นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับทุกคน

ความสำคัญ

(GRI 3-3a., 3-3b., GRI 3-3e)

             นวัตกรรมและดิจิทัล (Digital & Innovation) เป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจเพื่อปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของผู้คน ดังนั้นการดำเนินการด้าน Digital Transformation ถือเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และทำให้ธุรกิจยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้มากกว่า ทั้งยังสนับสนุนเป้าหมายของสหประชาชาติ (SDGs)
             OR มุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรมดิจิทัล (Digital & Innovation) สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) เพื่อสนับสนุนและต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจในปัจจุบัน ด้วยเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Digital Driven Organization) และสามารถขยายผลสู่ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบทั่วทั้งองค์กร ควบคู่ไปกับการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ New S-Curve โดยใช้ศักยภาพที่บริษัทฯมีอยู่ร่วมกับพันธมิตรที่มีศักยภาพ ร่วมกันนำนวัตกรรมดิจิทัลมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ได้สูงสุด

             [1] https://www.weforum.org/agenda/2024/08/how-to-harness-data-for-sustainability-wins/

กลยุทธ์และแนวทางการบริหารจัดการ

(GRI 3-3c, 3-3d, 3-3e, 3-3f)

                นวัตกรรมดิจิทัล (Digital & Innovation) เป็นประเด็นที่ OR ให้ความสำคัญ โดยเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดกลยุทธ์ ของ OR เพื่อแสดงถึงความเป็นองค์กรต้นแบบที่พร้อมส่งเสริมการใช้ นวัตกรรมดิจิทัล เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ การคิดค้นสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคต รวมไปถึงการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง OR มีความตั้งใจจะทำให้เกิดกับทุก ๆ ธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคต
                OR กำหนดเป้าหมายปี 2030 (OR 2030 Goals) ภายใต้กรอบ Economic Prosperity ดำเนินการผ่านแนวทางการดำเนินงาน “นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับทุกคน” ที่มุ่งเน้นการลงทุนด้านนวัตกรรมดิจิทัล ผ่านโครงการ Digital Platform & Technology ต่าง ๆ เพื่อยกระดับระบบนิเวศของ OR OR ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลและธรรมาภิบาลข้อมูล (OR Digital & Data Governance Steering Committee: DGSC) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการใช้งานข้อมูล บริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับทิศทางและกลยุทธ์ของธุรกิจ OR และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำหนดนโยบาย กรอบธรรมาภิบาล การบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงตรวจสอบและให้คำแนะนำการใช้งานข้อมูลให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยจัดตั้งส่วนบริหารโครงสร้างพื้นฐานความมั่นคงและธรรมาภิบาล เพื่อกำกับดูแลการใช้งานข้อมูล รวมถึงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) เพื่อช่วยกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล ลูกค้า ให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการฯ กำหนด รวมถึงตรวจสอบและให้คำแนะนำการใช้งานข้อมูลให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                ตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและดิจิทัลของ OR ที่โดดเด่น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Highlights นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับทุกคน

กระบวนการดำเนินธุรกิจไปสู่ Digital Driven Organization ภายใต้ทิศทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม OR

           OR มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการ Digital Transformation เพื่อมุ่งสู่ Digital Driven Organization โดยมีการจัดกิจกรรมและกำหนดแผนการอบรมหลักสูตรด้านดิจิทัล (Digital Competency) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของพนักงานทั้งองค์กร ทั้งในด้านกรอบความคิด (Mindset) ความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skills) รวมถึงมีแผนการดำเนินงาน Digital Transformation อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การใช้ Digital Technology เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลการดำเนินงาน การพัฒนา Digital Platform เพื่อสนับสนุนการให้บริการในรูปแบบ Online to Offline (O2O) และยกระดับประสบการณ์และความพึงพอใจของลูกค้า อีกทั้งมีการขยายความร่วมมือจัดการด้านนวัตกรรมและดิจิทัลร่วมกับบริษัท Startup และ SMEs ในประเทศไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคที่หลากหลาย

การติดตามและรายงานผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของบริษัท
               หน่วยงานผู้รับผิดชอบ เป็นผู้สรุปผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและดิจิทัลข้างต้นให้แก่คณะกรรมการฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยผลการรายงานที่ไม่เป็นไปตามแผนงานจะถูกวิเคราะห์ถึงสาเหตุ ผลกระทบ รวมไปถึงแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะถูกนำไปพัฒนาในแผนการดำเนินงานต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ยังได้นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า ผู้บริโภค คู่ค้า และชุมชน มาผนวกเข้ากับการพัฒนาแผนการดำเนินงานทางด้านนวัตกรรมและดิจิทัลของบริษัท เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม

การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรด้านนวัตกรรมภายในบริษัท (Innovation Culture)
               OR ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรด้านนวัตกรรม (Innovation Culture) ภายในบริษัท ซึ่งมีนโยบายสนับสนุนให้พนักงานมีทักษะและพฤติกรรมในการกล้าคิดและกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ (Innovation Mindset) เพื่อพัฒนาศักยภาพของ OR ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ (Business Disruption) ในอนาคต และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน โดยการอบรม หรือจัดกิจกรรมภายในองค์กรที่สร้างความตระหนัก สร้างวัฒนธรรม หรือองค์ความรู้ในการคิดค้นนวัตกรรม หรือคิดค้นการทำงานรูปแบบใหม่ให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงการทำงาน นอกจากนี้ OR ยังมีแผนการดำเนินงานด้าน Digital Transformation อย่างเป็นรูปธรรม โดยการดำเนินงานจะไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้งานเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการปรับเปลี่ยนทุกส่วนขององค์กร ตั้งแต่ กระบวนการทำงาน แนวคิด วิธีการ วัฒนธรรมองค์กร ที่ OR จะต้องสามารถปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และยกระดับผลการดำเนินงาน ประสบการณ์ และความพึงพอใจของลูกค้า ตลอดจนสร้างแรงขับเคลื่อนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีผ่านนวัตกรรม

ผลการดำเนินงาน

(GRI 3-3e.)

1. การอบรมและกิจกรรมภายในองค์กรที่สร้างความตระหนัก สร้างวัฒนธรรม และองค์ความรู้ในการคิดค้นนวัตกรรม ในปี 2567

1.1 โครงการ TECH SPARK

        OR มีการเตรียมการเพื่อผลักดันองค์กรมุ่งสู่การเป็น Digital Driven Organization และตอกย้ำความมุ่งมั่นในการทำ Digital Transformation ผ่านการจัดกิจกรรม OR TECH SPARK เพื่อสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาศักยภาพและทักษะให้แก่พนักงานในองค์กร โดยในปี 2567 องค์กรให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการส่งเสริมให้พนักงานนำข้อมูลองค์กรมาต่อยอดพัฒนาเป็นกรณีการใช้งานใหม่ ๆ (Use case) ได้จัดให้มีการอบรมเพื่อให้ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Foundation และ Data Analytics แก่พนักงาน มีการนำเสนอไอเดียผลงาน และคัดเลือกทีมผู้ชนะที่มีแนวคิดโดดเด่นและสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลงานที่สามารถสร้างคุณค่าและขับเคลื่อน OR ให้ก้าวสู่การเป็นบริษัทพลังงานและค้าปลีกชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี พร้อมสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

1.2 ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรด้วยหลักการ 5S Digital

             OR มีการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน 5ส ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของ PTT Group ตามหลักการ “สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย” สู่หลักการ 5S digital ที่มีการนำระบบ Digital และ Technology เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้น ภายใต้หลักการย่อย 5 ข้อได้แก่ Shift Speed Smart Smooth และ Secure เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมและรากฐานสู่นวัตกรรมใหม่
             OR ให้ความสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ขององค์กรด้านนวัตกรรมและดิจิทัล โดยในปี 2567 มีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง 5S Digital รูปแบบ E-Learning ในระบบ LMS แก่พนักงานทั้งองค์กร โดยมีผลการเข้าร่วมอบรม เฉลี่ยร้อยละ 72 ของพนักงานทั้งหมด
             นอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมวัฒนธรรมในเรื่อง 5S Digital จึงได้มีการจัดประกวด OR 5S Digital Award 2024 เพื่อให้พนักงานคิดค้นและนำ Digital & Technology เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สะดวกสบาย และสอดคล้องกับหลักการ 5S Digital

การประกวด OR 5S Digital Award 2024

              OR ยังส่งเสริมพนักงานให้เข้าร่วมประกวดในระดับ PTT Group ด้วย โดยผลการประกวด PTT Group 5S Digital Award 2024 นั้นในปีนี้ OR ส่งประกวด “โครงการ Power of Data for Excellent Contact Center” ซึ่งได้รับรางวัลในระดับ (Platinum) ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดในระดับ PTT Group

1.3 โครงการส่งเสริมแนวคิดในการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

           ปี 2567 OR ได้มีการจัดโครงการ “Idea to Practice” ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจากโครงการ Productivity Improvement Idea (PI Idea) ที่จัดขึ้นมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้พนักงาน นำแนวคิดที่ได้จากโครงการ PI Idea ที่ถูกจัดเก็บไว้ใน KM Hub ซึ่งเป็นแหล่งจัดเก็บองค์ความรู้ขององค์กร นำมาต่อยอดให้เกิดเป็น Project ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับองค์กรได้จริง ตอบสนองต่อเป้าหมายองค์กร และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกลุ่มพนักงานร่วมส่งผลงานรวม 31 กลุ่ม จำนวนทั้งหมด 90 เรื่อง
           อีกทั้งยังมีการแบ่งปันแนวคิดผ่านมุมมองและประสบการณ์ของผู้ที่ได้รับรางวัล OR Quality Awards ในปี 2567 เพื่อเป็นต้นแบบ สร้างแรงบันดาลใจในการคิดสิ่งใหม่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพนักงานได้นำไปปรับใช้ต่อยอดในงานตนเองต่อไป ทั้งนี้ในปี 2567 มีผู้เข้าร่วมส่งไอเดียประกวด จำนวน 234 โครงการ และถูกนำไปใช้ต่อยอดในการสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจโดยสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 408 ล้านบาท

โครงการ “Idea to Practice”

              นอกจากนี้ OR ได้จัดโครงการ PI Workshop for Oil Retail and Energy Solutions Business เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งกับให้กับธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน และธุรกิจเอนเนอร์ยี่โซลูชัน เพื่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิต สามารถลดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้ ลดเวลาการทำงาน ฯลฯ เพื่อสร้างโอกาส ความได้เปรียบทางธุรกิจ และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่จะเกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ผลักดันให้มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เรียนรู้และเข้าใจความต้องการของลูกค้า คิดหาแนวทางเพื่อตอบสนองให้ตรงจุด (Design Thinking & Creativity) และปรับสู่ Productivity วิเคราะห์ปัญหาเชิงลึก และศึกษาต้นทุนของการจัดทำโครงการ เพื่อวางแนวคิด Productivity ในรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจ

โครงการ PI Workshop for Oil Retail and Energy Solutions Business

2. ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และ แอปพลิเคชัน

          ด้วย OR ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขัน OR ได้พัฒนาช่องทางการใช้จ่ายในรูปแบบของแอปพลิเคชัน และดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการสินค้า และผลิตภัณฑ์ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ตอบโจทย์การบริโภคในยุคปัจจุบัน ทั้งยังเป็นช่องทางในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ รวมถึงให้ข้อมูลโปรโมชั่นแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และตรงจุด โดยในปี 2567 OR มีดิจิทัลแพลตฟอร์ม รวมถึงแอปพลิเคชันของกลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้

2.1 แอปพลิเคชัน xplORe

           เพื่อตอบสนองการส่งมอบประสบการณ์การใช้บริการจากโลกออนไลน์สู่โลกออฟไลน์ (O2O: Online to Offline) จึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชัน xplORe ขึ้นให้เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มหลักของ OR ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ และส่งต่อธุรกรรมจากแพลตฟอร์มออนไลน์ไปยังร้านค้าของกลุ่ม OR และพันธมิตร เช่น สถานีบริการ PTT Station ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto, ร้าน Café Amazon, Jiffy และโอ้กะจู๋ เป็นต้น

ฟีเจอร์หลักของ xplORe
ผลลัพธ์และประโยชน์ของโครงการ
  • Deal: คูปองส่วนลดราคาพิเศษจากร้านค้าจากร้านค้าแบรนด์ OR และพันธมิตร
  • Pass: ตั๋วกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ
  • Reservation: จองตั๋วคอนเสิร์ต จองคิวร้านอาหาร จากคู่ค้าพันธมิตร
  • Searching: ค้นหาสถานีบริการ PTT Station พร้อมแจ้งราคาน้ำมัน
  • Mission: ร่วมทำภารกิจด้วยกิจกรรมที่หลากหลาก พร้อมรับคะแนน หรือรางวัลสุดพิเศษ
  • Wallet: กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ใช้จ่ายเงินได้ทั้งร้านค้าในเครือ OR และร้านค้าพันธมิตร ที่รองรับการชำระเงินในรูปแบบ Thai QR
  • Reward: สะสมคะแนนบลูพลัส (blueplus+) และใช้คะแนนแลกสิทธิพิเศษจากร้านค้าชั้นนำ โอนคะแนน ลุ้นรางวัล แลกคะแนนร่วมกิจกรรม/ แลกรับของรางวัลมากมาย
  1. เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าและสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมกับ OR ที่ดียิ่งขึ้น
  2. ปริมาณการซื้อสินค้าผ่าน xplORe ที่ถูกส่งไปยังร้านค้าแบบออฟไลน์ของ OR เพิ่มมากขึ้น
  3. ลูกค้าใหม่ที่สมัครเป็นสมาชิก xplORe มีการใช้จ่ายทั้งในแพลตฟอร์ม xplORe และร้านค้าออฟไลน์ของ OR
  4. เป็นช่องทางสร้างรายได้ใหม่ของ OR

2.2 แอปพลิเคชัน Fit Auto

2.3 แอปพลิเคชัน OR LPG

2.4 แอปพลิเคชัน Café Amazon

2.5 แอปพลิเคชัน EV Station Pluz

2.6 แอปพลิเคชัน Pacamara

3. การศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

3.1 OR ร่วมวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และพัฒนานวัตกรรมสู่ความยั่งยืน กับ สวทช.และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

            OR ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” และ “เน้นประเด็นสำคัญของประเทศ” ได้แก่ Go Green พอเพียง ความยั่งยืน ความเป็นกลางทางคาร์บอน พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเน้นหลักการสำคัญคือ “เอกชนนำ รัฐสนับสนุน” ซึ่งเอกชนผู้ใช้ประโยชน์จะกำหนดทิศทางโจทย์วิจัย และให้สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยสนับสนุน เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจร่วมกับสังคมชุมชนอย่างยั่งยืน

ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ OR มุ่งเน้นงานวิจัยในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • Seamless Mobility ได้แก่ งานวิจัยเรื่อง Petroleum Products และ New Energy
  • Technology for Life ในการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น Smart Sensor, Smart Grid
  • การวิจัยพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในหัวข้อ Waste Management และ Circular Economy

             โดยความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับแนวทางเพื่อการบรรลุอนาคตที่ยั่งยืนในแบบฉบับของ OR หรือ “OR SDG” โดยเฉพาะในด้าน “G” หรือ “GREEN” ที่มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) ด้วยการส่งเสริมธุรกิจทุกประเภทของ OR ให้เป็นธุรกิจสีเขียว โดยเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปริมาณขยะที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มปริมาณการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2573 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ต่อไป

3.2 โครงการ “Green Innovation Contest”

 

            ในปี 2567 OR ได้จัดโครงการ “Green Innovation Contest” เป็นครั้งแรก ในหัวข้อ “นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกที่ยั่งยืน” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของ OR ที่มุ่ง “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน ในการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับสู่นวัตกรรมในแบบฉบับของ OR” นอกจากนี้ ยังเป็นการวางรากฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนที่มีศักยภาพ เพื่อสนับสนุนให้ OR บรรลุเป้าหมายที่มุ่งเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Healthy Environment) ซึ่งมีส่วนให้เยาวชนไทยแสดงศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ โดยแต่ละทีมได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการนำข้อเสนอแนะไปพัฒนาปรับปรุงนวัตกรรมและต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น

            โดยทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ “นวัตกรรมสเปรย์ฟิล์มเคลือบผิวโซลาร์เซลล์สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยอนุภาคนาโนคาร์บอนดอทจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร”

    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ “หุ่นยนต์เก็บแพลงก์ตอนอัจฉริยะพลังงานแสงอาทิตย์”
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ “ถังน้ำหมักชีวภาพจากขยะครัวเรือนด้วยระบบอัตโนมัติ (Bio-Auto Fermenter)”

4. การลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีที่มีศักยภาพผ่านกองทุน ORZON Ventures เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาต่อยอด OR Ecosystem

           กองทุน ORZON Ventures ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง OR และ 500 Startups ได้ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ OR Ecosystem พร้อมมุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุน
           ในปี 2567 กองทุน ORZON Ventures ได้ขยายการลงทุนเพิ่มเติม เช่น บริษัท AI Palette ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่ตอบโจทย์ด้านการพัฒนาสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะ ผ่านการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดและความต้องการของผู้บริโภคเชิงลึกจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย รวมถึง Social Media เทคโนโลยีนี้ช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาสินค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ พร้อมลดต้นทุนและระยะเวลาในการพัฒนาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           โดยการลงทุนดังกล่าวสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ORZON Ventures ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของ OR และส่งเสริมความยั่งยืนของ OR Ecosystem ในระยะยาว

เอกสารที่เกี่ยวข้อง