ในปัจจุบันที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับทั้งในประเทศ ระดับภูมิภาค รวมถึงสถานการณ์โลกมีความท้าทายอย่างต่อเนื่องในด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ[1] และสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกิจกรรมของมนุษย์นั้น[2] ภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน
ธุรกิจของ OR มีความใกล้ชิดกับชุมชนและสังคม เช่น ร้าน Café Amazon ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีชุมชนอยู่อย่างหนาแน่น หรือการใช้ถนนสาธารณะเพื่อขนส่งน้ำมันไปยัง PTT Station ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวของ OR จึงอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนและสังคม เช่น การปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมหรือการจราจรที่รบกวนคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ และสร้างผลกระทบทางบวก เช่น การจัดซื้อจัดจ้างกับชุมชนท้องถิ่นที่ช่วยให้ชุมชนมีรายได้ ตามกลยุทธ์ OR SDG ‘S – SMALL โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก’ OR จึงมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
[1] https://www.weforum.org/agenda/2023/01/global-inequality-is-a-failure-of-imagination/
[2] https://www.weforum.org/agenda/2023/02/biodiversity-nature-loss-cop15/
นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน และการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ OR อยู่ภายใต้กรอบแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของบริษัทฯ (อ่านนโยบายเพิ่มเติมในเว็บไซต์: https://www.pttor.com/en/sustainability/sustainability_page/Sustainability-Policy-and-Strategy) โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสอดรับกับนโยบายการบริหารชื่อเสียงและกิจการเพื่อสังคม
จากนโยบายดังกล่าวข้างต้น OR จึงได้พัฒนาคู่มือและกรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Citizenship and Philanthropy Framework and Manual) ในปี 2565 เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานสำหรับโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการวางแผน การปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาและกำหนดให้การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของ OR สอดคล้องตามหลักเกณฑ์สากล Business for Societal Impact Framework (B4SI) ตลอดจนแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) ความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (CSR in process) ความรับผิดชอบต่อสังคมนอกเหนือกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ (CSR after process) และวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)
สำหรับแนวทางในการพัฒนาและดำเนินโครงการ OR ยึดหลักการร่วมมือกับสังคมและชุมชน (Collaboration) ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมพัฒนาสังคม โดย OR จะใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญขององค์กร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนผ่านกิจกรรมทางสังคมของ OR ทำให้ได้รับความไว้วางใจตลอดจนคนในชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดการยอมรับจากสังคมให้ดำเนินธุรกิจ (Social License to Operate) ในระยะยาว ทั้งนี้ OR กำหนดขอบเขตกลุ่มเป้าหมายเป็นสองส่วน ได้แก่
1) ระดับพื้นที่ คือ ชุมชนที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรของพื้นที่ปฏิบัติการ
2) ระดับประเทศ คือ การดำเนินการนอกรัศมีพื้นที่ปฏิบัติการ 5 กิโลเมตร ขึ้นไป
การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมช่วยส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืนของบริษัทฯ “OR 2030 Goals” ได้แก่ Living Community, Healthy Environment, และ Economic Prosperity และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) จำนวน 9 เป้าหมาย โดยเพิ่มเติมเป้าหมายที่ 4 Quality Education สำหรับการดำเนินงานภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ OR จัดกลุ่มการดำเนินโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมตามวัตถุประสงค์และลักษณะการจัดการประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมออกเป็น 3 ด้านหลัก รวมถึงกำหนดตัวชี้วัดเพื่อวัดผลการดำเนินงานต่าง ๆ รายละเอียดดังนี้
ด้านที่ 1: S – SMALL โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการสร้างประโยชน์ต่อชุมชน โดยรอบพื้นที่ธุรกิจและสถานประกอบการ
ด้านที่ 2: D – DIVERSIFIED โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ การสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมนอกพื้นที่ธุรกิจและสถานประกอบการของ OR โดยมุ่งเน้นกิจกรรมสำหรับสังคมทั่วไปในวงกว้าง รวมถึงเศรษฐกิจสังคมในระดับประเทศ
ด้านที่ 3: G – GREEN โอกาสเพื่อสังคมสะอาด องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้ 3 ด้านหลักการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม OR กำหนดแผนงานสำหรับโครงการและกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าร่วมกับกลุ่มสังคมและชุมชน ให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยมีขอบเขตในการดำเนินงานที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
การมีส่วนร่วมกับกลุ่มสังคมและชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน
ในทุกๆ ปี OR จะมีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มสังคมและชุมชน ผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วม (Stakeholder Engagement) แสดงความคิดเห็น รวมถึงร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำผลจากการรับฟังความคิดเห็นไปวางแผนโครงการและการดำเนินกิจกรรมที่จะเสริมสร้างการพัฒนาชุมชนร่วมกัน ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนโดยรอบ (Community Relation) รวมไปถึงการประเมินผลการดำเนินงานทั้งระหว่างและหลังการดำเนินงานโครงการ เพื่อทบทวนและพัฒนาการทำงานให้ตอบสนองกลุ่มผู้รับประโยชน์ของโครงการมากที่สุด พร้อมกันนี้ OR ได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับจัดทำโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับใช้ในการกำหนดแผนงานโครงการและรายงานผลการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติที่ได้รับมอบหมาย
นอกจากนี้ การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบด้านลบต่อชุมชน โดยการกำหนดแนวทางป้องกันผลกระทบ พร้อมกระบวนการรับมือหากเกิดเหตุการณ์ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากชุมชน ตรวจสอบการทำงานของ OR และยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาชดเชยหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ตามลำดับขั้นตอน ทำให้สามารถลดผลกระทบและข้อกังวลจากการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเกิดการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีกในอนาคต
โครงการ/กิจกรรมสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมและชุมชน (Initiatives/ Programs)
ในปี 2567 OR ได้ทำการสำรวจข้อมูล/ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย โดยครอบคลุมทั้งในระดับพื้นที่ คือ ชุมชนที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรของพื้นที่ปฏิบัติการ ทั้งหมด 19 พื้นที่ หรือร้อยละ 100 ของพื้นที่ดำเนินการ และ ระดับประเทศ คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นนอกรัศมีพื้นที่ปฏิบัติการ 5 กิโลเมตร ขึ้นไป เช่น เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จึงได้รับทราบและระบุประเด็นความกังวลและความสนใจของชุมชนและสังคม โดยจากผลสำรวจไม่พบปัญหาที่ส่งผลเสียหายต่อชุมชนและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ OR ยังมีกระบวนการดูแลชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาแผนงานและจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม โดยมีตัวอย่างโครงการและกิจกรรมในปี 2567 จำแนกตามกรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ปรากฏดังนี้
Focus Area | โครงการ/กิจกรรม | รายละเอียดการดำเนินงานในปี 2567 |
Small (โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก) | ||
การอบรมด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยแก่ชุมชน | โครงการศูนย์ฝึกอบรมการขจัดคราบน้ำมันรั่วไหล OR (OR Oil Spill Response Training Center) (2566-ปัจจุบัน) |
|
กิจกรรมเสริมเกราะความปลอดภัย |
| |
โครงการโออาร์ใส่ใจ ห่วงใยชุมชน |
| |
โครงการ LPG Safety ความรู้ดีๆ มีรอบถัง |
| |
การส่งเสริม/สนับสนุนการกีฬา | สนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับกีฬา (2567-2570) |
|
การส่งเสริม/สนับสนุนความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน เช่น สุขภาพ การศึกษา | บริจาคทุนโครงการเพื่อผู้ป่วยยากไร้ มูลนิธิรามาธิบดี และทุนจัดซื้อเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า อัตโนมัติ (AED) ให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ (2567) |
|
บริจาคทุนโครงการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (2567) |
| |
การให้ความรู้จากธุรกิจ แก่หน่วยงานภาคภาครัฐ สถาบันการศึกษาและชุมชน | OR Academy x KKBS Sharing Session หัวข้อ เปิดเส้นทางธุรกิจสีเขียว กับ EV Station Pluz |
|
โครงการ OR อาสาสานสุข ปีที่ 4 |
| |
โครงการ OR Seeding the Future |
| |
การสนับสนุนชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติการของ OR | กิจกรรมมอบถุงยังชีพและน้ำดื่มเพื่อผู้ประสบอุทกภัย |
|
โครงการสานฝันเยาวชน |
| |
โครงการครัวบ้านสู่โรงงาน OASYS |
| |
การลดปริมาณขยะในชุมชนใกล้เคียง | โครงการ Together รักษ์ แอทหนองกุง |
|
Diversified (โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ) | ||
การจัดหาวัตถุดิบจากชุมชน | โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน |
|
โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ คทช. สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG |
| |
โครงการใช้ระบบวนเกษตรในการพัฒนาไร่กาแฟต้นแบบใน สปป. ลาว (Agroforestry Coffee Plantation) |
| |
การส่งเสริมการสร้างอาชีพกลุ่มเปราะบางและผู้ขาดโอกาส | โครงการ Café Amazon for Chance (2561 – ปัจจุบัน) |
|
การสร้างช่องทางจำหน่ายสินค้าชุมชน | การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน |
|
โครงการไทยเด็ด (2561 – ปัจจุบัน) |
| |
พื้นที่ปันสุข (2564 – ปัจจุบัน) |
| |
การพัฒนา/จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการ ส่งเสริมสุขภาพ | เมนูผสมนมข้าวโอ๊ต ในร้าน Café Amazon |
|
การพัฒนาและสนับสนุนชุมชน | Fix it Center |
|
การพัฒนาและสนับสนุนวัฒนธรรมชุมชน | โครงการค่ายเยาวชน OR อนุรักษ์ประเพณีตีก๋องปู่จานครลำปาง ประจำปี 2567 |
|
การสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน | โครงการ Amazing All Season ท่องเที่ยวยุคใหม่ วิถีไทยยั่งยืน |
|
การสนับสนุนการสร้างธุรกิจใหม่ | โครงการ TOGETHER – หนองยาง Herbal (2566-ปัจจุบัน) |
|
โครงการ TOGETHER รักษ์ แอทท่าเสา |
| |
Green (โอกาสเพื่อสังคมสะอาด) | ||
การให้ความรู้และส่งเสริมการบริหารจัดการขยะ | โครงการ แยก แลก ยิ้ม School Camp (2565 – ปัจจุบัน ) | ข้อมูลรวม 2565-2567
|
โครงการแยก แลก ยิ้ม ของ PTT Station (ปี 2567) |
| |
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ | โครงการปลูกป่า 2 ล้านไร่ กลุ่ม ปตท. |
|
โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง |
| |
โครงการจิตอาสาปลูกป่า พัฒนาชุมชนในพื้นที่ห่างไกลอย่างยั่งยืน |
| |
การส่งเสริมการลดใช้ทรัพยากรด้วยกระบวนการ Recycling และ Upcycling | โครงการเซฟโลก เซฟรถ เพื่ออนาคตน้อง ๆ |
|
โครงการ “บอกรักษ์เจ้าพระยา บอกลาขยะแม่น้ำ” |
| |
การส่งเสริมการการใช้พลังงานสะอาดสำหรับการขนส่ง | โครงการ “Green Logistics” สำหรับขนส่งสินค้าประเภทเมล็ดกาแฟดิบ |
|
การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมการลงทุนเพื่อสังคมปี 2567
การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมการลงทุนเพื่อสังคมปี 2567
OR ได้แบ่งประเภทของกิจกรรมการลงทุนเพื่อสังคม และมีการเก็บข้อมูล งบประมาณในการลงทุนในกิจกรรมแต่ละประเภท โดยสรุปได้ ดังนี้
โดยงบประมาณหรือมูลค่าการลงทุนเพื่อสังคมรอบสถานประกอบการที่ดำเนินการในปี 2567 มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
OR ได้ทำการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเปรียบเทียบมูลค่าทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินโครงการถึงความสามารถในการสร้างมูลค่าผลลัพธ์ทางสังคมเป็นมูลค่าทางการเงินเท่าใด โดยค่า SROI มากกว่า 1 แสดงว่าโครงการดังกล่าวเกิดผลประโยชน์แก่สังคมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน รวมถึงได้สร้างผลลัพธ์ที่คุ้มค่าแก้เป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ โดยในปี 2567 OR ได้มีการวิเคราะห์ผลจากโครงการ Together: รักษ์ แอท หนอง กุง เพิ่มเติมจากโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน และโครงการจัดหาเมล็ดกาแฟจากชุมชน โครงการ Café Amazon for Chance และโครงการแยก แลก ยิ้ม School Camp ผลการวิเคราะห์พบว่า
(อ่านเพิ่มเติมในบท Highlight: การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีส่วนร่วม Link: https://www.pttor.com/th/sustainability/sustainability_page/Highlight-Community-Development-and-Social-Collaboration