรกิจ Café Amazon ของ OR อีกด้วย  ซึ่งการจัดหาเมล็ดกาแฟอย่างยั่งยืนจากชุมชนทำให้โรงคั่วมีวัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพ สามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทำให้ห่วงโซ่การผลิตมีความยั่งยืนจากการจัดหาวัตถุดิบที่มีความยั่งยืน และยังมีส่วนช่วยให้องค์กรเข้มแข็งจากการลดความเสี่ยงของผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตกาแฟในระยะยาว

โครงการไทยเด็ด

          “โครงการไทยเด็ด” เริ่มดำเนินงานเมื่อปลายปี 2561    จากความร่วมมือระหว่างบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์  และพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐที่มีเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและผลักดันสินค้าชุมชนให้มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น   โดยโออาร์ได้นำจุดแข็งของการมีสถานีบริการ PTT Station และร้าน Café Amazon  ที่เปิดให้บริการอยู่ทั่วประเทศ  นำมาเป็นช่องทางการจำหน่ายเพื่อให้สินค้าชุมชนมีโอกาสได้เข้าถึงตลาดและผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น  ในขณะเดียวกันการดำเนินโครงการนี้ยังสนับสนุนเป้าหมายในเชิงธุรกิจของ OR ในการเสริมสร้างแบรนด์สถานีบริการ PTT Station และ Café Amazon   และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า จึงเป็นโครงการที่ตอบโจทย์เป้าหมายเชิงธุรกิจพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

          ผลดำเนินงานในภาพรวม มีจำนวนผู้ประกอบการชุมชน (วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการท้องถิ่น) จำนวน 450 ราย  มีสินค้าไทยเด็ด จำนวน 1,034 รายการ  มีเครือข่ายร้านไทยเด็ดทั้งภายใน PTT Station และร้าน Café Amazon รวม 424 แห่ง  โดยโครงการฯ สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการชุมชนมูลค่าสูงถึง 166.07 ล้านบาท   นอกจากนี้ในปี 2567  โครงการไทยเด็ดยังมีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาปรับปรุงตัวชี้วัดจากการเปิดหมวดสินค้ารักษ์โลกในปี 2567  โดยการรวบรวมสินค้าชุมชนที่มีการใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิต เช่น พลังงานแสงอาทิตย์  และรวบรวมสินค้าที่มีการปรับปรุงค่าการใช้พลังงานซึ่งได้รับตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชนลดใช้พลังงาน” จากกระทรวงพลังงาน 

          ปัจจุบันโครงการไทยเด็ด มีสินค้าหมวดรักษ์โลก จำนวนทั้งสิ้น 72 รายการ  ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงโครงการเพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม หรือ SROI ของโครงการในปี 2566  จากการสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสังคมชุมชน

ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลลัพธ์และประโยชน์ของโครงการ
  • วิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการ (SMEs) มีช่องทาง การตลาดในการจำหน่ายสินค้า ส่งผลให้จำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น
  • เพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง
  • ขยายกำลังการผลิตสินค้า ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เช่น แรงงานคนในชุมชน แรงงานผู้สูงอายุ
  • เกิดการรับซื้อวัตถุดิบของคนในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  • ขยายเครือข่ายกลุ่มการผลิตสินค้า
  • ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นได้ง่าย และมีความหลากหลาย
  • วิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการ (SMEs) มีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคงทางรายได้
  • ยกระดับผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
  • สร้างโอกาสต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่น
  • เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน/สังคม
  • เกิดการรวมกลุ่ม สร้างความเข้มแข็งในชุมชน
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีความยั่งยืน

โครงการ Café Amazon for Chance

TH_Highlight CSR_05
เราจะอยู่ได้ยังไง ในโลกที่ไม่มีใครได้ยินเรา | Café Amazon กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก

              Café Amazon มีนโยบายที่จะพัฒนาสังคม ชุมชน ให้เป็นสังคมแห่งการเกื้อกูล โดยสร้างโอกาสด้านอาชีพให้แก่ผู้ที่ขาดโอกาสทางสังคมได้เป็นพนักงานภายในร้านฯ ผ่านโครงการ “Café Amazon for Chance” ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 360 สาขา แบ่งเป็นร้าน COCO จำนวน 289 สาขา และร้านแฟรนไชส์ จำนวน 71 สาขา จำนวนผู้ขาดโอกาส ทั้งหมด 347 อัตรา แบ่งเป็นผู้สูงอายุ 312 อัตรา, ผู้พิการทางการได้ยิน 22 อัตรา, ผู้พิการด้านสติปัญญา 1 อัตรา, ทหารผู้พิการและครอบครัว 4 อัตรา, ผู้พิการทางด้านร่างกาย 6 อัตรา และ เยาวชนผู้ขาดโอกาส 2 อัตรา

              ในปี 2567 โครงการ Café Amazon for Chance ได้จัดทำแผนการอบรมวิชาชีพให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุทั่วไป เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งประสานความร่วมมือกับโครงการไทยเด็ด และกรมกิจการผู้สูงอายุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยเป็นการจัดอบรมสอนทำวัสดุตกแต่งกระเป๋าจากวิสาหกิจชุมชน (Montmaxx) จังหวัดสมุทรปราการ (ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนในโครงการไทยเด็ด)  เมื่อหลังจากจบการอบรมแล้วผู้สูงอายุสามารถทำวัสดุตกแต่งกระเป๋าเองได้และนำมาส่งขายที่วิสาหกิจชุมชนดังกล่าวเพื่อนำมาวางจำหน่ายที่ร้าน Cafe’ Amazon ต่อไป 

              โดยถือเป็นการต่อยอดผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม หรือ SROI ของโครงการ Café Amazon for Chance ที่ได้จัดทำไว้ในปี 2565 เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานตามคำแนะนำที่ได้รับจากผลการศึกษา โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์แนวทางในการปรับปรุงโครงการเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำ มีรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีตัวชี้วัดคือจำนวนผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมและสามารถนำความรู้ไปทำวัสดุตกแต่งกระเป๋าเพื่อต่อยอดการสร้างรายได้เสริม รวมถึงการขยายโอกาสในการเข้าร่วมอบรมสร้างอาชีพด้วยการรับผู้ขาดโอกาสประเภทอื่น ๆ เข้าอบรม

ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลลัพธ์และประโยชน์ของโครงการ
  • กลุ่มเปราะบางทางสังคมได้รับการจ้างงาน
  • กลุ่มเปราะบางทางสังคมมีโอกาสเจ็บป่วยจากการเกิดภาวะเครียดลดลง
  • กลุ่มเปราะบางทางสังคมมีเงินเก็บที่สามารถใช้จ่ายเพื่อทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวและสังคมได้มากขึ้น
  • กลุ่มเปราะบางทางสังคม มีสถานที่ทำงานที่ใกล้กับที่พักอาศัยมากขึ้น
  • กลุ่มผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น
  • หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถนำกิจกรรมการฝึกปฏิบัติเป็นบาริสต้ามาตรฐานไปทดแทนกิจกรรมการส่งเสริมการสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเปราะบางทางสังคม
  • กลุ่มเปราะบางทางสังคม มีรายได้ประจำทำให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น
  • กลุ่มเปราะบางทางสังคมสามารถช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในครอบครัว
  • กลุ่มเปราะบางทางสังคม มีสุขภาพจิตดีขึ้นลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล/ ขอคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
  • กลุ่มเปราะบางทางสังคม มีความสัมพันธ์กับครอบครัวและสังคมดีขึ้น
  • กลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานลดลง
  • กลุ่มผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ลดโอกาสการเป็นผู้ป่วยติดเตียง/ ผู้ป่วยติดบ้าน ครอบครัวสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุ
  • หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถประหยัดงบประมาณบางส่วนเกี่ยวกับการส่งเสริมการสร้างอาชีพ
รางวัลแห่งความสำเร็จ (Award and Recognitions)

OR คว้า 4 รางวัลเกียรติยศมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ (CSRDIW) ประจำปี 2567

          OR คว้ารางวัลเกียรติยศมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ ประจำปี 2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works: CSR-DIW) หรือรางวัล CSR-DIW Award 2024 ใน 4 สถานประกอบการของ Café Amazon ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ OASYS อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ 1. ศูนย์กระจายสินค้าธุรกิจค้าปลีก 2. โรงคั่วกาแฟ Café Amazon 3. โรงงานผลิตผงผสม และ 4. โรงงานผลิตเบเกอรี่ โดยได้รับเกียรติจากนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้มอบ โล่รางวัล ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

            รางวัล CSR-DIW Award เป็นรางวัลที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มอบให้กับ สถานประกอบการที่มีการนำมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการไปประยุกต์ใช้ ครอบคลุมแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน จนก่อให้เกิด การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและจัดการสิ่งแวดล้อมของเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่ง OR ได้ส่ง 4 สถานประกอบการนำร่องเข้าร่วมประกวดเป็นครั้งแรกและได้รับรางวัลทั้ง 4 สถานประกอบกา

โครงการ Café Amazon for Chance ได้รับรางวัลในพิธียกย่องเชิดชูบุคคลและองค์กรที่ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม
          เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 OR ได้รับรางวัลจากคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญและกำลังใจให้กับองค์กรที่ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมซึ่งเป็นต้นแบบขององค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริม สนับสนุนและสร้างคุณค่าให้กับคนพิการ จากโครงการ Café Amazon for Chance